ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 22, 2016, 08:48:52 PM »ดึงยางสต็อก 2 แสนตันประมูลขายรับราคาพุ่ง
"หลักชัย"ชี้มาตรการรัฐกับบริษัทร่วมทุนยาง ดันราคาเพิ่มขึ้น
ราคายางตลาดโตเกียวพุ่งสูงสุดรอบ 6 เดือน ขณะที่ผู้ส่งออกแห่ขายยางในสต็อก 2 แสนตันออกประมูล
ราคายางในตลาดส่งมอบปัจจุบันของเอเชียปรับตัวขึ้นวานนี้ (21 เม.ย.)โดยยางแผ่นดิบชั้น 3 (USS3) ของไทยเพิ่มขึ้น 1.27 บาทสู่ระดับกิโลกรัม (กก.)ละ 56.63 บาท
ทั้งนี้ สัญญายางล่วงหน้าที่ตลาดโตเกียวพุ่งขึ้นมาที่ระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 8 เดือน โดยพุ่งขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันตามการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน และความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจจีน โดยสัญญายาง TOCOM ส่งมอบเดือน ก.ย.พุ่งขึ้น 5.3 เยน ที่ 199.1 เยนต่อกก. หลังจากที่พุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 199.7 เยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.2558
ขณะที่ สัญญายางตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้พุ่งขึ้น 4% ตามตลาดโตเกียว
ชี้เหตุยางออกสู่ตลาดน้อย
นายหลักชัย กิตติพล ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าราคายางที่ปรับสูงขึ้นแตะ กก.ละ 60 บาท เป็นผลมาจากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลไทยรวมทั้งบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ (IRCO) ดำเนินการต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจุบันเป็นช่วงต้นยางผลัดใบเกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ น้ำยางจึงออกสู่ตลาดน้อย
ขณะที่การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ได้กว้านซื้อยางเพื่อส่งมอบกับบริษัทชิโนเคม ของจีน รวมทั้งราคาน้ำมันที่เริ่มมีเสถียรภาพทำให้ราคายางสังเคราะห์เริ่มปรับเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับราคายางพารา คาดจะส่งผลให้ราคายางในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ยังปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตามองสถานการณ์ในเดือน ก.ค.ที่เกษตรกรจะเริ่มกรีดยางได้อีกครั้ง โดยผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นจะทำให้ราคาปรับลดลง เบื้องต้นคาดว่าราคาที่ลดลงดังกล่าวจะไม่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับราคาในช่วงที่ผ่านมา หวังว่าภาวะเศรษฐกิจของโลกครึ่งปีหลังจะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์กระเตื้องขึ้น ความต้องการยางจะมากขึ้นตามสินค้าอุปโภคบริโภคด้วย โดยราคายางปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับที่เกษตรกรรับได้
ยางหาดใหญ่ราคาพุ่ง 1.12 บาท/กก.
รายงานจากตลาดกลางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แจ้งว่าวานนี้ (21 เม.ย.)ราคายางแผ่นดิบปรับตัวสูงขึ้นกก.ละ 1.12 บาทแตะระดับ 57.17 บาทต่อกก. และยางแผ่นรมควัน เพิ่มขึ้น กก.ละ 1.47 บาทแตะระดับ 60.62 บาทต่อกก. ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอยู่เหนือระดับ 42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า รวมทั้งนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐขณะที่อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อยยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลเชิงบวกต่อราคายางอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ราคายางจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญคือ ปริมาณยางที่มีน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวรายงานว่าไม่มียางให้ซื้อ และราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นในระยะนี้ไม่มีผลต่อการส่งออกมากนัก เพราะไม่มียางให้ซื้อและขายออก
2 ตลาดใหญ่ดันราคายางพุ่ง
แหล่งข่าวจาก กยท.กล่าวว่าการเก็งกำไรยางในตลาด TOCOM ส่งมอบเดือน พ.ค.อยู่ที่ 193.7 เยนต่อกก. เพิ่มขึ้น 4.1 เยนต่อกก.และส่งมอบเดือนก.ย.อยู่ที่ 199 เยนต่อกก.เพิ่มขึ้น 5.2 เยนต่อกก. ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 178.5 เซนต์สหรัฐต่อกก. เพิ่มขึ้น 4.5 เซนต์สหรัฐต่อกก.
ด้านกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม (สอท.) แจ้งว่าในเดือนมี.ค.ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปได้ 109,334 ตันลดลง 14.33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกรถยนต์เดือน ม.ค.-มี.ค.มียอดส่งออก 307,760 คัน ลดลง 6.23%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ชี้โอกาสทองผู้ส่งออกยาง
นายเชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้ว่าการกยท.กล่าวว่าช่วงนี้ถือเป็นโอกาสทองของผู้ส่งออกที่จะนำยางในสต็อกออกมาขาย เนื่องจากราคายางต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดล่วงหน้า ตลาด TOCOM และตลาด SICOM โดยราคายางในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นมา 1 บาทต่อกก. จากปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่เหนือระดับ 41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปริมาณยางพาราเข้าสู่ตลาดมีน้อยมาก
อย่างไรก็ตามราคายางพาราไทยยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาท และเงินเยนที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์
เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัท เซาท์แลนต์รับเบอร์ จำกัดได้เซ็นสัญญาซื้อขายยางพาราให้กับจีนในราคา 63 บาทต่อกก. จำนวน 1 หมื่นตัน เมื่อก่อนสงกรานต์บริษัทเกิดวงศ์บัณฑิต จำกัด ได้ขายให้กับจีนในราคาที่สูงมาก โดยผ่านการจับคู่ธุรกิจของกระทรวงพาณิชย์ ช่วงนี้ผู้ส่งออกจำนวนมาก ที่ซื้อยางเก็บไว้ ช่วงนี้ถึงเดือนพ.ค.เป็นโอกาสที่จะขายออก ทั้งผู้ส่งออกแต่เสียตรงที่เกษตรกรไม่มีสต็อกยางเหมือผู้ส่งออก
ดึงยางสต็อก 2 แสนตันออกประมูล
สำหรับยางในสต็อกรัฐบาล คณะกรรมการ กยท.ได้หารือและเห็นชอบให้นำยางทั้งหมด 2 แสนตันออกประมูล โดยจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)อีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ก่อนจะประมูลจริงประมาณเดือน พ.ค.นี้ การนำยางพาราในสต็อกออกขายในช่วงนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นเวลาที่เหมาะสมเพราะในตลาดยังไม่มียางส่วนยางที่จะส่งมอบให้ บริษัทไซน่า ไห่หนาน สัญญาซื้อขาย 2 แสนตันทยอยส่งมอบเดือนละ 1.6 หมื่นตัน
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมยางได้ครบจำนวนที่จะส่งมอบแล้ว ในสัญญาล็อตแรก ซึ่งกยท.ได้กำไรจากการขาย 80 ล้านบาท
ส่วนล็อตที่ 2 ที่จะส่งมอบประมาณวันที่ 10 พ.ค.นี้ยอมรับยังไม่มียางเพียงพอตามสัญญาอาจต้องขอยืดเวลาการส่งมอบบริษัท ไซน่า ไห่หนาน อีกครั้ง
ลงวันที่ 22 เมษายน 2559 อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์
"หลักชัย"ชี้มาตรการรัฐกับบริษัทร่วมทุนยาง ดันราคาเพิ่มขึ้น
ราคายางตลาดโตเกียวพุ่งสูงสุดรอบ 6 เดือน ขณะที่ผู้ส่งออกแห่ขายยางในสต็อก 2 แสนตันออกประมูล
ราคายางในตลาดส่งมอบปัจจุบันของเอเชียปรับตัวขึ้นวานนี้ (21 เม.ย.)โดยยางแผ่นดิบชั้น 3 (USS3) ของไทยเพิ่มขึ้น 1.27 บาทสู่ระดับกิโลกรัม (กก.)ละ 56.63 บาท
ทั้งนี้ สัญญายางล่วงหน้าที่ตลาดโตเกียวพุ่งขึ้นมาที่ระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 8 เดือน โดยพุ่งขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันตามการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน และความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจจีน โดยสัญญายาง TOCOM ส่งมอบเดือน ก.ย.พุ่งขึ้น 5.3 เยน ที่ 199.1 เยนต่อกก. หลังจากที่พุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 199.7 เยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.2558
ขณะที่ สัญญายางตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้พุ่งขึ้น 4% ตามตลาดโตเกียว
ชี้เหตุยางออกสู่ตลาดน้อย
นายหลักชัย กิตติพล ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าราคายางที่ปรับสูงขึ้นแตะ กก.ละ 60 บาท เป็นผลมาจากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลไทยรวมทั้งบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ (IRCO) ดำเนินการต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจุบันเป็นช่วงต้นยางผลัดใบเกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ น้ำยางจึงออกสู่ตลาดน้อย
ขณะที่การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ได้กว้านซื้อยางเพื่อส่งมอบกับบริษัทชิโนเคม ของจีน รวมทั้งราคาน้ำมันที่เริ่มมีเสถียรภาพทำให้ราคายางสังเคราะห์เริ่มปรับเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับราคายางพารา คาดจะส่งผลให้ราคายางในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ยังปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตามองสถานการณ์ในเดือน ก.ค.ที่เกษตรกรจะเริ่มกรีดยางได้อีกครั้ง โดยผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้นจะทำให้ราคาปรับลดลง เบื้องต้นคาดว่าราคาที่ลดลงดังกล่าวจะไม่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับราคาในช่วงที่ผ่านมา หวังว่าภาวะเศรษฐกิจของโลกครึ่งปีหลังจะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์กระเตื้องขึ้น ความต้องการยางจะมากขึ้นตามสินค้าอุปโภคบริโภคด้วย โดยราคายางปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับที่เกษตรกรรับได้
ยางหาดใหญ่ราคาพุ่ง 1.12 บาท/กก.
รายงานจากตลาดกลางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แจ้งว่าวานนี้ (21 เม.ย.)ราคายางแผ่นดิบปรับตัวสูงขึ้นกก.ละ 1.12 บาทแตะระดับ 57.17 บาทต่อกก. และยางแผ่นรมควัน เพิ่มขึ้น กก.ละ 1.47 บาทแตะระดับ 60.62 บาทต่อกก. ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอยู่เหนือระดับ 42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า รวมทั้งนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐขณะที่อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อยยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลเชิงบวกต่อราคายางอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ราคายางจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญคือ ปริมาณยางที่มีน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวรายงานว่าไม่มียางให้ซื้อ และราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นในระยะนี้ไม่มีผลต่อการส่งออกมากนัก เพราะไม่มียางให้ซื้อและขายออก
2 ตลาดใหญ่ดันราคายางพุ่ง
แหล่งข่าวจาก กยท.กล่าวว่าการเก็งกำไรยางในตลาด TOCOM ส่งมอบเดือน พ.ค.อยู่ที่ 193.7 เยนต่อกก. เพิ่มขึ้น 4.1 เยนต่อกก.และส่งมอบเดือนก.ย.อยู่ที่ 199 เยนต่อกก.เพิ่มขึ้น 5.2 เยนต่อกก. ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 178.5 เซนต์สหรัฐต่อกก. เพิ่มขึ้น 4.5 เซนต์สหรัฐต่อกก.
ด้านกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม (สอท.) แจ้งว่าในเดือนมี.ค.ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปได้ 109,334 ตันลดลง 14.33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกรถยนต์เดือน ม.ค.-มี.ค.มียอดส่งออก 307,760 คัน ลดลง 6.23%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ชี้โอกาสทองผู้ส่งออกยาง
นายเชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้ว่าการกยท.กล่าวว่าช่วงนี้ถือเป็นโอกาสทองของผู้ส่งออกที่จะนำยางในสต็อกออกมาขาย เนื่องจากราคายางต่างประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดล่วงหน้า ตลาด TOCOM และตลาด SICOM โดยราคายางในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นมา 1 บาทต่อกก. จากปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อยู่เหนือระดับ 41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ปริมาณยางพาราเข้าสู่ตลาดมีน้อยมาก
อย่างไรก็ตามราคายางพาราไทยยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาท และเงินเยนที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์
เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัท เซาท์แลนต์รับเบอร์ จำกัดได้เซ็นสัญญาซื้อขายยางพาราให้กับจีนในราคา 63 บาทต่อกก. จำนวน 1 หมื่นตัน เมื่อก่อนสงกรานต์บริษัทเกิดวงศ์บัณฑิต จำกัด ได้ขายให้กับจีนในราคาที่สูงมาก โดยผ่านการจับคู่ธุรกิจของกระทรวงพาณิชย์ ช่วงนี้ผู้ส่งออกจำนวนมาก ที่ซื้อยางเก็บไว้ ช่วงนี้ถึงเดือนพ.ค.เป็นโอกาสที่จะขายออก ทั้งผู้ส่งออกแต่เสียตรงที่เกษตรกรไม่มีสต็อกยางเหมือผู้ส่งออก
ดึงยางสต็อก 2 แสนตันออกประมูล
สำหรับยางในสต็อกรัฐบาล คณะกรรมการ กยท.ได้หารือและเห็นชอบให้นำยางทั้งหมด 2 แสนตันออกประมูล โดยจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)อีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ก่อนจะประมูลจริงประมาณเดือน พ.ค.นี้ การนำยางพาราในสต็อกออกขายในช่วงนี้ถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นเวลาที่เหมาะสมเพราะในตลาดยังไม่มียางส่วนยางที่จะส่งมอบให้ บริษัทไซน่า ไห่หนาน สัญญาซื้อขาย 2 แสนตันทยอยส่งมอบเดือนละ 1.6 หมื่นตัน
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมยางได้ครบจำนวนที่จะส่งมอบแล้ว ในสัญญาล็อตแรก ซึ่งกยท.ได้กำไรจากการขาย 80 ล้านบาท
ส่วนล็อตที่ 2 ที่จะส่งมอบประมาณวันที่ 10 พ.ค.นี้ยอมรับยังไม่มียางเพียงพอตามสัญญาอาจต้องขอยืดเวลาการส่งมอบบริษัท ไซน่า ไห่หนาน อีกครั้ง
ลงวันที่ 22 เมษายน 2559 อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์