ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2017, 08:59:23 AM »กยท.ถก15ชาติผู้รับซื้อยางรายใหญ่ ลุยล็อบบี้จีนรับซื้อยางพาราคละแบบเพิ่ม2แสนตัน
หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2560 00:00:52 น.
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยาง แห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาได้เดินทางไปเมืองโบเอา มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน เพื่อร่วมการประชุมใหญ่กลุ่มผู้ผลิตและผู้ใช้ยางพาราจาก 15 ประเทศ และหารือแนวทางแก้ไขปัญหาราคายางที่ผันผวน โดยที่ประชุมได้เสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากยาง เพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นการใช้ยางมากขึ้น
นอกจากนี้ กยท.ยังได้ร่วมเจรจาทางการค้ากับบริษัท Hainan Rubber Industrial Group ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลจีน โดยตรงอีกด้วย ซึ่งการเจรจาในครั้งนี้ เป็นการทำสัญญาแบบ Business to Business ระหว่าง 2 องค์กร เพื่อวางเป้าในการซื้อขายยางคละแบบ ทั้งยางก้อนถ้วย ยางแผ่นรมควัน และยางแท่ง ซึ่งจะเป็นช่องทางการตลาดที่มาสนับสนุนการพัฒนาตลาดยางของ กยท. ที่กำลังเร่งพัฒนาเพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
"กยท. จะเป็นตัวกลางในการจัดหาและรวบรวมผลผลิต พร้อมเปิดรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่มีความพร้อม และสนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งการขอทำสัญญาซื้อยางในลอตแรกจำนวน 10,000 ตัน คาดว่า เราพร้อมส่งมอบในเดือนธันวาคม 2560 นี้ นอกจากนั้นแล้ว ทางฝ่ายผู้ซื้อจากประเทศจีน ยังแสดงความสนใจที่จะให้ กยท. รวบรวมยางคละแบบ ทั้งยางก้อนถ้วย ยางแผ่น ยางแท่ง โดยวาง เป้าหมายไว้ ปีละกว่า 200,000 ตัน ซึ่งภายหลังการส่งมอบยางในชุดแรกแล้ว คงจะเจรจาในรายละเอียดวิธีการทำงาน ร่วมกันให้ชัดเจน"
นายธีธัชกล่าวต่อว่า มณฑล ไห่หนาน เป็นมณฑลที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับยางพารามาแล้วกว่า 50 ปี มีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีนประมาณ 3 ล้านไร่ โดยมีรัฐบาลจีนให้การสนับสนุน ซึ่งประสบปัญหาเรื่องราคา เช่นเดียวกับประเทศไทย รัฐบาลจีนจึงหันมา สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกยางแบบพืชผสมผสาน แทนที่จะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรมีรายได้จากสินค้าเกษตรอื่นๆ อีกกว่า 8 ชนิด เช่น ส้ม ใบชา กาแฟ และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศที่อาจไม่เอื้ออำนวยกับการปลูกยางนักเมื่อเทียบกับประเทศแถบร้อน ทำให้ได้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้งยังเผชิญกับพายุพัดถล่มบ่อยครั้ง จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้ายางจากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศไทย
"มลฑลไห่หนาน อยู่ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ปลูกและผู้ใช้ยางพารา จึงมีความเข้าใจในสถานการณ์ความผันผวนของยางพาราเป็นอย่างดี และมีความต้องการที่จะให้ราคาเป็นไปในทิศทางที่สูงขึ้น จึงนำมาสู่การร่วมมือทางการค้ากับประเทศไทย ซึ่งประโยชน์ส่งต่อถึงมือชาวสวนยางไทยอย่างแน่นอน" นายธีธัช กล่าว
หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2560 00:00:52 น.
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยาง แห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาได้เดินทางไปเมืองโบเอา มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน เพื่อร่วมการประชุมใหญ่กลุ่มผู้ผลิตและผู้ใช้ยางพาราจาก 15 ประเทศ และหารือแนวทางแก้ไขปัญหาราคายางที่ผันผวน โดยที่ประชุมได้เสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากยาง เพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นการใช้ยางมากขึ้น
นอกจากนี้ กยท.ยังได้ร่วมเจรจาทางการค้ากับบริษัท Hainan Rubber Industrial Group ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยรัฐบาลจีน โดยตรงอีกด้วย ซึ่งการเจรจาในครั้งนี้ เป็นการทำสัญญาแบบ Business to Business ระหว่าง 2 องค์กร เพื่อวางเป้าในการซื้อขายยางคละแบบ ทั้งยางก้อนถ้วย ยางแผ่นรมควัน และยางแท่ง ซึ่งจะเป็นช่องทางการตลาดที่มาสนับสนุนการพัฒนาตลาดยางของ กยท. ที่กำลังเร่งพัฒนาเพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
"กยท. จะเป็นตัวกลางในการจัดหาและรวบรวมผลผลิต พร้อมเปิดรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางที่มีความพร้อม และสนใจเข้าร่วมโครงการ ซึ่งการขอทำสัญญาซื้อยางในลอตแรกจำนวน 10,000 ตัน คาดว่า เราพร้อมส่งมอบในเดือนธันวาคม 2560 นี้ นอกจากนั้นแล้ว ทางฝ่ายผู้ซื้อจากประเทศจีน ยังแสดงความสนใจที่จะให้ กยท. รวบรวมยางคละแบบ ทั้งยางก้อนถ้วย ยางแผ่น ยางแท่ง โดยวาง เป้าหมายไว้ ปีละกว่า 200,000 ตัน ซึ่งภายหลังการส่งมอบยางในชุดแรกแล้ว คงจะเจรจาในรายละเอียดวิธีการทำงาน ร่วมกันให้ชัดเจน"
นายธีธัชกล่าวต่อว่า มณฑล ไห่หนาน เป็นมณฑลที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับยางพารามาแล้วกว่า 50 ปี มีพื้นที่ปลูกยางมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีนประมาณ 3 ล้านไร่ โดยมีรัฐบาลจีนให้การสนับสนุน ซึ่งประสบปัญหาเรื่องราคา เช่นเดียวกับประเทศไทย รัฐบาลจีนจึงหันมา สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกยางแบบพืชผสมผสาน แทนที่จะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรมีรายได้จากสินค้าเกษตรอื่นๆ อีกกว่า 8 ชนิด เช่น ส้ม ใบชา กาแฟ และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศที่อาจไม่เอื้ออำนวยกับการปลูกยางนักเมื่อเทียบกับประเทศแถบร้อน ทำให้ได้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้งยังเผชิญกับพายุพัดถล่มบ่อยครั้ง จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้ายางจากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศไทย
"มลฑลไห่หนาน อยู่ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ปลูกและผู้ใช้ยางพารา จึงมีความเข้าใจในสถานการณ์ความผันผวนของยางพาราเป็นอย่างดี และมีความต้องการที่จะให้ราคาเป็นไปในทิศทางที่สูงขึ้น จึงนำมาสู่การร่วมมือทางการค้ากับประเทศไทย ซึ่งประโยชน์ส่งต่อถึงมือชาวสวนยางไทยอย่างแน่นอน" นายธีธัช กล่าว