ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2017, 07:54:54 AM »

อัตราเรียกเก็บเงินสงเคราะห์ (CESS)  ระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2560
แหล่งรายได้ รายได้หลักในการดำเนินงานมาจาก 3 แหล่งดังนี้

ในภาพอาจจะมี ข้อความ
(1) เงินสงเคราะห์ (CESS) เก็บจากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้ปรับปรุงเงินสงเคราะห์ใหม่และประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 โดยได้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
(1.1) ราคายางไม่เกินกิโลกรัมละ 40 บาท เก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) ในอัตรากิโลกรัมละ 90 สตางค์
(1.2) ราคายางเกินกิโลกรัมละ 40 บาท แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ 60 บาท เก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) ในอัตรากิโลกรัมละ 1.40 บาท
(1.3) ราคายางเกินกิโลกรัมละ 60 บาท แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ 80 บาท เก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) ในอัตรากิโลกรัมละ 2.00 บาท
(1.4) ราคายางเกินกิโลกรัมละ 80 บาท แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ 100 บาท เก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) ในอัตรากิโลกรัมละ 3.00 บาท
(1.5) ราคายางเกินกิโลกรัมละ 100 บาท เก็บเงินสงเคราะห์ (CESS) ในอัตรากิโลกรัมละ 5.00 บาท

โดยใช้ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่งชั้น 20 และน้ำยางข้น (60% DRC) เป็นราคา FOB (Free on Board) กรุงเทพฯ (ราคาสินค้าที่ส่งมอบ ณ ท่าเรือส่งออก) เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินสงเคราะห์ พระราชบัญญัติฯ กำหนดให้แบ่งการใช้จ่ายเงินสงเคราะห์ (CESS) ออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. ไม่เกินร้อยละ 5 เป็นค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับกิจการยางในอันที่จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของสวนยางโดยเฉพาะ มอบให้กรมวิชาการเกษตร
2. ไม่เกินร้อยละ 10 เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์ของ สกย. หากปีใด ไม่เพียงพอให้รัฐบาลตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมตามความจำเป็น
3. เงินที่เหลือ เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางที่ปลูกแทน 

(2) เงินดอกผล ดอกผลของเงินสงเคราะห์ นำไปใช้จ่ายในการบริหารงานสงเคราะห์ของ สกย. ได้เท่าที่จำเป็น ส่วนที่เหลือสมทบเพื่อการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางที่ปลูกแทน

(3) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในรูปของเงินกู้ที่รัฐบาลเป็นผู้กู้ หรือเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อดำเนินการสงเคราะห์แก่เจ้าของสวนยางที่ปลูกแทน ปลูกยางใหม่ บริหารงานของ สกย. และดำเนินกิจกรรมอื่นที่รัฐบาลมอบหมาย   


ที่มา สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง