ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2017, 09:08:12 AM »ชบ.ให้ศรีตรังซื้อยางเข้า รง.2 พันตัน แต่ยังไม่เดินเครื่อง
ที่มา เพจข่าวอุดรวันนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี ว่านายวัชรินทร์ สุตลาวดี นายอำเภอเมืองอุดรธานี พร้อมคณะทำงานตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาโรงงานยางแท่ง จากอุตสาหกรรม , สาธารณสุข , ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , ศูนย์ดำรงธรรม , ตัวแทนจากโรงงานยางพารา และตัวแทนชาวบ้านได้รับผลกระทบ ร่วมติดตามตรวจสอบโรงงานยางแท่งของ บ.ศรีตรัง แองโกรอินดัสทรี จก.(มหาชน) ที่ขอจังหวัดอุดรธานีอนุญาตให้โรงงานรับซื้อยางก้อนถ้วย 2,000 ตัน แก้ไขปัญหาไม่มีแหล่งรับซื้อยาง
โดยตัวแทนของ บ.ศรีตรัง แองโกรอินดัสทรี จก.(มหาชน) ได้อ้างถึงคำสั่ง จ.อุดรธานี ให้โรงงานหยุดรับซื้อยางก้อนถ้วย และให้ขนยางก้อนถ้วยออกจากโรงงาน 5,000 ตัน เพื่อลดปริมาณวัตถุดิบที่มีมากเกินกำลังผลิต , ให้แก้ไขปัญหาระบบบำบัด ?น้ำเซลั่ม? หรือน้ำเสียจากยางก้อนถ้วย และให้แก้ไขระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ระบบเกิดการล้มเหลว ซึ่งทั้งหมดได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ขณะที่ชาวสวนยาง และกลุ่มชาวสวนยาง ที่ได้รับการส่งเสริมจากโรงงาน ต้องการส่งยางก้อนถ้วยเข้าโรงงาน
บ.ศรีตรังฯ ชี้แจงต่อว่า นอกจากระบบบำบัดน้ำเซลั่ม และระบบบำบัดน้ำเสียเดิม กำลังก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียอีก 1 เซท จะใช้งานได้ในกลางเดือนหน้า ยังมีการเก็บยางก้อนถ้วยในอาคาร ด้านหน้าส่วนล่าง กั้นด้วยแท่งคอนกรีตแบริเออร์ และส่วนบนกั้นด้วยแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันกลิ่น โดยมีแผนจัดการวัตถุดิบในช่วงปกติ 5,000 ตัน และในช่วงผลิตยางมาก 7,000 ตัน ตั้งแต่การขนส่ง การบำบัดเซลั่ม และการนำเข้าเก็บในโรงเก็บ จึงจะขอรับซื้อยางเข้าโรงงาน 2,000 ตัน
ทั้งนี้คณะทำงานได้ลงตรวจสอบ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อาทิ ร่องน้ำบริเวณลานเทน้ำเซลั่ม น่าจะมีฝาปิดป้องกันกลิ่น , ให้ยึดแท่งคอนกรีตแบริเออร์ ไม่ให้ยางก้อนถ้วยดันเคลื่อนออกมา , ใช้ประตูเลื่อนเหมือนโรงสีข้าว แทนแผ่นพลาสติกที่โรงเก็บยางก้อนถ้วย รวมทั้งการทำประตูเลื่อนปิด โกดังเก็บยางเครปด้วย นอกจากนี้ยังเสนอแนะให้กำหนดความสูง ของกองยางก้อนถ้วยไม่เกิน 3 เมตร และขอให้โรงงานติดตามต่อเนื่อง เมื่อกลิ่นสร้างความเดือดร้อน จะต้องหยุดทำการแก้ไขทันที
นายวัชรินทร์ สุตลาวดี นายอำเภอเมืองอุดรธานี เปิดเผยว่า คณะทำงานที่ผู้ว่าฯตั้งขึ้น เป็นการมีส่วนร่วมทุกฝ่าย ได้ไปรับฟังคำชี้แจงโรงงาน ลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในโรงงาน และกลับมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งก็มีมติให้โรงงานรับซื้อยางก้อนถ้วนเพิ่ม 2,000 ตัน แต่ก็มีข้อสังเกตปลีกย่อย ให้โรงงานน้ำไปปรับปรุงพอสมควร โดยชาวบ้านห่วงที่ ?การเดินเครื่องจักร? มากกว่า ซึ่งโรงงานก็อยู่ระหว่างปรับปรุง ทั้งนี้คณะทำงานจะรายงานให้ผู้ว่าฯ พิจารณาออกคำสั่งต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากคำสั่ง จ.อุดรธานี ให้ 2 โรงงานยักษ์ใหญ่ หยุดเดินเครื่องจักรผลิตยางแท่ง เพื่อทำการปรับปรุงระบบ 1 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ จ.อุดรธานี ได้กำหนดกรอบการขอเดินเครื่องจักรใหม่ จะต้องเสนอแผนบริหารจัดการทั้งระบบ โดยมีวิศวกรโรงงาน วิศวกรสิ่งแวดล้อมรับรอง มายัง จ.อุดรธานี เพื่อส่งคณะทำงานลงไปตรวจสอบ ให้ทดสอบการเดินเครื่องจักร ระหว่างทดสอบต้องตรวจคุณภาพอากาศ และตรวจเก็บอากาศจากปล่อง และรอบโรงงาน นำไปตรวจสอบความเข้มกลิ่นด้วยการดม เทียบเคียงกับมาตรฐาน 23 โรงงาน ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีโรงงานใด ยื่นแผนขอทดสอบระบบการผลิต
ที่มา เพจข่าวอุดรวันนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี ว่านายวัชรินทร์ สุตลาวดี นายอำเภอเมืองอุดรธานี พร้อมคณะทำงานตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาโรงงานยางแท่ง จากอุตสาหกรรม , สาธารณสุข , ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , ศูนย์ดำรงธรรม , ตัวแทนจากโรงงานยางพารา และตัวแทนชาวบ้านได้รับผลกระทบ ร่วมติดตามตรวจสอบโรงงานยางแท่งของ บ.ศรีตรัง แองโกรอินดัสทรี จก.(มหาชน) ที่ขอจังหวัดอุดรธานีอนุญาตให้โรงงานรับซื้อยางก้อนถ้วย 2,000 ตัน แก้ไขปัญหาไม่มีแหล่งรับซื้อยาง
โดยตัวแทนของ บ.ศรีตรัง แองโกรอินดัสทรี จก.(มหาชน) ได้อ้างถึงคำสั่ง จ.อุดรธานี ให้โรงงานหยุดรับซื้อยางก้อนถ้วย และให้ขนยางก้อนถ้วยออกจากโรงงาน 5,000 ตัน เพื่อลดปริมาณวัตถุดิบที่มีมากเกินกำลังผลิต , ให้แก้ไขปัญหาระบบบำบัด ?น้ำเซลั่ม? หรือน้ำเสียจากยางก้อนถ้วย และให้แก้ไขระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ระบบเกิดการล้มเหลว ซึ่งทั้งหมดได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ขณะที่ชาวสวนยาง และกลุ่มชาวสวนยาง ที่ได้รับการส่งเสริมจากโรงงาน ต้องการส่งยางก้อนถ้วยเข้าโรงงาน
บ.ศรีตรังฯ ชี้แจงต่อว่า นอกจากระบบบำบัดน้ำเซลั่ม และระบบบำบัดน้ำเสียเดิม กำลังก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียอีก 1 เซท จะใช้งานได้ในกลางเดือนหน้า ยังมีการเก็บยางก้อนถ้วยในอาคาร ด้านหน้าส่วนล่าง กั้นด้วยแท่งคอนกรีตแบริเออร์ และส่วนบนกั้นด้วยแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันกลิ่น โดยมีแผนจัดการวัตถุดิบในช่วงปกติ 5,000 ตัน และในช่วงผลิตยางมาก 7,000 ตัน ตั้งแต่การขนส่ง การบำบัดเซลั่ม และการนำเข้าเก็บในโรงเก็บ จึงจะขอรับซื้อยางเข้าโรงงาน 2,000 ตัน
ทั้งนี้คณะทำงานได้ลงตรวจสอบ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม อาทิ ร่องน้ำบริเวณลานเทน้ำเซลั่ม น่าจะมีฝาปิดป้องกันกลิ่น , ให้ยึดแท่งคอนกรีตแบริเออร์ ไม่ให้ยางก้อนถ้วยดันเคลื่อนออกมา , ใช้ประตูเลื่อนเหมือนโรงสีข้าว แทนแผ่นพลาสติกที่โรงเก็บยางก้อนถ้วย รวมทั้งการทำประตูเลื่อนปิด โกดังเก็บยางเครปด้วย นอกจากนี้ยังเสนอแนะให้กำหนดความสูง ของกองยางก้อนถ้วยไม่เกิน 3 เมตร และขอให้โรงงานติดตามต่อเนื่อง เมื่อกลิ่นสร้างความเดือดร้อน จะต้องหยุดทำการแก้ไขทันที
นายวัชรินทร์ สุตลาวดี นายอำเภอเมืองอุดรธานี เปิดเผยว่า คณะทำงานที่ผู้ว่าฯตั้งขึ้น เป็นการมีส่วนร่วมทุกฝ่าย ได้ไปรับฟังคำชี้แจงโรงงาน ลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในโรงงาน และกลับมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งก็มีมติให้โรงงานรับซื้อยางก้อนถ้วนเพิ่ม 2,000 ตัน แต่ก็มีข้อสังเกตปลีกย่อย ให้โรงงานน้ำไปปรับปรุงพอสมควร โดยชาวบ้านห่วงที่ ?การเดินเครื่องจักร? มากกว่า ซึ่งโรงงานก็อยู่ระหว่างปรับปรุง ทั้งนี้คณะทำงานจะรายงานให้ผู้ว่าฯ พิจารณาออกคำสั่งต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากคำสั่ง จ.อุดรธานี ให้ 2 โรงงานยักษ์ใหญ่ หยุดเดินเครื่องจักรผลิตยางแท่ง เพื่อทำการปรับปรุงระบบ 1 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ จ.อุดรธานี ได้กำหนดกรอบการขอเดินเครื่องจักรใหม่ จะต้องเสนอแผนบริหารจัดการทั้งระบบ โดยมีวิศวกรโรงงาน วิศวกรสิ่งแวดล้อมรับรอง มายัง จ.อุดรธานี เพื่อส่งคณะทำงานลงไปตรวจสอบ ให้ทดสอบการเดินเครื่องจักร ระหว่างทดสอบต้องตรวจคุณภาพอากาศ และตรวจเก็บอากาศจากปล่อง และรอบโรงงาน นำไปตรวจสอบความเข้มกลิ่นด้วยการดม เทียบเคียงกับมาตรฐาน 23 โรงงาน ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีโรงงานใด ยื่นแผนขอทดสอบระบบการผลิต