ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2017, 12:16:06 PM »

วุ่นไม่เลิกบริษัทร่วมทุนหยุดซื้อยาง - 3 พ.ย. โร่ถก 4 ประเทศผู้ผลิตงดส่งออก


วันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 - 20:32 น. ที่มา ข่าวสด

นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ที่มีการลงขันลงทุนระหว่าง กยท. และผู้ส่งออกยางพารา 5 รายใหญ่ของไทย วงเงิน 1,200 ล้านบาท ว่า บริษัทร่วมทุนฯ ตัดสินใจเลิกซื้อยางพารามาแล้ว 3 วัน และคาดว่าจะหยุดซื้อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากมีเกษตรกรออกมาเรียกร้องให้หยุดการซื้อ เพราะมีผลทำให้ราคายางพาราตกต่ำอยู่ในขณะนี้ โดยการหยุดเข้าซื้อส่งผลให้ราคายางพาราจาก 51.50 บาท/กิโลกรัม (ก.ก.) ลดลง 6 บาท/ก.ก. และวันนี้ราคายางพาราเคลื่อนไหวอยู่ที่ราคาประมาณ 45-46 บาท/ก.ก.
สำหรับการลงทุนของบรัทร่วมทุนฯ ได้ใช้เงินเพื่อซื้อยางพาราไปแล้วประมาณ 600 ล้านบาท เงินในจำนวนนี้ถือว่า เข้ากระเป๋าชาวสวนยางโดยตรงตามวัตถุประสงค์การตั้งบริษัท หากเกษตรกรต้องการให้บรัทร่วมทุนยุติบทบาท ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นตัวการทำให้ราคายางพาราในประเทศร่วง กยท .และ 5 เสือคงต้องมีการทบทวนบทบาทในอนาคต

?การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่ผ่านมา 3 เดือน มีการเข้าซื้อชี้นำตลาดสูงกว่าราคารายรองจาก กยท. ประมาณ 0.50-2 บาท/ก.ก. แต่การซื้อยางพาราและตลาดที่ซื้อยอมรับไม่ได้เข้าทุกตลาด แต่ยืนยันเป้าหมายการเข้าซื้อคือเพื่อชี้นำ ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางขายยางพาราได้สูงขึ้น บริษัทร่วมทุนตั้งใจที่จะช่วยพยุงราคา ชี้นำตลาด แต่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทุบราคาทำให้เกษตรกรเสียหาย จึงต้องขอทบทวนบทบาทก่อนว่าจะเข้าซื้ออีกครั้งเมื่อไหร่ ในเวลาที่เหมาะสม ส่วนปริมาณยางคงค้างจะเคลียร์สต๊อกให้หมดภายใน 1สัปดาห์


นายธีธัช กล่าวว่า ในวันที่ 3 พ.ย. 2560 กยท. จะร่วมหารือร่วมกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ตามข้อตกลงของบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ (IRCO) ที่เห็นชอบให้ 3 ประเทศ ซึ่งรวมเวียดนามเพิ่มเป็น 4 ประเทศผู้ผลิต ที่มีผลผลิตรวมประมาณ 73% ของผลผลิตทั่วโลก ในเรื่องของจำกัดปริมาณการส่งออกยางพารา ซึ่งตามข้อตกลงก่อนหน้าจะหารือกันทันทีเมื่อเกิดความผิดปกติ ขณะนี้ถือว่าเหมาะสมที่ทั้ง 4 ประเทศ ควรจำกัดปริมาณการส่งออก เพราะถือว่าเป็นมาตรการที่สกัดราคายางที่ลดลงแบบผิดปกติได้

นายจิตรนรา นวรัตน์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค 2 สำนักงานอัยการสุงสุด ในฐานะกรรมการที่เข้ามาช่วยดูเรื่องกฏหมาย ของกยท.และบริษัทร่วมทุน กล่าวภายหลังการร่วมประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทมร่วมทุนฯ ว่า การดำเนินการซื้อหรือขายยางพารา หรือการบอกปริมาณยางพาราที่รับซื้อมาได้ อาจมีผลเสียหายกับเป้าหมายการรักษาเสถียรภาพยางพารา การบอกสต๊อกยางของประเทศ กระทบต่อราคาในตลาดโลกจึงไม่ควรเปิดเผยทั้งเรื่องของราคารับซื้อ และปริมาณสต๊อกยางพารา เพราะมีผลทำให้ประเทศชาติเสียหาย การทำงานรักษาเสถียรภาพยางพาราอย่าดูในช่วงสั้นๆ ควรดูในระยะยาวๆ ออกไป เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ชาวสวนยางภาคใต้ และสมาคมที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการส่งหนังสือเพื่อรวบรวมรายชื่อเกษตรกร เพื่อยื่นต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ปลดนายธีธัช ผู้ว่าฯกยท. ออกจากตำแหน่ง