ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2017, 05:02:57 PM »


นายกฯ แนะเกษตรกรลดพื้นที่ปลูกยาง-หันปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เพื่อแก้ไขปัญหาราคา


 สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 11 กรกฎาคม 2560 15:49:17 น.
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำว่า สาเหตุมาจากมีปริมาณมากเกินไป ซึ่งได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานเร่งปรับแนวทางการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง
 
ปัญหาสำคัญเนื่องจากยังมีพื้นที่ปลูกยางมากเกินไป โดยพบว่ามีการปลูกในพื้นที่บุกรุกถึง 3 ล้านไร่ แต่รัฐบาลคงไม่สามารถสั่งให้หยุดปลูกได้ทั้งหมด เพราะจะส่งผลกระทบทำให้เกิดความเดือดร้อน โดยแนะนำให้เกษตรกรลดพื้นที่การปลูกยางลงแล้วหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น ทุเรียนหรือมังคุดที่มีราคาสูง เพราะหากไม่เปลี่ยนแปลงราคายางก็คงไม่สามารถขยับไปมากกว่านี้ได้


ส่วนกรณีที่ต้องการให้ยางมีราคาถึงกิโลกรัมละ 70 บาท จะต้องพิจารณาจากปริมาณยางว่ามีมากน้อยเพียงใด เพราะหากมียางทั้งในสต็อกและในตลาดโลกคงเป็นไปได้ยากที่จะทำให้ราคาสูงขึ้น
 
นายกรัฐมนตรี ระบวุ่า รัฐบาลไม่สามารถนำงบประมาณไปซื้อยางมาเก็บไว้ได้ทั้งหมด เพราะส่วนหนึ่งยังมียางอยู่ในสต็อกที่ยังไม่ขายออกไป และไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ในการแก้ปัญหาดังกล่าว เพราะสามารถสั่งการให้หน่วยงานต่างๆ นำยางไปใช้งานได้ โดยเบื้องต้นได้ให้ทางทหารช่างนำยางไปใช้ทำถนน ซึ่งขณะนี้สามารถเพิ่มสัดส่วนยางได้ถึง 15% แต่จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณให้กับหน่วยงานต่างๆ ด้วย นอกจากนั้นยังต้องเพิ่มการใช้ประโยชน์ในส่วนของสาธารณสุข กีฬา แต่ต้องจัดทำแผนงานดำเนินงานและเพิ่มงบประมาณเช่นเดียวกัน ซึ่งแนวทางทั้งหมดจะมีการหารืออีกครั้งในวันพรุ่งนี้ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
 
ส่วนความร่วมมือในการแก้ปัญหาร่วมกันของ 3 ประเทศ ที่ไทยได้ส่งตัวแทนไปพูดคุยนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่าการทำให้ราคายางสูงขึ้นนั้นทำได้ยาก เป็นผลจากปริมาณยางของไทยมีมากเกินไป ขณะที่ทั้ง 3 ประเทศได้ปรับลดพื้นที่ปลูกยางของตนเองลงกว่า 50% รัฐบาลจึงต้องปรับปริมาณการผลิตยางของไทยให้เหมาะกับทั้ง 3 ประเทศ และอีกปัญหาหนึ่งคือการที่ 3 ประเทศมองว่าเสถียรภาพทางการเมืองมีผลต่อราคายางพาราโดยเฉพาะกับตลาดการซื้อขายล่วงหน้า จึงขออย่าให้มีการเคลื่อนไหวกดดันในขณะนี้
 
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สิ่งสำคัญนอกจากมาตการช่วยเหลือแล้วเกษตรกรต้องช่วยเหลือตัวเองและร่วมมือในการปฏิบัติตามแนวทางและมาตรการที่อนุมัติให้ เพราะสิ่งที่พยายามทำคือการแก้ไขทั้งระบบ โดยไม่ใช้วิธีอุดหนุนที่เป็นการแก้ปัญหาปลายทางเพียงอย่างเดียว