ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 15, 2016, 09:38:10 AM »

กยท. ลุยควบคุมปริมาณผลิตยางหนุนโค่นสวนยางเก่าปลูกพืช ศก.


นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท.ได้ดำเนินการตามภารกิจการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ด้วยการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี หรือไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ กอปรกับทางรัฐบาลได้มีนโยบายโครงการควบคุมปริมาณการผลิต เพื่อลดพื้นที่การปลูกยาง สร้างสมดุลและปริมาณยางพาราภายในประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ กยท.จึงเดินหน้าส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ปลูกยางแต่ได้รับผลผลิตน้อย ติดต่อรับสิทธิ์ขอทุนในการปลูกแทนได้ และที่สำคัญ กยท.จะเร่งให้ความรู้แก่เกษตรกรในการเลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเกษตรกรสามารถเลือกปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี หรือไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะมีพนักงานของ กยท.ให้ข้อมูลแก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่อย่างใกล้ชิด หรือเกษตรกรชาวสวนยางสามารถขอรับคำปรึกษา และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กยท.ทุกสาขาทั่วประเทศ

    ด้านนายกฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกแทนของ กยท.เกษตรกรสามารถขอรับทุนได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมของพื้นที่ที่เกษตรกรมีอยู่ เช่น ต้นยางพาราที่ปลูกมีความทรุดโทรมเสียหาย หรือให้ผลผลิตน้อย แม้สวนยางจะได้รับการดูแลอย่างดีแล้ว แต่ยังคงให้ผลผลิตน้อยอยู่ และต้นยางมีอายุเกิน 15 ปี เปิดกรีดแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือเกษตรกรที่เป็นผู้รับการปลูกแทนอยู่แล้วต้องการเปลี่ยนมาปลูกไม้ยืนต้นหรือพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอื่นๆ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนแทนยางพารา ตั้งเป้าส่งเสริมปลูกแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดี 3 แสนไร่/ปี และพืชชนิดอื่นอีก 1 แสนไร่/ปี ซึ่งเกษตรกรสามารถติดต่อขอรับสิทธิ์หรือขอคำปรึกษาได้ที่ กยท. จังหวัดหรือสาขาที่อยู่ในพื้นที่ของเกษตรกรเพื่อขอรับการส่งเสริมปลูกแทนได้ในอัตราไร่ละไม่เกิน 16,000 บาทต่อไร่


    (ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ประจำวันที่ 15 ธันวาคม 2559)