ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 21, 2016, 12:38:58 PM »

อีก 5 ปี บริษัทใหญ่ๆไม่ต้องพิ่งพาชาวสวนแล้ว ปลูกเอง เก็บเอง ควบคุมราคาเอง



อีก 5 ปี บริษัทใหญ่ๆไม่ต้องพิ่งพาชาวสวนแล้ว ปลูกเอง เก็บเอง ควบคุมราคาเอง


ในขณะที่ราคายางพาราตกต่ำ ... แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ หลายๆ แห่งทั้งใน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย กลับเร่งขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพารา กันยกใหญ่ บริษัทเหล่านี้ ทำแบบนั้นไปทำไมนะ
- ประเทศมาเลเซีย ในขณะที่เกษตรกรรายย่อยชะลอการปลูกยาง แต่บริษัทส่งออกยางในมาเลเซีย ขยายพื้นที่ปลูก โดยในปีที่แล้ว ขยายพื้นที่ไป 7.5%


- บริษัท Sime Darby Bhd. ของมาเลเซีย ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตปาล์มยักษ์ใหญ่ของโลก วางแผนจะเพิ่มผลผลิตยางพารา ซึ่งปัจจุบันมีรายได้จากยางพาราเพียง 2% ให้เพิ่มเป็น 10% ในอีก 10 ปีข้างหน้า จึงเร่งซื้อ และ ขยายพื้นที่ปลูกยางเพิ่ม เจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทบอกว่า บริษัทต้องการกระจายความเสี่ยงออกจากธุรกิจปาล์มน้ำมัน


- บริษัท ศรีตรัง อะโกรอินดัสตรีของไทย ทยอยปลูกยางเพิ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 คิดเป็นพื้นที่มากกว่า 5 หมื่นไร่ ซึ่งก็จะทำให้บริษัทสามารถคุมการผลิตระดับต้นน้ำในอุตสาหกรรมยางได้
- ในอินโดนีเซีย มีทั้งการกว้านซื้อสวนยางราคาถูกที่ชาวสวนเลิกทำ และ การขยายพื้นที่เพาะปลูกใหม่ ของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย ซึ่งบริษัทมองทั้งผลผลิตที่เป็นน้ำยาง และ ไม้ยางพาราเมื่อต้นยางถึงอายุ ในอนาคต


- นักเศรษฐศาสตร์ ในอังกฤษ วิเคราะห์ว่า เป็นโอกาสของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาครอบครองสวนยาง เพราะมองเห็นโอกาสที่ยางพาราจะขาดแคลนในอนาคต เนื่องจากการโค่นสวนยาง และ เลิกปลูกยาง หันไปปลูกพืชชนิดอื่นของเกษตรกรรายย่อย ในช่วงราคาตกต่ำที่ผ่านมา