ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2016, 10:20:04 AM »

ANRPC ระบุ อุปทานยางในอินเดียจำเป็นต้องเพิ่มขึ้น


Sheela Thomas เลขาธิการสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) เน้นถึงความจำเป็นในการสร้างฐานการผลิตยางในประเทศอินเดีย เมื่อประเทศผู้ส่งออกยางเริ่มกลายเป็นประเทศผู้ใช้ยางอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากแนวโน้มนี้ยังเป็นเช่นนี้ จะทำให้ปริมาณยางที่ส่งออกจากประเทศเหล่านี้อาจลดลงในระยะยาว
    Sheela Thomas กล่าวบรรยายในที่ประชุม TESS ซึ่งจัดในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเทคนิคอินเดียของสมาคมผู้ผลิตยางล้อยานยนต์ โดยกล่าวว่าการผลิตยางและยางล้อในอินเดียกำลังได้รับความสนใจอย่างจริงจังและได้รับแรงกระตุ้นจากความสำเร็จของประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซียที่มีการใช้ยางเพิ่มขึ้น กล่าวคือมีการเติบโตร้อยละ 8.3 ในไทย ร้อยละ 12.4 ในอินโดนีเซีย และร้อยละ 17.6 ในเวียดนามในปีนี้ ในขณะที่ปริมาณการใช้ยางทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตน้อยกว่าร้อยละ 4 ทั้งนี้เนื่องมาจากนโยบายอุตสาหกรรมในประเทศเหล่านี้มุ่งเน้นการดึงดูดการลงทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางปลายน้ำ

    Sheela Thomas ตั้งข้อสังเกตว่า การชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจที่มีอย่างต่อเนื่องในตลาดต่างๆ และการตกต่ำของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อาจทำให้เราเชื่อว่าเกิดจากวัตถุดิบล้นตลาด ซึ่งอาจเป็นสมมติฐานที่ผิดก็ได้ และได้เชิญอุตสาหกรรมให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความคิดริเริ่มใหม่ที่เรียกว่า ?ANRPC Public-Private Forum? ซึ่งเป็นการหารือร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ อุตสาหกรรมยางสังเคราะห์ ผู้ผลิตยางธรรมชาติ และผู้กำหนดนโยบายในประเทศที่ผลิตยางสำหรับอุตสาหกรรมยางธรรมชาติอย่างยั่งยืน
    Sheela Thomas ยังกล่าวต่ออีกว่า "ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เติบโตขึ้นและมีความต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น มีทางเลือกที่ชัดเจนคือ เราใช้ทรัพยากรหมดอย่างรวดเร็ว หรือใช้ในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน?

    (ที่มา: http://rubberjournalasia.com, 21/11/2016)