ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2018, 09:38:47 PM »

ไทย-บราซิล พร้อมร่วมมือซื้อขายยางพารา-น้ำตาลมากขึ้น พร้อมสนับสนุนลงทุนใน EEC

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยผลหารือระหว่าง นางอานา ลูซี เชนทิล กาบรัล เพเทอร์เซิน เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ว่า บราซิลเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ประสงค์ที่จะมีการค้าการลงทุนกับบราซิลเพิ่มขึ้น ขอบคุณที่ฝ่ายบราซิลรับซื้อยางพาราจากประเทศไทย ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก ยางพาราไทยมีคุณภาพสูง และมีจำนวนเพียงพอแก่ความต้องการของบราซิล นายกรัฐมนตรีประสงค์ให้บราซิลส่งเสริมการใช้ยางไทยในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคในบราซิล และยินดีหากบราซิลจะมีการพิจารณาการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ กอปรกับทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะมีความร่วมมือด้านการซื้อขายน้ำตาลมากขึ้น
          ในส่วนของการลงทุนรัฐบาลไทยมีมาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ โดยได้ดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมีนักลงทุนหลายประเทศร่วมลงทุนในโครงการนี้แล้ว นโยบาย Thailand 4.0 ขับเคลื่อนนโยบายด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม ตลอดจนนโยบาย Thailand + 1 เพราะประเทศไทยต้องการให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้รับประโยชน์ และมีการพัฒนาไปพร้อมกัน ซึ่งเอกอัครราชทูตบราซิลกล่าวว่าเห็นถึงศักยภาพของไทย และพร้อมสนับสนุนให้นักลงทุนชาวบราซิลร่วมลงทุนในโครงการ EEC และโครงการอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้มีการจัดการพบปะกันระหว่างเอกชน หรือ Business matching เพื่อขยายความร่วมมือด้านการลงทุนในสาขาที่มีศัยภาพ
          นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนแม่บท ACMECS (ACMECS Master Plan) ระยะ 5 ปี (ค.ศ.2019-2023) โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม ACMECS และ ASEAN ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในปี 2562 เพื่อให้ฝ่ายบราซิลพิจารณาความร่วมมือต่อภูมิภาคนี้ต่อไป