ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2018, 05:09:03 PM »ยุคทองของพี่น้องชาวสวนยางพารา ได้จบลงเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว กลายเป็นยุคทุกข์เข็ญเพราะราคายางพาราตกต่ำมาตลอด
จิระพงษ์ เต็มเปี่ยม
วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561, 02.00 น. แนวหน้า
ข้อเท็จจริงเรื่องยางพารา
ยุคทองของพี่น้องชาวสวนยางพารา ได้จบลงเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว กลายเป็นยุคทุกข์เข็ญเพราะราคายางพาราตกต่ำมาตลอด
ประสาลูกหลานชาวสวนยาง ก็ต้องขอบคุณ คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติ ให้ช่วยเหลือพัฒนาอาชีพเกษตรกรสวนยางไร่ละ 1,800 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ ทั่วประเทศ กับผู้ที่มีเอกสารสิทธิและคนกรีดยาง ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) กว่า 1.4 ล้านคน แยกเป็นเจ้าของสวนยาง 1,054,396 คน คนกรีดยาง 304,246 คน ในอัตราส่วน 60 : 40
ใช้งบประมาณร่วม 2 หมื่นล้าน พร้อมทั้งขอทางบริษัทผู้ส่งออกรายใหญ่ 5 แห่ง รับมาตรการพยุงราคายางไปซื้อยางจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร ในราคาน้ำยางสด 37 บาทต่อกิโลกรัม ยางก้อนถ้วย 37 บาทต่อกิโลกรัม ยางแผ่นดิบรมควัน 40 บาทต่อกิโลกรัมโดย กยท.จ่ายชดเชยให้ 2 บาทต่อกิโลกรัม ทุกผลิตภัณฑ์ยาง
เรียกว่าภาคเอกชนก็ถูกหวยไปด้วย
นโยบายที่รัฐเร่งลดสต๊อกยางด้วยการนำไปใช้ในประเทศให้มากที่สุดก็เป็นแนวทางหนึ่งที่พอเห็นแสงสว่างว่าราคายางจะขยับตัวขึ้นบ้าง
ผมมีจดหมายจากนายวิสุทธิ์ นิติยารมย์ อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ผู้เชี่ยวชาญในวงการยางและสัมผัสกับเกษตรกรชาวสวนยางมาต่อเนื่อง ขอให้ผมช่วยตีแผ่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยางพารา ด้วยความห่วงใย ดังนี้ครับ
1.ท่านรู้หรือไม่ กว่าที่ชาวสวนยางจะได้ยางมาขายสักหนึ่งแผ่นนั้นต้องใช้เวลาปลูกถึง 7 ปี แต่ละวันต้องกรีดยางในช่วงเวลาเที่ยงคืนจนถึงเช้า ในขณะที่ท่านข้าราชการ ผู้แทนฯอันทรงเกียรติ และคณะรัฐมนตรีกำลังหลับสบาย
2.กว่าที่ประเทศไทยจะผลิตยางจนส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราที่เป็นวัตถุดิบจนเป็นอันดับหนึ่งของโลกมีปริมาณมากกว่า 4 ล้านตันต่อปีนั้น ต้องใช้ เวลาถึงหนึ่งร้อยปี
3.ยางพาราได้สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายแสนล้านบาทรวมกันแล้วมากทุนสำรองของประเทศที่มีอยู่ประมาณ 200,000 ล้าน USD
4.ท่านรู้หรือไม่ ราคายางที่ตกลงเพียง 10 บาทต่อกก.นั้น หมายถึงเงินจำนวนมากถึง 40,000 ล้านบาทต่อปี ที่หายไป
5.ราคายางในปัจจุบันอยู่ที่ 3 กิโลกรัม/100 บาท เงินรายได้ของชาติหายไปกว่า 250,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ พ.ศ.2554 ที่ราคายางเฉลี่ยสูงสุดถึง 120 บาทต่อกก.
6.เรามีชาวสวนยางทั้งเป็นเจ้าของสวนยางและผู้รับจ้างกรีดมากถึง 2 ล้านครอบครัว และมีผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับยางพาราอีกหลายล้านคน เมื่อราคายางพาราตกต่ำ ย่อมส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนระดับล่างมากมาย จนเศรษฐกิจอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างไม่เคยเป็นมา
7.ที่กล่าวหาว่าเราปลูกยางจนปริมาณยางล้นตลาดเกินความต้องการ นั้นไม่จริง ตั้งแต่ผมรู้จักยางพารามาชั่วชีวิตยังไม่เคยเห็นชาวสวนยาง ถูกปฏิเสธการรับซื้อจากร้านรับซื้อยางแม้แต่เศษยางสักก้อน
8.ปริมาณการใช้ยางธรรมชาติของโลกและปริมาณการผลิตยางยังอยู่ในภาวะสมดุลคือประมาณ12.5 ล้านตันต่อปี บวกลบไม่เกิน 5%
9.สาเหตุหลักที่ราคายางตกต่ำมากในปีนี้มีอยู่ 2 ประการคือ
ก.ผู้ซื้อยางต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนมีการวางแผนที่แยบยลเอาเปรียบและเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ โดยมีปริมาณถึงเดือนละประมาณ 3 แสนตัน อำนาจการต่อรองสูง เชื่อว่าการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ก็รู้ข้อมูลแต่ยังแก้ไม่ตก นอกจากจะขายยางในสต๊อกและจัดซื้อปุ๋ย
ข.ปัญหาภายในประเทศ คือ ในช่วงนี้ปริมาณยางออกมากเนื่องจากอยู่ใช่วงหน้าหนาวยางจะออกมากเป็น 2 เท่า ของช่วงปกติทางโรงผู้ผลิตยาง(โรงงานยางแท่ง)กดราคารับซื้อยาง(โดยเฉพาะยางก้อนถ้วย) ในขณะชาวสวนยางขาดอำนาจต่อรอง ต้องพึ่งพารัฐอย่างเดียว
กลุ่มโรงงานยางผู้ส่งออกรายใหญ่ทำการขายยางไปต่างประเทศในตลาด Forward Market ส่งมอบสินค้าในรูป Longterm ยาวมากกว่า 6 เดือน เป็นจำนวนมาก ยอมรับในราคาต่ำมากเพื่อยึดตลาดและยอมเสียเปรียบบริษัทผู้ใช้ยางต่างประเทศ ทำลายราคายางในประเทศจนเสียหายยับ โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและชาวสวนยาง
10.ยางพาราไม่ใช่ปัญหาของประเทศ แต่ยางพาราคือความมั่งคั่งและเป็นทุนสำรองของประชาชนทั้งประเทศ ที่บรรพบุรุษของเราสร้างด้วยความเหนื่อยยากยิ่ง เพื่อให้ลูกหลานไทยได้ใช้อย่างไม่มีวันหมด ตราบใดที่ยังมีรถยนต์แล่นบนถนน เครื่องบินยังมีล้อ หมอต้องสวมถุงมือยางตรวจรักษาผู้ป่วย ยางพารายังอยู่คู่กับประเทศไทยต่อไป
ราคายางพารา 3 กิโลกรัมต่อ 100 บาท ยังดีกว่าตกงาน ถ้าราคายางพุ่งไปที่ 60 บาท ต่อกิโลกรัมอำนาจซื้อของเกษตรกรชาวสวนยางเพิ่มเท่าตัว ถ้าเพิ่มไปถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม เหมือนในอดีตก็จะกลายเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจแบบทวีคูณ เกษตรกรได้ประโยชน์ ธุรกิจเอกชนมีกำไร รัฐได้ภาษีเพิ่ม ได้เงินตราต่างประเทศมากกว่าเดิม
ครับ!! ก็ย้ำกันอีกครั้งว่าเป็นข้อเขียนของนายวิสุทธิ์ นิติยารมย์ เป็นข้อมูลที่นำมาบอกกล่าวกันเผื่อรัฐบาล และกยท.จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม กระนั้นก็ตาม ผมได้ตัดย่อไปบางส่วนเพราะจะสะเทือนไปถึงอีกหลายคน
จิระพงษ์ เต็มเปี่ยม
วันอาทิตย์ ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561, 02.00 น. แนวหน้า

ข้อเท็จจริงเรื่องยางพารา
ยุคทองของพี่น้องชาวสวนยางพารา ได้จบลงเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว กลายเป็นยุคทุกข์เข็ญเพราะราคายางพาราตกต่ำมาตลอด
ประสาลูกหลานชาวสวนยาง ก็ต้องขอบคุณ คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติ ให้ช่วยเหลือพัฒนาอาชีพเกษตรกรสวนยางไร่ละ 1,800 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ ทั่วประเทศ กับผู้ที่มีเอกสารสิทธิและคนกรีดยาง ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) กว่า 1.4 ล้านคน แยกเป็นเจ้าของสวนยาง 1,054,396 คน คนกรีดยาง 304,246 คน ในอัตราส่วน 60 : 40
ใช้งบประมาณร่วม 2 หมื่นล้าน พร้อมทั้งขอทางบริษัทผู้ส่งออกรายใหญ่ 5 แห่ง รับมาตรการพยุงราคายางไปซื้อยางจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร ในราคาน้ำยางสด 37 บาทต่อกิโลกรัม ยางก้อนถ้วย 37 บาทต่อกิโลกรัม ยางแผ่นดิบรมควัน 40 บาทต่อกิโลกรัมโดย กยท.จ่ายชดเชยให้ 2 บาทต่อกิโลกรัม ทุกผลิตภัณฑ์ยาง
เรียกว่าภาคเอกชนก็ถูกหวยไปด้วย
นโยบายที่รัฐเร่งลดสต๊อกยางด้วยการนำไปใช้ในประเทศให้มากที่สุดก็เป็นแนวทางหนึ่งที่พอเห็นแสงสว่างว่าราคายางจะขยับตัวขึ้นบ้าง
ผมมีจดหมายจากนายวิสุทธิ์ นิติยารมย์ อดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ผู้เชี่ยวชาญในวงการยางและสัมผัสกับเกษตรกรชาวสวนยางมาต่อเนื่อง ขอให้ผมช่วยตีแผ่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยางพารา ด้วยความห่วงใย ดังนี้ครับ
1.ท่านรู้หรือไม่ กว่าที่ชาวสวนยางจะได้ยางมาขายสักหนึ่งแผ่นนั้นต้องใช้เวลาปลูกถึง 7 ปี แต่ละวันต้องกรีดยางในช่วงเวลาเที่ยงคืนจนถึงเช้า ในขณะที่ท่านข้าราชการ ผู้แทนฯอันทรงเกียรติ และคณะรัฐมนตรีกำลังหลับสบาย
2.กว่าที่ประเทศไทยจะผลิตยางจนส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราที่เป็นวัตถุดิบจนเป็นอันดับหนึ่งของโลกมีปริมาณมากกว่า 4 ล้านตันต่อปีนั้น ต้องใช้ เวลาถึงหนึ่งร้อยปี
3.ยางพาราได้สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายแสนล้านบาทรวมกันแล้วมากทุนสำรองของประเทศที่มีอยู่ประมาณ 200,000 ล้าน USD
4.ท่านรู้หรือไม่ ราคายางที่ตกลงเพียง 10 บาทต่อกก.นั้น หมายถึงเงินจำนวนมากถึง 40,000 ล้านบาทต่อปี ที่หายไป
5.ราคายางในปัจจุบันอยู่ที่ 3 กิโลกรัม/100 บาท เงินรายได้ของชาติหายไปกว่า 250,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ พ.ศ.2554 ที่ราคายางเฉลี่ยสูงสุดถึง 120 บาทต่อกก.
6.เรามีชาวสวนยางทั้งเป็นเจ้าของสวนยางและผู้รับจ้างกรีดมากถึง 2 ล้านครอบครัว และมีผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับยางพาราอีกหลายล้านคน เมื่อราคายางพาราตกต่ำ ย่อมส่งผลต่อกำลังซื้อของประชาชนระดับล่างมากมาย จนเศรษฐกิจอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างไม่เคยเป็นมา
7.ที่กล่าวหาว่าเราปลูกยางจนปริมาณยางล้นตลาดเกินความต้องการ นั้นไม่จริง ตั้งแต่ผมรู้จักยางพารามาชั่วชีวิตยังไม่เคยเห็นชาวสวนยาง ถูกปฏิเสธการรับซื้อจากร้านรับซื้อยางแม้แต่เศษยางสักก้อน
8.ปริมาณการใช้ยางธรรมชาติของโลกและปริมาณการผลิตยางยังอยู่ในภาวะสมดุลคือประมาณ12.5 ล้านตันต่อปี บวกลบไม่เกิน 5%
9.สาเหตุหลักที่ราคายางตกต่ำมากในปีนี้มีอยู่ 2 ประการคือ
ก.ผู้ซื้อยางต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนมีการวางแผนที่แยบยลเอาเปรียบและเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ โดยมีปริมาณถึงเดือนละประมาณ 3 แสนตัน อำนาจการต่อรองสูง เชื่อว่าการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ก็รู้ข้อมูลแต่ยังแก้ไม่ตก นอกจากจะขายยางในสต๊อกและจัดซื้อปุ๋ย
ข.ปัญหาภายในประเทศ คือ ในช่วงนี้ปริมาณยางออกมากเนื่องจากอยู่ใช่วงหน้าหนาวยางจะออกมากเป็น 2 เท่า ของช่วงปกติทางโรงผู้ผลิตยาง(โรงงานยางแท่ง)กดราคารับซื้อยาง(โดยเฉพาะยางก้อนถ้วย) ในขณะชาวสวนยางขาดอำนาจต่อรอง ต้องพึ่งพารัฐอย่างเดียว
กลุ่มโรงงานยางผู้ส่งออกรายใหญ่ทำการขายยางไปต่างประเทศในตลาด Forward Market ส่งมอบสินค้าในรูป Longterm ยาวมากกว่า 6 เดือน เป็นจำนวนมาก ยอมรับในราคาต่ำมากเพื่อยึดตลาดและยอมเสียเปรียบบริษัทผู้ใช้ยางต่างประเทศ ทำลายราคายางในประเทศจนเสียหายยับ โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและชาวสวนยาง
10.ยางพาราไม่ใช่ปัญหาของประเทศ แต่ยางพาราคือความมั่งคั่งและเป็นทุนสำรองของประชาชนทั้งประเทศ ที่บรรพบุรุษของเราสร้างด้วยความเหนื่อยยากยิ่ง เพื่อให้ลูกหลานไทยได้ใช้อย่างไม่มีวันหมด ตราบใดที่ยังมีรถยนต์แล่นบนถนน เครื่องบินยังมีล้อ หมอต้องสวมถุงมือยางตรวจรักษาผู้ป่วย ยางพารายังอยู่คู่กับประเทศไทยต่อไป
ราคายางพารา 3 กิโลกรัมต่อ 100 บาท ยังดีกว่าตกงาน ถ้าราคายางพุ่งไปที่ 60 บาท ต่อกิโลกรัมอำนาจซื้อของเกษตรกรชาวสวนยางเพิ่มเท่าตัว ถ้าเพิ่มไปถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม เหมือนในอดีตก็จะกลายเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจแบบทวีคูณ เกษตรกรได้ประโยชน์ ธุรกิจเอกชนมีกำไร รัฐได้ภาษีเพิ่ม ได้เงินตราต่างประเทศมากกว่าเดิม
ครับ!! ก็ย้ำกันอีกครั้งว่าเป็นข้อเขียนของนายวิสุทธิ์ นิติยารมย์ เป็นข้อมูลที่นำมาบอกกล่าวกันเผื่อรัฐบาล และกยท.จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม กระนั้นก็ตาม ผมได้ตัดย่อไปบางส่วนเพราะจะสะเทือนไปถึงอีกหลายคน