ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2018, 07:49:55 AM »

สุดทน ! น้ำยางสด 3โล 100 บาท นัดระดมพล 1 กันยา กำหนดท่าทียื่นรัฐบาลแก้ด่วน


27 ส.ค. 2018 / 18:48 น. ที่มา SPRING NEWS NETWORK

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังนั่ง และข้อความ

นายประทบ สุขสนาน ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้  พร้อมด้วย นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และตัวแทนสถาบันเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตรัง  กล่าวว่า ปัญหาราคายางพาราที่กำลังตกต่ำ  โดยราคาน้ำยางสดเหลือประมาณกิโลกรัมละ 37 ? 38  บาท ส่วนยางแผ่นรมควันเหลือกิโลกรัมละ  42 ? 43 บาท  ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรที่ซื้อน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ประชาชนเป็นหนี้เป็นสิน ขณะที่สถาบันเกษตรกรที่รับซื้อน้ำยางสดมาแปรรูปประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักทุกแห่ง


โดยระบุในวันที่ 1 กันยายนนี้ ทางเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ จะนัดประชุมหารือร่วมกันที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีฯ เพื่อกำหนดท่าทีความเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน ทั้งปัญหาการบริหารล้มเหลวของผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) , การติดตามโครงการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐที่ล้มเหลวทั้ง 2 ครั้งติดต่อกัน นับจากปี 2560 ? 2561  จนไม่สามารถเดินหน้าโครงการได้ , ปัญหาปุ๋ยบำรุงให้แก่เจ้าของสวนผู้รับการปลูกแทน ที่ยังไม่ได้รับปุ๋ยจนเข้าปลายฤดูฝน แทนที่จะเร่งรัดการทำงานให้เกษตรกรได้รับปุ๋ย กลับสั่งการให้จ่ายเงินให้เกษตรกรไปซื้อปุ๋ยเอง ทำให้เกษตรกรมีภาระ เสี่ยงกับได้ปุ๋ยไม่มีคุณภาพ เพราะไม่มีหลักเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยที่เกษตรกรไปซื้อ   รวมทั้งปัญหาการเรียกร้องผลประโยชน์ด้วยการขึ้นเงินเดือนค่าตอบแทนให้แก่ตนเองสูงเกินไป แต่การทำงานแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรกลับไม่มีการเดินหน้า ราคายางยังคงตกต่ำต่อเนื่อง จึงนัดประชุมหารือร่วมกันในวันที่ 1 กันยายนนี้ เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลต่อไป
สถานการณ์เกษตรกรไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ก่อนหน้านี้ ชาวสวนยาง จำนวนมากโค่นต้นยางทิ้ง หันไปปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ราคาปาล์มน้ำมันราคาก็ตกต่ำอีก ทำให้ชาวสวนยาง ที่หันไปปลูกผลไม้ เช่นลองกอง  มังคุด และพืชชนิดอื่น เช่นมะนาว ก็ราคาตกต่ำทุก ๆ ตัว ทำให้ชาวภาคใต้ได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก  ชาวบ้านประกาศ ขายสวนยาง สวนปาล์ม สวนผลไม้ ที่ดิน หันไปประกอบอาชีพต่างจังหวัดกันเป็นจำนวนมาก