ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2018, 02:23:31 PM »

'เยี่ยม' ทุบทิ้ง บ.ร่วมทุน 5 เสือ ดันสหกรณ์ถือหุ้นเสือตัวที่ 6 


โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 24 พ.ค. 2561 07:15



นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยถึงการจัดตั้งบริษัททุนกับ 5 เสือบริษัทเอกชนวงการยางของประเทศไทย ที่ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท.ได้ทำเอาไว้ว่า ขณะนี้ได้มีการยกเลิกกิจการทั้งหมดและยุติบทบาทการทำงานทุกอย่างแล้ว และที่ประชุมบอร์ด กยท.ได้ว่างแผนที่จะตั้งบริษัทร่วมทุนฯในรูปแบบใหม่ขึ้นมาแทน โดยให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เข้ามาร่วมถือหุ้นในบริษัทเพื่อนำผลผผลิตยางของเกษตรกรไปจำหน่ายให้กับผู้ค้าในประเทศและต่างประเทศได้โดยตรง


และกลุ่มเป้าหมายหลักทีจะนำยางขาย ได้แก่ บริษัทผู้ผลิตยางล้อในตลาดต่างประเทศ จะไม่ได้มองแค่ตลาดประเทศจีนเท่านั้น แต่จะเปิดตลาดในประเทศอื่นๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยจะประสานขอความร่วมมือจากทูตพาณิชย์ที่อยู่ในประเทศต่างๆ ขยายตลาดยาง พร้อมนำกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบต่างๆมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Marketing Pormotion การทำ Road-Show หรือ Business Matching

นอกจากนี้  ได้วางแผ่นเจรจาในการแลกเปลี่ยนยางทั้งยางแผ่นรมควัน น้ำยางสดหรือยางแปรรูปกับสิค้าอื่นๆ เช่นปุ๋ย เครื่องจักรที่จะใช้ในการแปรรูปยางแบบจีทูจี โดยจะต้องเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาล หากเป็นไปได้จะมีการจัดตั้งสำนักงานขายยางในต่างประเทศด้วย เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายและเจรจาทำสัญญาในการซื้อขาย เพื่อให้ได้ยอดสั่งซื้อก่อนที่จะมารับซื้อยางจากเกษตรกรไปจำหน่าย


รักษาการผู้ว่าการ กยท.กล่าวอีกว่า การตั้งบริษัทร่วมทุนนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ด กยท.เพื่อนำเสนอให้ ครม.พิจารณาตัดสินใจอีกครั้ง เพราะยังมีปัญหาข้อกฎหมายในเรื่อง สหกรณ์ชาวสวนยาง จะสามารถเข้ามาถือหุ้นในกิจการของบริษัทได้หรือไม่ หากไม่มีปัญหา หลังจากมีการตั้งบริษัทแล้ว จะเริ่มทำการตลาดก่อนการผลิต ตามนโยบายของกระทรวงกษตรและสหกรณ์ หาลูกค้าให้ได้ก่อนและทำสัญญาให้ชัดเจนว่า ต้องการจำหน่ายเท่าไหร่ ส่งมอบเมื่อไหร่ ในราคาเท่าไหร่ โดยบริษัทร่วมทุนจะเป็นผู้กำหนดราคา ภายใต้พื้นฐานของต้นทุนการผลิตที่ชาวสวนยาอยู่ได้ บวกกำไรที่จะได้รับ ซึ่งจะช่วนให้ชาวสวนยางไม่มีความเสี่ยง แต่ส่งสำคัญสาถบันชาวสวนยางจะต้องมีความผิดชอบต่อข้อตกลง ถ้าทำผิดสัญญาจะต้องมีมาตรการลงโทษด้วยเช่นกัน