ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มกราคม 11, 2018, 09:45:08 PM »


ทำไมจึงจำกัดการส่งออกยางเหลือแค่ 50% เพียง 3 ชนิด คือ ยางแผ่นรมควัน ยางคอมปาวด์ และยางแท่ง STR20 แต่ไม่จำกัดการส่งออกน้ำยางข้นและยางก้อนถ้วย



สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 11 มกราคม 2561 12:09:04 น.
 
นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า อยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบหลังมีกระแสข่าวว่า มีผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไปมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทผลิตน้ำยางข้นแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา และต้องการให้ตรวจสอบว่าทำไมจึงจำกัดการส่งออกยางเหลือแค่ 50% เพียง 3 ชนิด คือ ยางแผ่นรมควัน ยางคอมปาวด์ และยางแท่ง STR20 แต่ไม่จำกัดการส่งออกน้ำยางข้นและยางก้อนถ้วย


"มีผู้บริหารระดับสูงของ กยท.ไปนั่งเป็นที่ปรึกษาของโรงงานน้ำยางข้นและทำไมจำกัดการส่งออกยางแผ่นรมควัน ยางคอมปาวด์และยางแท่ง แต่ไม่จำกัดการส่งออกน้ำยางข้นกับยางก้อนถ้วย เหมือนเปิดช่องให้การส่งออกน้ำยางข้นกับยางก้อนถ้วยซึ่งเป็นวัตถุดิบไปให้ต่างประเทศแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและทำเป็นผลิตภัณฑ์ส่งกลับมาขายเราในราคาแพงๆ แทนที่เราจะแปรรูปเพิ่มมูลค่าภายในประเทศก่อนส่งออก" นายทศพล กล่าวผ่านรายการโทรทัศน์
 
ทั้งนี้ เกษตรกรทุกเครือข่าย ได้ยื่นหนังสือให้รัฐบาลจับมือกับบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ เพื่อจำกัดการส่งออกยางทุกชนิด
 
"ที่สำคัญสิ่งที่ทำให้ราคายางไม่ขึ้นเลย...ประมาณเดือนครึ่งแล้วตั้งแต่รัฐบาลชุดใหม่ออกนโยบายมาและขอเวลา 3 เดือน นี่ผ่านมาครึ่งทางแล้ว อยากถามว่านโยบายการแก้ไขที่ออกมามันตอบโจทย์หรือยัง เพราะเราคัดค้านไปแล้วโดยเฉพาะการที่ให้โรงงานกู้ 2 หมื่นล้านบาทโดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย 3% เพื่อให้พ่อค้าดูดซับยางแท่งเข้าเก็บในสต็อก วันนี้ราคายางขยับขึ้นหรือยัง ได้ผลหรือยัง...แทนที่จะมาเสริมความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร แต่กลับไปสร้างมั่นคงให้โรงงาน สุดท้ายเงินที่ให้โรงงานกู้เพื่อดูดซับยางออกจากตลาด แต่ราคาขยับขึ้นหรือยัง เพราะฉะนั้นการที่ไม่จำกัดการส่งออกทุกชั้นยางทำให้น้ำยางข้นและยางก้อนถ้วยไหลออกจากประเทศ"นายทศพล กล่าว
 
นายทศพล กล่าวต่อว่า ต้องการให้มีการตรวจสอบและอุดรูรั่ว และอยากให้เร่งดำเนินการก่อนจะถึงฤดูการปิดกรีด ซึ่งภาคเหนือและอีสาน ฤดูปิดกรีดจะอยู่ระหว่างกลางเดือนมกราคมเป็นต้นไปและจะกลับมากรีดอีกครั้งประมาณเดือนพฤษภาคม ส่วนภาคใต้เริ่มปิดกรีดมีนาคมและเปิดกรีดปลายพฤษภาคมจนถึงต้นเดือนมิถุนายน
 
ดังนั้น ที่รัฐมนตรีขอเวลาเอาไว้ 3 เดือน จึงไม่มีประโยชน์เพราะพอครบ 3 เดือนก็ตรงกับช่วงปิดกรีด ราคายางขยับขึ้นก็ไม่มีประโยชน์ และช่วงปิดกรีดราคายางก็ขยับขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้วแต่ชาวสวนไม่ได้ประโยชน์เพราะไม่มีของจะขาย เพราะฉะนั้นการที่รัฐบาลปล่อย 2 หมื่นล้านบาทให้โรงงานซื้อเก็บเข้าสต็อก ผลประโยชน์จึงตกอยู่ที่พ่อค้า
 
"การที่รัฐบาลให้งบประมาณโรงงานมากว้านซื้อยางในราคา 40 บาท/กก. พอถึงฤดูปิดกรีดราคาขยับขึ้น โรงงานจะทำการส่งออกราคายางน่าจะขยับขึ้นไปถึง 50 บาท/กก. โรงงานก็ได้ประโยชน์อีก"นายทศพล กล่าว