ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2017, 09:27:28 AM »

สคยท.ยื่นหนังสือนายกฯ เสนอแนวทางแก้ปัญหายางพารา
เผยแพร่: 21 พ.ย. 2560 12:15:00   โดย: MGR Online

 
 ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ฝั่ง ก.พ.) นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และเลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) พร้อมตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอเสนอแนวทางการแก้ปัญหาวิกฤตยางพาราไทยอย่างยั่งยืน เนื่องจากปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำอย่างผิดปกติ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีแถลงเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน รวมถึงการบริหารงานที่ล้มเหลว และผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทยมิได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558



นายสุนทร กล่าวว่า ทางสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ จึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤตยางพาราไทยอย่างยั่งยืนภายใต้กลไก พ.ร.บ.การยางฯ ดังนี้

1.ให้การยางแห่งประเทศไทยแก้ไขประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยว่าด้วย การขึ้นทะเบียนเกษตรชาวสวนยาง เพื่อให้เกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์สามารถจดทะเบียนเป็นเกษตรกรได้ และสามารถเข้าถึงสิทธิ และผลประโยชน์ตาม พ.ร.บ.การยางฯ

2.ให้การยางฯ แก้ไขระเบียบว่าด้วย การจัดสวัสดิการให้เกษตรชาวสวนยาง เพื่อจัดตั้งกองทุนสวัสดิการเกษตรชาวสวนยาง ในรูปแบบสังคมสวัสดิการ โดยข้อเสนอเร่งด่วน ให้การยางฯ จ่ายเงินสวัสดิการ แก่คนกรีดยางรายละ 3,000 บาท เพื่อเยียวยา และช่วยเหลือในช่วงที่เกิดปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

3.ให้การยางฯ แก้ไขระเบียบว่าด้วย การปลูกแทนตามมาตรา 49 (2) เพื่อให้เกษตรปรับเปลี่ยนการทำสวนยางเชิงเดี่ยวมาทำสวนยางอย่างยั่งยืน

4.ให้การยางฯ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก้ปัญหาเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์

5.ให้การยางฯ จัดทำยุทธศาสตร์และแผนแม่บทว่าด้วยการยกระดับรายได้ และคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยาง

6.ให้การยางฯ ตั้งคณะอนุกรรมการ แก้ไขปัญหา โดยเกษตรกรต้องมีส่วนร่วม