ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2017, 08:32:40 AM »


'รมช.วิวัฒน์? ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าสหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านห้วยทราย มีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 614,153 ไร่



ข่าวทั่วไป ThaiPR.net -- พุธที่ 27 ธันวาคม 2560 16:30:49 น.
 
กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและมอบนโยบาย พร้อมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานสหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านห้วยทราย จำกัด ต.นายูง อ.นายูง จ.อุดรธานี ซึ่ง จ.อุดรธานี มีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 614,153 ไร่ แบ่งเป็น 1. สถาบันเกษตรกรดำเนินธุรกิจยางพารา จำนวน 23 แห่ง มีพื้นที่ปลูกยางพารา 33,425 ไร่แยกเป็น สหกรณ์ จำนวน 21 แห่ง กลุ่มเกษตรกร จำนวน 2 แห่ง และ 2. สหกรณ์ที่เข้าเป็นแปลงใหญ่ จำนวน 10 แห่ง (แปลงใหญ่ ปี 2560)
 
สำหรับสหกรณ์กองทุนสวนยาง บ้านห้วยทราย จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี 2556 และเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2560 อยู่ระหว่างการจัดทำฐานข้อมูลปี 2561 มีแผนขับเคลื่อนโครงการ โดยจัดอบรมสมาชิก กำหนดเป้าหมายพัฒนาทั้งด้านการผลิต ลดต้นทุนและการตลาดรวมถึงการเข้าถึงสินเชื่อต้นทุนต่ำโครงการพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ สำหรับทุนที่ใช้ในการดำเนินการประมาณ 3 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. ได้รับการสนับสนุนเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ขนาดเล็ก จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 1.75 ล้านบาท แบ่งเป็น ใช้สำหรับเป็นทุนในการรวบรวมผลผลิตยางก้อนถ้วย 1 ล้านบาท และใช้สำหรับให้สมาชิกกู้ยืมในการประกอบอาชีพ7.5 แสนบาท และ 2. ใช้เป็นทุนจากภายของสหกรณ์ 3 แสนบาท
 
นอกจากนี้สหกรณ์ ยังมีจุดแข็ง คือ สมาชิกพร้อมใจจะทำยางก้อนถ้วย ทำให้ได้ยางที่มีเปอร์เซ็นยางสูง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการบริหารสหกรณ์ร่วมกับคณะกรรมการ ตลอดจนพร้อมใจเปลี่ยนมาใช้กรดฟอร์ลิกแทนกรดซัลฟิวลิกทุกราย อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบคือ สหกรณ์ไม่มีเครื่องเครปยาง (เครื่องรีดยาง) เป็นของตัวเอง ทำให้มีต้นทุนสูงในการผลิตยางเครปส่งโรงงาน อีกทั้ง ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง เนื่องจากเป็นสหกรณ์ขนาดเล็ก