ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2017, 07:26:11 PM »


สศก.ระบุดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือน ม.ค.เพิ่ม 15.58% เหตุราคายางพาราขยับขึ้น คาด ก.พ.ขาขึ้นต่อ


ยางฯดันดัชนีราคาเกษตรพุ่ง
น.ส.จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือน ม.ค. 2560 เพิ่มขึ้น 15.58% เทียบจากเดือน ม.ค. 2559 และเพิ่มขึ้น 4.41% เทียบกับเดือน ธ.ค. 2559 โดยสาเหตุที่ทำให้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น เป็นผลจากยางพาราที่ราคาปรับสูงขึ้นตามแนวโน้มราคาน้ำมันดิบ รวมทั้งปาล์มน้ำมัน เนื่องจากผลผลิตได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ จึงทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรทั้งสองชนิดเพิ่มขึ้น
สำหรับสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น และกระจุกตัว ประกอบกับราคาส่งออกมันเส้นมีแนวโน้มลดต่ำลง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เนื่องจากโรงงานมีสต๊อกเพียงพอต่อความต้องการใช้


ทั้งนี้ ในส่วนของดัชนีรายได้เกษตรในเดือน ม.ค. 2560 เพิ่มขึ้น 19.47% เทียบกับเดือน ม.ค. 2559 ตามดัชนีราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามคาดว่าดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ.จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากสินค้ายางพารายังคงปรับราคาเพิ่มขึ้น
ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือน ม.ค. 2560 เพิ่มขึ้น 3.37% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2559 สินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม ส่วนสินค้าเกษตรสำคัญที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก และอ้อยโรงงาน โดยคาดว่าดัชนีผลผลิตในเดือน ก.พ.จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผลผลิตที่สำคัญอย่างอ้อยโรงงานและมันสำปะหลังเป็นช่วงฤดูกาลที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก


ด้าน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงได้เปิดโครงการ 5 ประสานสืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ถวายในหลวง 7 หมื่นราย โดยจะชวนเกษตรกรที่สมัครใจ 7 หมื่นราย จาก 882 อำเภอทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการน้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่มาปฏิบัติ และปรับใช้ในพื้นที่การเกษตรของตัวเอง เพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยมีภาคเอกชนร่วมมือในการรับซื้อผลผลิต และสถาบันการศึกษาร่วมกันในการอบรมและส่งนักศึกษาเรียนรู้กับเกษตรกร เพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ เชื่อมั่นว่าเมื่อโครงการนี้สำเร็จจะทำให้เกิดการขยายเครือข่ายเพิ่มเป็น 7 แสนราย ถึง 1 ล้านราย


ทีมา : ไทยโพส