ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2018, 04:04:56 PM »

"รมว.เกษตรฯ" เตรียมหารือนายกฯ "นับรอยกรีด-ยึดถ้วยยาง" แลกเงินชดเชยชะลอกรีดยาง


วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 - 16:28 น. ที่มาข่าวสด




นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วิธีดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการชะลอการกรีดยาง 3 เดือนในช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค.2561 เพื่อลดปริมาณน้ำยางออกสู่ตลาดประมาณ 2 แสนตัน โดยชาวสวนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการต้อง เอาถ้วยยางมาแลกเงินชดเชย ตอนนี้ยังไม่สรุปว่าจะเป็น 1,500-3,000 บาท/ไร่ตามที่เกษตรกรเสนอ และสิ้นสุดสัญญาค่อยมารับถ้วยกรีดยางคืน นอกจากนี้ก็จะขอความร่วมมือกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ยืนยันรอยกรีดช่วงก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
?ผมสั่งการเจ้าหน้าที่ ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาครุภัณฑ์ ที่พอจะใช้ยางพารา อย่างสนามฟุตบอลที่มีมากถึง3,000 แห่ง เสาหลักกิโลเมตร โค้งชะลอความเร็วทั่งหมดนี้ต้องมีส่วนในการนำยางพาราไปใช้ ส่วนชาวสวนยางที่ปลูกในพื้าที่ป่านั้น ให้ไปหารือเพื่อให้มีหนังสือใช้ประโยชน์ในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)?
นายกฤษฎา กล่าวว่า สำหรับการหารือร่วมกับชาวสวนยางภาคใต้ ได้รับการร้องเรียนถึงปัญหาราคายาง และมาตรการที่ภาครัฐเข้าไปแก้ปัญหายังไม่ตรงจุด เช่นการรับซื้อยางเพื่อหน่วยงานรัฐยังล่าช้า การตั้งจุดรับซื้อไม่กระจาย การยางแห่งประเทศไทย (กทย.) แจกปุ๋ยไม่ตรงกับความต้องการ ควรมีการจัดตั้งบริษัทรับซื้อยางเองแทนการร่วมทุนกันผู้ส่งออก ความเข้มงวดการชะลอกรีดยาง การปลูกยางในพื้นที่ไม่ถูกต้อง และการเก็บเงินค่าธรรมเนียมพิเศษจากการส่งออกอย่างไม่เป็นธรรม
 ทั้งนี้ การใช้ยางในหน่วยงานรัฐที่มีความล่าช้านั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะ นโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นล่าช้าเมื่อเทียบกับการใช้งบประมาณรัฐที่เริ่มต้นไปก่อนหน้าตั้งแต่วันที่ ต.ค 60 ส่งผลให้หน่วยวานรัฐบางส่วนทำการประมูลไปแล้ว แต่ปัจจุบันเมื่อนโยบายนี้มีความชัดเจน หลายหน่วยงานก็เริ่มเข้ามาใช้ยางในประเทศแล้ว ประมาณ3,000ตันแม้จะเป็นส่วนน้อยแต่เป็การเริ่มต้นที่ดีและนายกรัฐมนตรีก็ให้มีการผูกพันนโยบายดังกล่าวถึงปีงบประมาณ2562 นอกจากนี้กยท. จะตั้งจุดรับซื้อยางในโครงการนี้ให้กระจายตัวมากขึ้น รวมทั้งจะจัดทำแผนรับซื้อใหรัดกุมยิ่งขึ้น
 
 
 
  ส่วนกรณีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่าง กยท.กับ 5บริษัทผู้ส่งออกยาง รายละ200ล้านบาทนั้น ไม่ส่งผลต่อราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ รับทราบในเบื้องต้น รวมทั้งมีแนวทางแก้ไขจะให้กยท.ร่วมกับสหกรณ์ สถาบันเกษตรกร และเกษตร รวมตัวตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อรับซื้อยางแข่งกับ ภาคเอกชน แต่ยังติดขัดข้อกฏหมาย ปัจจุบันอยู่ระหว่างคิดหาแนวทางการแก้ไขและคาดว่าจะผลักดันให้ดำเนินการได้ในที่สุด ส่วนกรณีราคายางปรับต้วสูงขึ้นไม่มากนักเพราะมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยต้องพิจารณาร่วมกัน
นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าการใช้ยางของหน่วยงานรัฐนั้น ยังพอมีเวลาที่จะสามารถตั้งงบประมาณปี62 อย่างน้อย2แสนตัน ความหวังในขณะนี้คือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องร่วมมือกันกระทรวงเกษตรฯด้วย และหากสามารถดำเนินการคู่ไปกับการโค่นยางปีละ4แสนไร่ จะส่งผลใหลไกราคายางจะเปลี่ยนไป ซึ่งการดำเนินการของรัฐบาลในปัจจุบัน ราคายางได้ปรับเพิ่มขึ้นแล้วจากกิโลกรัมละ42บาทเป็น47บาท และราคาเอฟโอบีอยู่ที่กิโลกรัมละ53บาท คาดว่าจากนี้ไปราคายางจะไม่ต่ำกว่าระดับนี้