ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 21, 2016, 10:04:01 AM »

ยางบึงกาฬเพิ่มช่องจีนลงทุนไทย เจรจาบริษัทจีนซื้อยางไทยเพิ่ม



วันพุธที่ 20 เมษายน  2016 เวลา 09:56 น.
เมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา ที่บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน นำนายจาง เส้า จวิน ประธานสภาที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองแห่งเมืองชิงเต่า มณฑลซานตุง ประเทศจีน พร้อมด้วยนายจาง เหยียน ประธานกรรมการบริหารและผู้จัดการใหญ่ บริษัท รับเบอร์ วัลเล่ย์ กรุ๊ป จำกัด คณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านยางพาราจากประเทศจีน พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ นายกสมาคมมิตรภาพไทย-กัมพูชา นายนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ เข้าร่วมหารือถึงความสำเร็จของการจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ และการจัดงานครั้งต่อไป โดยมีนายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ
 
 
  นายจาง เส้า จวิน กล่าวว่า การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจากประเทศจีน เข้ามาทำธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการและเกษตรกรไทย เกิดความร่วมมือทางธุรกิจ และการค้าระหว่างประเทศไทยและจีนมากขึ้น เป็นไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาลจีนและเมืองชิงเต่ามีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ ประกอบการของจีนเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง


นาย จาง เหยียนกล่าวว่า การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬมีพัฒนาการดีต่อเนื่องมาตลอด 4 ปี หลังจากนี้บริษัทจะนำผู้ประกอบการด้านยางพารามาร่วมงานมากขึ้น ส่วนรูปแบบการจัดงานต่อจากนี้จะนำรูปแบบออนไลน์เข้ามา ทำให้งานน่าสนใจมากขึ้นด้วย



นายพินิจกล่าวว่า ความร่วมมือเพื่อจัดงานวันยางพาราบึงกาฬดำเนินต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 ซึ่งความร่วมมือระหว่างเมืองชิงเต่าและประเทศไทยเป็นการเพิ่มพูนมิตรภาพที่ ดีระหว่างประเทศ ทั้งทางด้านวัฒนธรรม กีฬา การศึกษา และเศรษฐกิจ เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ระหว่างกัน 3-4 โรงงาน เช่น บริษัท เซ็นจูรี่ ไทร์ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานผลิตยางล้อรถยนต์ที่มีมูลค่าการลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาท สามารถผลิตยางเส้น 12 ล้านเส้นต่อปี เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา และมีเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดในโลก หลังจากนี้ยังมีผู้ประกอบการรายอื่นสนใจจะลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้เจรจาขอให้บริษัท เซ็นจูรี่ ไทร์ซื้อยางโดยตรงจากสหกรณ์ที่ประกอบธุรกิจยางพาราให้ได้อย่างน้อย 20-30% ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด และยังเตรียมส่งเสริมให้เกิดถนนยางพาราในพื้นที่ต่างๆ เช่น จังหวัดบึงกาฬ เป็นต้น



เล็งดึงซีแอลเอ็มวีร่วมงาน


พล.อ.วิชิต กล่าวว่า สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีนถือเป็นสมาคมที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ไทย จีนได้ดีเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ เห็นได้ชัดจากการนำสินค้าที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจไทย เช่น ยางพารามาจับคู่ธุรกิจ โดยได้รับการสนับสนุนและร่วมมือกับบริษัท รับเบอร์ วัลเล่ย์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ และหลังจากนี้จะใช้กลไกของสมาคมมิตรภาพไทย-กัมพูชา ขอความร่วมมือจากสมาคมที่เกี่ยวข้องกับประเทศเวียดนาม ลาว และพม่า หรือกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี ในการเชิญชวนผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับยางพาราของประเทศต่างๆ เข้าร่วมงานวันยางพาราบึงกาฬในครั้งต่อไปด้วย



นายนิพนธ์เปิดเผยว่า การจัดงานยางพาราและการร่วมประชาสัมพันธ์ของสื่อที่อยู่ในเครือมติชนทำให้ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยางพารา เช่น หมอนยางพาราได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของลูกค้าอย่างมาก