ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2019, 10:08:38 PM »


กยท. เผยราคายางเดือนพ.ค. ขยับสูงขึ้น หลังใช้มาตรการระยะสั้น-กลาง-ยาวกระตุ้น


สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2562 14:21:34 น.



นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ราคายางในเดือนพฤษภาคม 2562 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 50 บาท/กิโลกรัมจาก 40 บาท/กิโลกรัม ตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา โดยกยท.ได้ดำเนินโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง จ่ายเงินช่วยเหลือ 1,800 บาท/ไร่ ที่มีเกษตรกรชาวสวนยางเข้าร่วมโครงการ จำนวน 820,862 ราย คิดเป็นพื้นที่ 7,838,839.96 ไร่ แบ่งเป็นเกษตรกรเจ้าของสวนยาง ผู้เช่าสวนยาง ผู้ทำสวนยาง จำนวน  747,852 ราย คนกรีดยาง  จำนวน  89,022  ราย รวมเป็นเงินที่จ่ายผ่านบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ทั้งสิ้น 12,856,858,512.52  บาท คิดเป็นร้อยละ 91.11 โดยที่เหลืออีกร้อยละ 8.89 อยู่ระหว่างการตรวจสอบสิทธิ์ในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของเกษตรกร อาทิ ชื่อ-นามสกุลผิด เลขที่เอกสารสิทธิ์ผิด หรือการเปลี่ยนแปลงเอกสารสิทธิ์ รวมถึงระบบฐานข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อน การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดของแต่ละพื้นที่ได้แร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จในเร็วๆนี้
โครงการดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการะยะสั้นในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและช่วยเหลือค่าของชีพของคนกรีดยางให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ กยท. ได้ดำเนินมาตรการระยะกลาง และระยะยาวเพื่อกระตุ้นราคายาง โดยเน้นให้มีการเพิ่มสัดส่วนการใช้ยางภายในประเทศ เช่น โครงการส่งเสริมใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ โครงการถนนยางพาราซอยด์ซีเมนต์ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร จำนวน 7,500 กิโลเมตร  คาดว่าจะสามารถดูดซับยางออกจากระบบไม่ต่ำกว่า 20% หรือประมาณ 860,000 ตันน้ำยางข้น เมื่อเทียบกับผลผลิตประเทศไทยในปี 2561 มาตรการเพิ่มแรงจูงใจเพื่อให้ผู้ประกอบการเพิ่มการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) การให้ทุนสนับสนุนผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา การลดพื้นที่ปลูกยางโดยการปลูกพืชอื่นทดแทน เป้าหมายปีละ 400,000 ไร่ นอกจากนี้ กยท. ได้มีการเข้าไปประมูลซื้อขายยางในตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างต่อเนื่อง