ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 05, 2018, 03:59:34 PM »


3ชาติลดส่งออกยาง'ไทย-อินโด-มาเลย์'จับมือลดโควตา3.5แสนตัน



หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 5 มกราคม 2561 00:00:54 น.
 
นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า 3 ประเทศสมาชิกผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก ทั้งไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ได้มีข้อตกลงเรื่องการควบคุมการส่งออกยางพารา เพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ราคายางที่ผิดปกติและมีความผันผวน โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก จะนำข้อตกลงดังกล่าวมาดำเนินการ อย่างเคร่งครัด ภายใต้การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพาราของประเทศไทย ซึ่งมีทั้งพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542 โดยกรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง เกษตรฯ ดูแลและควบคุมปริมาณการส่งออกยางของประเทศไทยออกนอกราชอาณาจักร และระเบียบตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดปริมาณจัดสรรเนื้อยางแห้งสำหรับการส่งออก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2556 มาใช้ในช่วงระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 31 มีนาคม 2561 ทั้งนี้ มอบให้การยางแห่งประเทศไทย ประสานงานกับ ผู้ประกอบกิจการยาง เพื่อให้ทราบถึงแนวทางปฏิบัติร่วมกันตามมาตรการ AETS พร้อมทั้ง ให้เร่งดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานติดตามอย่างใกล้ชิด


ด้าน นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า รัฐบาล 3 ประเทศมีมติเห็นชอบในการประกาศมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพารา โดยมีระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2561 ซึ่งได้กำหนดการลดโควตาการส่งออกยางพาราร่วมกัน 3 ประเทศลง 350,000 ตัน ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ประเทศผู้ผลิตยางแต่ละรายควรแก้ปัญหาความสมดุลของปริมาณยางในโลกด้วยการต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศของตนเองให้มากขึ้น ไม่ว่าจะนำยางธรรมชาติไปใช้ด้านการคมนาคม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยุทโธปกรณ์ กีฬา สุขภาพ รวมถึงภาคธุรกิจ สินค้าอุปโภคบริโภคและบริการต่างๆ
 
"ในนาม ITRC มีความมั่นใจว่าการ ดำเนินการร่วมกันในมาตรการนี้ จะส่งผลให้ราคายางมีเสถียรภาพขึ้น และส่งผลดีต่อเกษตรกรรายย่อย สถาบันเกษตรกร และทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานยางพารา ให้ได้รับผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมในระยะยาวต่อไป โดยมาตรการนี้จะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดโดย ITRC และคณะกรรมการควบคุมยาง" นายธีธัช กล่าว