ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2018, 12:32:40 PM »

ชลประทานลุยถนนยางพารา โว! ปีหน้าเพิ่มใช้ 30,000 ตัน
ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า หลังการนำน้ำยางสดมาเป็นส่วนผสมทำถนน ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท จนสามารถจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่ผิดระเบียบทางราชการ มาตั้งแต่กลางปี กรมชลประทานได้นำยางพารามาใช้ทำถนนในพื้นที่ของโครงการชลประทานต่างๆ ทั่วประเทศ ล่าสุดได้ซ่อมแซมปรับปรุงถนนเส้นคันคลองสายใหญ่ฝั่งขวา บ.ทับเสลา ต.ทุ่งโพ อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี และพื้นที่ใกล้เคียงเขื่อนทับเสลา ในโครงการไทยนิยมยั่งยืน


?เนื่องจากถนนสายนี้ชำรุดไม่ได้ซ่อมบำรุงมากว่า 10 ปี การสัญจรลำบากและมีชาวบ้านได้ร้องเรียน กรมชลประทานจึงทำการซ่อมแซมถนนโดยใช้ยางพาราผสมยางมะตอย เป็นระยะทาง 7.92 กม. กว้าง 9 ม. หนา 5 ซม. สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกได้ 25 ตัน ดีกว่าเดิมที่รองรับน้ำหนักได้เพียง 8 ตันยังมีความต้านทานการเกิดร่องล้อได้ดี ทนต่อการแตกร้าวและเพิ่มความฝืดทำให้การขับขี่มีความปลอดภัยมากขึ้น ต้านทานการลื่นไถลได้ดี? ดร.ทวีศักดิ์ เผยอีกว่า การดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐของกรมชลประทาน ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 มีการปรับปรุงซ่อมแซมถนน โดยใช้ยางพาราผสมทั้งหมด 317 แห่ง ใช้น้ำยางสดไปทั้งสิ้น 3,500 ตัน และปีงบประมาณ 2562 ได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมถนนในพื้นที่โครงการชลประทานอีก 7,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้น้ำยางพารามากถึง 30,000 ตัน โดยการปรับปรุงซ่อมแซมถนนมี 2 ประเภท คือ ถนนยางพาราผสมยางมะตอย ใช้ยางพารา 5% ผสมกับยางมะตอย 95% ส่วนอีกแบบเป็นถนนยางพาราซอยซีเมนต์ เป็นการนำยางพารามาผสมกับปูนซีเมนต์และดินลูกรัง ใช้น้ำยางผสม 15-18 ตันต่อพื้นผิวถนน 1 กม. จะทำให้ได้ถนนไร้ฝุ่น แข็งแรงกว่าถนนลูกรัง ราคาถูกกว่าถนนลาดยาง และในอนาคตกรมชลประทานมีแผนนำน้ำยางดิบมาผสมเป็นตัวซ่อมแซมโครงสร้างชลประทาน รวมทั้งเป็นส่วนผสมทำคลองส่งน้ำ ใช้ผสมทำถนนชั้นซับเบส (sub-base) หรือฐานรองน้ำหนักถนน ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยาง ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง และรักษาเสถียรภาพราคายางพาราภายในประเทศได้มากขึ้น.