ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2017, 01:35:14 PM »

รัฐทุ่ม1.1หมื่นล.เพิ่มใช้ยางปี61 คมนาคม-กลาโหม-เกษตรใช้มากสุด-จี้แจ้งเกิด2นิคมฯยาง
6 December 2017

สภาเกษตรกรฯ เสนอเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกยท.-ชาวสวน ปมต้นทุนยางไม่เท่ากัน ชงบอร์ดกยท.ดันแจ้งเกิดนิคมฯยางพารา ?นครศรีฯ-สงขลา? เพิ่มใช้ยาง 1.5 ล้านตัน/ปี ขณะหน่วยงานรัฐเสนอชงแผนใช้ยางปีหน้า 1.1 หมื่นตัน งบ 1.15 หมื่นล้านบาท[/size]นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ทางสภาเกษตรกรแห่งชาติ จะเสนอขอเป็นตัวกลางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวสวนยางกับ กยท. ในเรื่องต้นทุนยางพารา ที่แต่ละฝ่ายต่างอ้างต้นทุนการผลิตไม่ตรงกัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้?ข้อยุติ ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องหาจุดร่วมเพื่อเป็นแนวทางให้ได้รับความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่ายนอกจากนี้ทางสภาเกษตรฯ ได้มีแนวทางขับเคลื่อนเพื่อดึงราคายางทั้งประเทศ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้นำเสนอเรื่องผ่านบอร์ด ?กยท.เรื่องขอให้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพาราใน 2 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช และสงขลา โดยอาจทำได้ใน 2 ลักษณะคือ 1. ใช้พื้นที่ของ กยท.ในการจัดตั้งในลักษณะการให้เช่าพื้นที่ หรือ 2. การร่วมลงทุนกับเอกชน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีในภาพรวม สามารถเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศได้อีกไม่ตํ่ากว่า 1.5 ล้านตันต่อปี (จากปัจจุบันมีการใช้เพียง 6-8 แสนตัน/ปี จากผลผลิตกว่า 4 ล้านตัน/ปี)

tp8-3319-a
?นายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดให้มีการใช้ยางในประเทศมากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานภาครัฐ ตั้งเป้าไว้ 1 แสนตันต่อปีแต่ที่ผ่านมายังเพิ่มการใช้ยางได้น้อย เพราะยังติดขัดเรื่องมาตรฐานสินค้าที่จะมีการจัดซื้อจัดจ้าง ?ซึ่งบางตัวเพิ่งมีมาตรฐานออก?มารับรอง หน่วยงานราชการต่างๆ เกรงสำนักงบประ มาณจะไม่อนุมัติ และอาจถูกสำนัก งานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบเรื่องความ?ไม่โปร่งใสอีก ทำให้เรื่องล่าช้า จากที่ครม.มีมติเห็นชอบในเรื่องนี้มาตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 แต่เริ่มจะมาขับเคลื่อนได้ในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมานี่เอง?แหล่งข่าวจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยว่า การใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ปี 2560 มีหน่วยงานราชการจาก ?9 หน่วยงานเสนอแผน โดยที่ต้องการใช้ยางสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ปริมาณยาง 2,226 ตัน มหาดไทย 1,439 ตัน และเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 1,242 ตัน ตามลำดับ รวมทุกหน่วยงาน 1.16 หมื่นตัน งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท (ดูกราฟิกประกอบ) ขณะที่ปีงบประมาณ 2561 มี 6 หน่วยงาน เสนอแผนและได้รับอนุมัติแล้ว โดยมีความต้องการใช้ยางรวม 1.1 หมื่นตัน งบประมาณ 1.15 หมื่นล้านบาท 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม ปริมาณยาง 8,351 ตัน กลาโหม 1,472 ตัน และเกษตรและสหกรณ์ 709 ตัน ตามลำดับ


?ส่วนแนวทางการแจกเงินโครงการสร้างความเข้มแข็งให้ชาวสวนยางทั้งเจ้าของสวนและคนกรีด ไร่ละ 3,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ทางบอร์ด กยท.เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2560 ได้มติไม่เห็นชอบ โครงการดังกล่าวนี้ เนื่องจากต้องใช้เงิน?จำนวนมาก และไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณได้?หรือไม่?ดร.ธีระชัย แสนแก้ว ประธานคณะกรรมการเครือ?ข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ระดับประเทศ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้น เพราะ?การแจกเงินไม่ใช่คำตอบ สิ่งที่ชาวสวน ทุกคนต้องการคือ ยางราคาดีนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มนํ้ามัน 16 จังหวัดภาคใต้ (คยป.) กล่าวว่า รู้สึกโล่งอกที่บอร์ด กยท.ไม่เห็นชอบเรื่องแจกเงิน 3,000 บาท/ไร่ เพราะหากเห็นชอบจะสร้างความแตกแยกให้กับชาวสวน?ยาง 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ขึ้นทะเบียนกับกยท.กับกลุ่มที่ไม่มีเอกสารสิทธิ



จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,319 วันที่ 3 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560