ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 13, 2017, 03:47:28 PM »


เปิดรับออเดอร์'ยางล้อประชารัฐ'  มาตรฐาน'มอก.'ติดตั้งฟรีศูนย์'FIT'ทั่วประเทศ


หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 13 กันยายน 2560 00:00:00 น.
 
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยาง แห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท.ได้ขยายตลาดยางทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคาให้กับยาง โดยเฉพาะการส่งเสริมการพร้อมใช้ QR Code : ใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ในปีงบประมาณ 2560 มีความต้องการใช้ยางจาก 9 หน่วยงานภาครัฐรวมกัน 25,274 ตัน มูลค่า 16,925 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการส่งมอบให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 ส่วนปี 2561 ขณะนี้ได้เปิดให้หน่วยงานต่างๆ แจ้งความต้องการใช้เข้ามาแล้ว คาดว่าจะมีไม่น้อยกว่าปี 2560



นอกจากนี้ กยท. ยังได้ดำเนินโครงการยางล้อประชารัฐ ในการผลิตยางล้อรถ อาทิ จักรยานยนต์ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ขนาดกลาง รถกระบะ รถตู้ ที่ใช้ส่วน ผสมของยางพาราเพิ่มขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "TH-TYRE" หรือที่นิยมเรียกเป็นภาษาไทยว่า "ไทไทร์" เป็นยางที่มีคุณภาพผ่านมาตรฐาน มอก. ในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งขณะนี้วางจำหน่ายแล้ว แต่เพื่อไม่ให้เกิดภาระเรื่องการเก็บสต๊อกสินค้า จึงได้เปิดช่องทางการขายแบบรับคำสั่งซื้อ (Order) ก่อนการผลิต โดยสามารถยื่นคำสั่งซื้อและจำนวนได้ที่ สำนักงาน กยท. ทุกแห่ง และสามารถซื้อในนามนิติบุคคลหรือบุคคลทั่วไปได้ โดยจะได้รับสินค้าภายใน 15 วัน และสามารถนำยางไปใส่ล้อได้ที่ศูนย์บริการของยางดีสโตน หรือที่ศูนย์ FIT AUTO ของ ปตท. ทั่วประเทศได้ฟรี
 
"การดำเนินโครงการยางล้อประชารัฐ ที่ผ่านมาเป็นไปตามเป้าหมาย มีส่วนทำให้ราคายางมีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการขยายตลาดมากขึ้น กยท.ได้เปิดให้บริษัทเอกชนผู้ผลิตล้อยางยี่ห้ออื่นๆที่สนใจ เข้าร่วมดำเนินโครงการยางล้อประชารัฐได้เช่นเดียวกับบริษัท ดีสโตน แต่จะต้องใช้ยางจากเกษตรกรผ่านสถาบันเกษตรกร โดยตรงเท่านั้น เพื่อที่จะให้ได้รับประโยชน์ทั้ง 3 ฝาย คือ กยท. ผู้ประกอบการ และเกษตรกรชาวสวนยาง" ดร.ธีธัชกล่าว
 
"ขณะนี้ความต้องการใช้ยางยังมีความต้องการสูงทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐนั้น หากมีการนำยางไปใช้เป็นส่วนผสมเป็นซับเบตในการสร้างถนน จะทำให้ความต้องการใช้ยางในการทำถนนเพิ่มขึ้นมหาศาล ส่วนโครงการยางล้อประชารัฐ หากหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานหันมาใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้นภายใต้กิจกรรมต่างๆ ความต้องการใช้ยางก็จะเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน" ผู้ว่าการ กยท.กล่าว