ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2016, 09:27:48 AM »

เกษตรกรสวนยางกัมพูชามีความหวังเนื่องจากราคายางปรับตัวสูงขึ้น




ภาคธุรกิจยางพารากัมพูชามีความหวังมากขึ้นหลังจากราคายางในตลาดโลกกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคนงานได้กลับมาทำสวนยางอีกครั้ง


นาย Hang Sreng ผู้บริหารบริษัท Long Sreng International ซึ่งเป็นบริษัทส่งออกยางรายใหญ่ กล่าวว่า ราคายางภายในประเทศกำลังตอบรับราคาในต่างประเทศที่กำลังเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับภาคธุรกิจยาง  โดยราคายางต่างประเทศนั้นเริ่มขยับขึ้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาหลังจากที่ ราคายางตกต่ำมานานถึง 7 ปี และราคายางก็ได้พุ่งขึ้นถึงร้อยละ 16 ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตที่มีมากกว่า ความต้องการและความต้องการใช้ยางจากประเทศจีน


    นาย Sreng กล่าวว่า มูลค่าส่งออกยางพารานั้นได้เพิ่มขึ้นอีก 300 ? 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน หลังจากที่ราคายางลดลงมาอยู่ที่ 1,050 เหรียญสหรัฐต่อตัน


    นาย Thy Sambo ประธานสมาคม Tbong Khmum Family Rubber Development กล่าวว่า ภายหลังจากพักการผลิตยางมาเป็นเวลาหลายเดือนเนื่องจากราคายางในตลาดที่ตกต่ำ อย่างหนัก เกษตรกรสวนยางในจังหวัด Tbong Khmum ที่อยู่ใกล้กับชายแดนประเทศเวียดนามก็เริ่มต้นกรีดยางอีกครั้ง ซึ่งนับตั้งแต่ราคายางค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้น เกษตรกรก็เริ่มจ้างคนงานอีกครั้ง นับเป็นความหวังของเกษตรกรสวนยางที่เคยเลิกทำสวนยาง และหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนภายหลังจากประสบปัญหาราคายางตกต่ำมาเป็นเวลา หลายปี


    นาย Seang Sarat รองประธานสมาคม Memot Family Rubber Development กล่าวว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ราคายางแผ่นก็ได้เพิ่มขึ้นจาก 1,000 รีล(KHR) ต่อกิโลกรัม มาเป็น 2,600 รีลต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ผู้รับซื้อยางชาวเวียดนามต่างข้ามชายแดนมายังฝั่งกัมพูชาเพื่อรับ ซื้อยางแผ่นจากเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรก็ยินดีที่จะขายยางให้แก่ผู้รับซื้อชาวเวียดนามมากกว่าที่จะขาย ให้กับโรงงานในพื้นที่ เนื่องจากมารับซื้อถึงแหล่งผลิตและให้ราคาดีกว่า

    (ที่มา: http://rubberjournalasia.com, 29/04/2016)