ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2017, 01:55:41 PM »

โรงรมยางใต้อ่วมราคายางเฉียดน้ำยางสด1-2บาททำขาดทุนยับสูญเงินนับ 1000ล้านบาท


updated: 08 มิ.ย. 2560 เวลา 14:34:46 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ราคาตลาดยางผันผวนหนักผิดปกติ ทำโรงรมยางภาคใต้สะเทือน ราคาหล่นฮวบห่างน้ำยางสด 1-2 บาทเท่านั้น ปกติต้องมีระยะห่าง 7-10 บาท ลั่นขายออกไปขาดทุนยับ ชี้เกิดขึ้น 3 ครั้ง สูญครั้งละนับพันล้านบาท เตรียมยื่นหนังสือนายกฯ ถึงทำเนียบ 15 มิ.ย. นี้ 
                   
 นายประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ ประชาสัมพันธ์เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางการยางแห่งประเทศไทย ( กยท.) ที่มีนายธีระชัย แสนแก้ว เป็นประธาน เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ"ว่า ชาวสวนยางพารา ถูกผลกระทบหนักจากสถานการณ์ผิดปกติของตลาดยาง โดยภาพรวม จำนวน 3 ครั้ง ในรอบ 6 เดือน ตั้งแต่ปลายปี 2559 จนถึงกลางปี 60 ซึ่งแต่ละครั้ง ชาวสวนยางจะต้องสูญเสียรายได้นับพันล้านบาท เกี่ยวกับกลไกการตลาดที่ผิดปกติเช่นนี้

สถานการณ์ผิดปกติของตลาดยาง คือ ยางมีการซื้อขายหล่นลงวันละ 5-6 บาท / กิโลกรัม(กก.) จำนวน 2 วัน ประมาณกว่า 10 บาท / กก. บางพื้นที่รวมแล้ว 17 บาท / กก.ที่เงินสูญหายไป ความจริงถ้าตลาดยางพาราเป็นปกติทั่วไป ราคาจะลงสูงสุดเพียง 2 บาท / กก.เท่านั้น



ที่สำคัญยังพบว่าน้ำยางสดกับยางรมควัน ราคาจะใกล้เคียงกันประมาณ 1-2 บาท / กก. ในความเป็นจริงในการบริหารจัดการ ยางรมควันราคาจะต้องสูงกว่า 7 บาท และ 10 บาท และหากราคาไล่เลี่ยกัน 1-2 บาท ระหว่างน้ำยาสดกับยางแผนรมควัน เท่ากับว่า ผู้ประกอบการโรงรมยาง จะต้องประสบกับภาวะขาดทุน และโรงรมจะอยู่ไม่ได้

"วันนี้ยางรมควัน ปรับมาอยู่ในความสมดุลแล้วที่ 57 บาท / กก. โดยน้ำยางสดอยู่ที่ 50 ? 51 บาท / กก. มีระยะห่าง 7 บาท แต่ที่ชาวสวนยาง ต้องการคือให้ปรับฐานน้ำยางสดมาอยู่ที่ 60 บาท / กก. และยางรมควัน มาอยู่ที่ 68 บาท / กก."

นายประยูรสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ภาพรวมโรงรมในภาคใต้ มีไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่ง เฉพาะนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กว่า 300 แห่ง โดยภาพรวมทั้งประเทศเป็นของสถาบันเกษตรกร เช่น สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มยาง และเอกชนรายเล็ก รายย่อยที่ประกอบการเป็นครอบครัว รวมประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์



"สำหรับโรงรมจะขาดทุนหรือไม่ เพราะเพิ่งเริ่มเปิดกรีด ฝนพอเริ่มแล้ง และสำหรับสหกรณ์ในกลุ่ม ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะขาดแคลนแรงงาน"

นายประยูรสิทธิ์  กล่าวอีกว่า ประมาณในวันที่ 15 มิถุนายน 60 เครือข่ายฯ จะไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาลถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)