ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2016, 12:33:14 PM »
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ปัจจัย[/t][/t][/t][/t][/t] [/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีลมกรรโชกแรง อุณหภูมิลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีคลื่นลมแรง ขณะที่หลายพื้นที่เริ่มหยุดกรีดในช่วงฤดูยางผลัดใบ ทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง | 2. การใช้ยาง | - สำนักงานวิจัย Smart Research ออกรายงานเกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์การผลิตยางธรรมชาติของประเทศผู้ผลิต ในทวีปเอเชียว่า เป็นปีที่ 4 แล้วที่ตลาดโลกมีปริมาณยางธรรมชาติมากเกินความต้องการ จนทำให้มีสต๊อคยางในระดับสูง ขณะเดียวกันก็ทำให้ราคายางลดลงอย่างต่อเนื่อง รายงานยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2563 ปริมาณยางธรรมชาติส่วนเกินจะมีถึง 1 ล้านตัน ส่วนยางสังเคราะห์มีปริมาณมากถึง 3 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการยางธรรมชาติทั่วโลกลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง | 3. เศรษฐกิจโลก | - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งาน 3 ปีขึ้นไป เดือนมกราคมเพิ่มขึ้น 4.9 เป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 10 เดือน หลังจากลดลงร้อยละ 4.6 ในเดือนธันวาคม - สำนักงานสถิติแห่งชาติสเปน (INE) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจสเปนปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2550 โดยได้รับอานิสงค์จากการบริโภคและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 และ 6.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี - ธนาคารกลางจีน (PBOC) ยังคงอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบการเงินผ่านทางการดำเนินงานทางตลาดเงิน หรือ OMO - รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศ โดยระบุว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการอ่อนตัวลงบ้าง ขณะเดียวกันก็ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจมาจากเศรษฐกิจที่ผันผวน ในต่างประเทศ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า ?เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการอ่อนตัวลงในบางภาคส่วน? - ผลสำรวจของ Gfk ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเยอรมันเดือนมีนาคมมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูง ขึ้นสู่ระดับ 9.5 จาก 9.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกรายงานเตือนว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้ พร้อมเรียกร้องให้มีการใช้นโยบายส่งเสริมการเติบโตและรับมือกับความ เสี่ยงอย่างเร่งด่วน - ซิตี้ กรุ๊ป ออกรายงานว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานที่อ่อนแอ โดยเฉพาะความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และกลไกอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ยั่งยืน รวมทั้งความเสี่ยงที่อังกฤษอาจถอนตัวจากสหภาพยุโรป (EU) โดยซิตี้ กรุ๊ป คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปีนี้ และจะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากการปรับค่าสำหรับความเป็นไปได้ที่ข้อมูลจีนอาจมีการบันทึก ไม่ถูกต้อง ซึ่งตัวเลขของซิตี้ กรุ๊ป ต่ำกว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.4 ในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในปี 2558 | 4. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 35.66 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 112.85 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.75 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 5. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายนปิดตลาดที่ 33.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.92 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าเวเนซูเอล่ายืนยันเข้าร่วมประชุมกับประเทศผู้ผลิตน้ำมัน รายใหญ่ในช่วงกลางเดือนมีนาคม ประกอบด้วยรัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย และกาตาร์ - สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนเมษายนปิดที่ 35.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลฃ | 6. การเก็งกำไร | - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคมอยู่ที่ 146.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 154.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ - ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 128.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 7. ข่าว | - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งใหม่เพิ่มขึ้น 10,000 ราย สู่ระดับ 272,000 ราย ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 และอยู่สู่กว่า 270,000 รายที่คาดการณ์ไว้ - กระทรวงแรงงานฝรั่งเศสเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานเดือนมกราคมปรับตัวลดลง หลังพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนธันวาคม 2558 ทั้งนี้จำนวนผู้ว่างงานโดยสมบูรณ์ลดลงร้อยละ 0.8 อยู่ที่ 3,552,600 คน | 8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ | - ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ จากปริมาณยางที่มีน้อย และการเร่งซื้อของผู้ประกอบการ เพราะเกรงจะขาดแคลนยางในฤดูยางผลัดใบ อย่างไรก็ตาม ตลาดต่างประเทศยังคงซบเซา โดยเฉพาะจีนไม่เร่งซื้อเพราะมีสต๊อคยางจำนวนมาก | แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดลดลงตามฤดูกาล และราคาน้ำมันปิดตลาดฟื้นตัวขึ้น ประกอบกับนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยลบจากเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น และสต๊อคยางจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แตะที่ 275,897 ตัน (19 กุมภาพันธ์ 2559) จากสต๊อคเดิมที่ 275,345 ตัน (5 กุมภาพันธ์ 2559)
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
|