ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2017, 07:58:58 PM »

รมว.อุตสาหกรรมมั่นใจ นิคมฯยางพารา พร้อมเปิดบริการนักลงทุนปี 61
วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 - 16:12 น.


เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 31 พฤษภาคม ที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมยางพารา ภายในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ต.ฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้างพัฒนา โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) พร้อมเป็นประธานพิธีเปิดอาคารโรงงานมาตรฐาน ระยะที่ 2 ภายใต้โครงการ ?กนอ.สานพลังประชารัฐ ยกระดับ SME ยางไทย ก้าวไกล ในนิคมอุตสาหกรรมยางพารา? เพื่อรองรับกับการลงทุนเอสเอ็มอียางไทยเข้าใช้พื้นที่ โดยโรงงานมาตรฐาน ระยะที่ 2 มีพื้นที่โรงงานรวม 3,500 ตารางเมตร


รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการส่งเสริมให้มีการพัฒนา กนอ.ได้รับโจทย์นี้ไป เนื่องจากอุตสาหกรรมยางพาราเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของประเทศ นิคมอุตสาหกรรมยางพารา เป็นความร่วมมือเชิงประชารัฐ ชุมชนในพื้นที่ เกษตรกร เครือข่ายยางพารา เอสเอ็มอีที่มีการพัฒนา ตอนนี้ก็มีอยู่แล้วระดับหนึ่ง ภาพที่จะเกิดขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมยางพารา เป็นภาพของนิคมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ สร้างมูลค่าใหม่ๆ ขึ้นจาก 3 หมื่นตันเป็น 2 แสนตันต่อปี เราได้เห็นสินค้าใหม่ๆ ที่มีศักยภาพสูงมาก เช่น เซรุ่มยาง นำไปสู่การเสริมสวย ยา ต่อต้านมะเร็ง ทาง มอ.เป็นหลักได้อย่างดีประสานกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทำให้งานวิจัยไปสู่ของจริง ภาครัฐส่งเสริม จากกองทุนเอสเอ็มอีที่ตั้งใหม่ขึ้นมา หากเอสเอ็มอีมีความต้องการใช้เงินทุนเพื่อยกระดับสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มทางกองทุนเอสเอ็มอีพร้อมให้การสนับสนุน รวมถึงสร้างมาตรฐาน สร้างแบรนด์ของสินค้า อุตสาหกรรมยางพาราเป็นตัวอย่างที่ดี ยกระดับให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย มีความก้าวหน้าสู่ 4.0 อยากเชิญผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้น ประเทศไทยต้องมีตลาดเปิด ต้องมีการปรับตัวตามเพื่อก้าวสู่ 4.0
 สำหรับนิคมอุตสาหกรรมยางพารา หรือรับเบอร์ ซิตี้ นั้น กนอ.ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 บนพื้นที่ 1,218 ไร่ ภายในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร ทั้งกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน ตามนโยบายรัฐบาล ที่ต้องการให้การใช้ยางพาราภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา จะช่วยเพิ่มความต้องการใช้ยางพารา ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จากเดิม 30,000 ตันต่อปีเป็น 200,000 ตันต่อปี ซึ่งจะเป็นการผลักดันให้ราคายางพาราปรับเพิ่มสูงขึ้น