ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2016, 01:30:25 PM »

การส่งออกยางของกัมพูชายังคงเพิ่มขึ้นแม้ราคาจะลดลง


ตามรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง (MAFF) ของกัมพูชา เมื่อเร็วๆนี้ระบุว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 การส่งออกยางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าที่ผ่านมาราคายางจะลดลงจากปัญหาความต้องการของโลกที่ชะลอตัว โดยปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 82,825 ตันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาเกือบร้อยละ 11 นอกจากนี้ จำนวนพื้นที่เพาะปลูกยังคงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน


    เจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อการพัฒนาด้านยางแห่งประเทศกัมพูชากล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของการส่งออกไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ราคายางที่ตกต่ำยังคงสร้างความกังวลแก่อุตสาหกรรม โดยปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร และพวกเขาจะยังคงส่งออกอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าพวกเขาจะขายขาดทุน
    ตั้งแต่ราคายางสูงแตะระดับ 4,500 เหรียญสหรัฐต่อตันในปี 2554 จนลดลงมาอยู่ที่ 1,050 500 เหรียญสหรัฐต่อตันในปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากประเทศเวียดนามมาเลเซียอินโดนีเซียและไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีสัดส่วนปริมาณการผลิตรวมกันถึงร้อยละ 70 ร่วมมือกันจำกัดปริมาณการส่งออกร้อยละ 15 ตั้งแต่เดือนมีนาคมต้นปีนี้ เพื่อหวังจะผลักดันราคาให้สูงขึ้น 


    เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชาได้ออกคำสั่งเกี่ยวกับภาษีส่งออกยาง โดยหากราคายางในตลาดโลกลดลงต่ำกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน ผู้ส่งออกไม่ต้องจ่ายภาษี แต่หากราคายางอยู่ระหว่าง 1,000 - 2,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน จะต้องเสียภาษี 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน และจ่าย 100 เหรียญสหรัฐต่อตัน หากราคายางสูงกว่านี้


    นาย Lim Heng ประธานบริษัท Hean Mean Investment ซึ่งเป็นเจ้าของสวนยางเนื้อที่กว่า 10,000 เฮกตาร์ ในจังหวัด Kampong Cham กล่าวว่า อุปทานยางลดลงหลังจากผู้ผลิตรายใหญ่ร่วมมือกันจำกัดปริมาณการส่งออก ทำให้ราคาขยับขึ้นเล็กน้อย ซึ่งผลที่ได้รับยังถือว่าน้อย 


    เขายังกล่าวอีกว่า ต้นทุนการผลิตปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1,400 เหรียญสหรัฐต่อตันในขณะที่ราคายางในตลาดอยู่ที่1,247 เหรียญสหรัฐต่อตันทำให้ธุรกิจยางประสบปัญหาขาดทุน เกษตรกรสวนยางในประเทศกำลังขอให้รัฐบาลกัมพูชาช่วยเหลือและจ่ายเงินอุดหนุนอุตสาหกรรมต่อไป


    ตามรายงานของกระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า พื้นที่ปลูกยางในเดือนกันยายนมีถึง 402,310 เฮกตาร์ ซึ่งต่างจากเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ว่าจะมีพื้นที่ 400,000 เฮกตาร์ในปี 2563จากตัวเลขนี้พื้นที่ประมาณ  123,270 เฮกตาร์ ปัจจุบันใช้ทำไร่และทำนา


    นาย Lim Heng กล่าวว่า ถึงแม้ว่าราคายางจะลดลงและปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ผู้ผลิตยังหวังว่าตลาดจะฟื้นตัว

    (ที่มา: http://rubberjournalasia.com, 21/10/2016)