ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2016, 12:37:52 PM »วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนและร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บตกร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวันและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- ข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ระบุว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศของ 5 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีใต้เดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 139,617 คัน หลังจากรัฐบาลปรับลดภาษีบริโภค และความต้องการรถยนต์รุ่นใหม่ปรับตัวสูงขึ้น
3. เศรษฐกิจโลก
- สหภาพยุโรป (EU) ประกาศปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจยูโรโซน โดยระบุถึงผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันและการแข็งค่าของเงินยูโร ทั้งนี้ EU คาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะขยายตัวร้อยละ 1.6 ในปีนี้ ลดลงร้อยละ 0.1 จากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้เมื่อ 3 เดือนก่อน ขณะที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ในปีหน้า โดยลดลงร้อยละ 0.1 จากคาดการณ์ครั้งก่อน
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ และไฉซิน เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตจีนปรับตัวลดลงแตะระดับ 49.4 ในเดือนเมษายน จาก 49.7 ในเดือนมีนาคม
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเม็ดเงินเข้าตลาดเพื่อผ่อนคลายภาวะตึงตัวทางการเงิน ทั้งนี้ PBOC อัดฉีดเงิน 1 แสนล้านหยวน (1.55 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) เข้าสู่ระบบธนาคารผ่านข้อตกลงซื้อพันธบัตร โดยมีสัญญาขายคืน (Reverse repo) อายุ 7 วัน
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนต้า เปิดเผยว่า เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.11 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 107.17 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.97 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 43.65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.13 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังจากมีรายงานว่าประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงอิหร่านและอิรักได้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ จะปรับตัวสูงขึ้นด้วย
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 44.97 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.86 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ตลาดล่วงหน้าโตเกียวหยุดทำการ เนื่องในวัน Greenery Day
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 180.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของสมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) รวมทั้งญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ เห็นพ้องกันที่จะออกมาตรการรักษาเสถียรภาพทางการเงินสำหรับภูมิภาค เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ท่ามกลางภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และภาวะตลาดไร้เสถียรภาพ
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัว แต่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้ เพราะความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบของผู้ประกอบการในประเทศ ขณะที่ปริมาณยางออกสู่ตลาดลดลงอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า และความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนจัด ทำให้การเปิดกรีดยางต้องล่าช้า ปริมาณยางจึงยังคงออกสู่ตลาดลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และภาคการผลิตจีนเดือนเมษายนที่ลดลง ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา