ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2018, 08:52:56 AM »ถอดใจราคายาง-ปาล์มร่วง "ระนอง"แห่โค่นทิ้งนับพันไร่
Publisher : 1 July 2018

ชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มระนอง ถอดใจโค่นสวนยางพาราและสวนปาล์มแล้วนับพันไร่ หลังไม่สามารถทนต่อการขาดทุน แถมขาดแคลนแรงงาน เปลี่ยนมาทำสวนเกษตรผสมผสาน เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านราคา
นายสันติ เปล่งแสง เกษตรกรชาวสวนยางพารา จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากปัญหาราคายางพาราที่ตกตํ่า และยังไม่มีท่าทีว่าจะปรับเพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อเกษตรชาวสวนยางพาราเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เพราะประสบปัญหาขาดทุนจากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ปัจจุบันตกกิโลกรัมละ 45 บาท แต่ราคายางพาราอยู่ในระดับที่ตํ่ากว่ามาก ทำให้ขณะนี้มีเกษตรกรหลายรายเริ่มทยอยโค่นต้นยางพาราแล้วนับพันไร่ หันไปทำเกษตรแบบผสมผสานแทน เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาราคา
นอกจากนี้พบอีกปัญหาที่รุมเร้าเกษตรกรชาวสวน คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่เคยทำงานในสวนยางพาราหันไปทำงานในเมืองหรือภาคอุตสาห กรรมแทน เพราะมั่นคงและมีรายได้ดีกว่ามาก นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรชาวสวนปาล์มหลายคนได้ตัดสินใจโค่นปาล์มแล้วเช่นกัน ในจังหวัดระนองที่พบไม่ตํ่ากว่าพันไร่ที่โค่นปาล์มแล้ว โดยส่วนหนึ่งบอกว่าจะหันมาปลูกทุเรียนแทน เพราะปัจจุบันทุเรียนเป็นผลไม้ที่ตลาดต้องการสูง และมีราคาสูง แต่ต้องใช้เวลาในการดูแลกว่าจะได้ผลผลิตเกือบ 10 ปี
ด้านสำนักงานเกษตรจังหวัดระนอง แจ้งว่าปริมาณผลผลิตปาล์มนํ้ามันปี 2560 มีจำนวน 13.5 ล้านตัน และคาดว่าปี 2561 จะมีปริมาณผลผลิต 14.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 9.0% เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลที่เพิ่มขึ้นในทุกภาคจากต้นปาล์มนํ้ามันที่ปลูกใหม่เมื่อปี 2558 ที่เริ่มให้ผลได้ในปีนี้ ประกอบกับปริมาณนํ้าฝนในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมามีปริมาณค่อนข้างมาก ทำให้โอกาสการเกิดจั่นตัวเมียเพิ่มขึ้นส่งผลให้จำนวนทะลายเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณนํ้าฝนในปี 2560 มีมากเพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตามแนวโน้มผลผลิตปาล์มนํ้ามันในเดือนธันวาคม 2560 และมกราคม 2561 จะเริ่มมีปริมาณลดลง
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการตัดปาล์มคุณภาพเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์นํ้ามัน นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยยกระดับรายได้ให้เกษตรกรได้ เนื่องจากอัตราการ สกัดนํ้ามันปาล์มทุกๆ 1% ที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรจะได้ราคาเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 0.30 บาท นอกจากนั้น การตัดปาล์มสุกที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ยังมีผลทำให้นํ้าหนักต่อทะลายปาล์มนํ้ามันเพิ่มขึ้นได้อีกไม่น้อยกว่า 5-10% หรือไม่น้อยกว่า 150-280 กิโลกรัมต่อไร่
ดังนั้นจึงขอประชาสัม พันธ์ไปถึงพี่น้องเกษตรกรชาว สวนปาล์ม ในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มคุณภาพ สังเกตจากทะลายปาล์มที่มีผลปาล์มสุก มีสีผลปาล์มสุกตรงตามพันธุ์ และมีผลปาล์มร่วงที่สุกตามธรรมชาติ 5-10 เมล็ดต่อทะลาย และหากเกษตรกรท่านใดที่จ้างตัดปาล์มนํ้ามัน ควรช่วยกำกับและควบคุมให้ผู้รับจ้างตัดปาล์มนํ้ามัน ตัดปาล์มนํ้ามันให้ได้คุณภาพดังกล่าว
หน้า 21 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,377 วันที่ 24-27 มิถุนายน 2561
Publisher : 1 July 2018

ชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มระนอง ถอดใจโค่นสวนยางพาราและสวนปาล์มแล้วนับพันไร่ หลังไม่สามารถทนต่อการขาดทุน แถมขาดแคลนแรงงาน เปลี่ยนมาทำสวนเกษตรผสมผสาน เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านราคา

นายสันติ เปล่งแสง เกษตรกรชาวสวนยางพารา จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากปัญหาราคายางพาราที่ตกตํ่า และยังไม่มีท่าทีว่าจะปรับเพิ่มขึ้นนั้น ส่งผลกระทบต่อเกษตรชาวสวนยางพาราเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เพราะประสบปัญหาขาดทุนจากต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ปัจจุบันตกกิโลกรัมละ 45 บาท แต่ราคายางพาราอยู่ในระดับที่ตํ่ากว่ามาก ทำให้ขณะนี้มีเกษตรกรหลายรายเริ่มทยอยโค่นต้นยางพาราแล้วนับพันไร่ หันไปทำเกษตรแบบผสมผสานแทน เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาราคา
นอกจากนี้พบอีกปัญหาที่รุมเร้าเกษตรกรชาวสวน คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่เคยทำงานในสวนยางพาราหันไปทำงานในเมืองหรือภาคอุตสาห กรรมแทน เพราะมั่นคงและมีรายได้ดีกว่ามาก นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรชาวสวนปาล์มหลายคนได้ตัดสินใจโค่นปาล์มแล้วเช่นกัน ในจังหวัดระนองที่พบไม่ตํ่ากว่าพันไร่ที่โค่นปาล์มแล้ว โดยส่วนหนึ่งบอกว่าจะหันมาปลูกทุเรียนแทน เพราะปัจจุบันทุเรียนเป็นผลไม้ที่ตลาดต้องการสูง และมีราคาสูง แต่ต้องใช้เวลาในการดูแลกว่าจะได้ผลผลิตเกือบ 10 ปี
ด้านสำนักงานเกษตรจังหวัดระนอง แจ้งว่าปริมาณผลผลิตปาล์มนํ้ามันปี 2560 มีจำนวน 13.5 ล้านตัน และคาดว่าปี 2561 จะมีปริมาณผลผลิต 14.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 9.0% เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลที่เพิ่มขึ้นในทุกภาคจากต้นปาล์มนํ้ามันที่ปลูกใหม่เมื่อปี 2558 ที่เริ่มให้ผลได้ในปีนี้ ประกอบกับปริมาณนํ้าฝนในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมามีปริมาณค่อนข้างมาก ทำให้โอกาสการเกิดจั่นตัวเมียเพิ่มขึ้นส่งผลให้จำนวนทะลายเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณนํ้าฝนในปี 2560 มีมากเพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตามแนวโน้มผลผลิตปาล์มนํ้ามันในเดือนธันวาคม 2560 และมกราคม 2561 จะเริ่มมีปริมาณลดลง
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการตัดปาล์มคุณภาพเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์นํ้ามัน นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยยกระดับรายได้ให้เกษตรกรได้ เนื่องจากอัตราการ สกัดนํ้ามันปาล์มทุกๆ 1% ที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรจะได้ราคาเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 0.30 บาท นอกจากนั้น การตัดปาล์มสุกที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ยังมีผลทำให้นํ้าหนักต่อทะลายปาล์มนํ้ามันเพิ่มขึ้นได้อีกไม่น้อยกว่า 5-10% หรือไม่น้อยกว่า 150-280 กิโลกรัมต่อไร่
ดังนั้นจึงขอประชาสัม พันธ์ไปถึงพี่น้องเกษตรกรชาว สวนปาล์ม ในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มคุณภาพ สังเกตจากทะลายปาล์มที่มีผลปาล์มสุก มีสีผลปาล์มสุกตรงตามพันธุ์ และมีผลปาล์มร่วงที่สุกตามธรรมชาติ 5-10 เมล็ดต่อทะลาย และหากเกษตรกรท่านใดที่จ้างตัดปาล์มนํ้ามัน ควรช่วยกำกับและควบคุมให้ผู้รับจ้างตัดปาล์มนํ้ามัน ตัดปาล์มนํ้ามันให้ได้คุณภาพดังกล่าว
หน้า 21 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,377 วันที่ 24-27 มิถุนายน 2561