ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2019, 09:38:22 AM »

"อุทัย"ชงปลดฉนวนระเบิดสต็อกแสนตันผลิตหมวกยางแจกฟรี

02 Jul 2019 ฐานเศรษฐกิจ

กยท.ทุบโต๊ะผลิตหมวกยางแจกฟรีทั่วประเทศ ?อุทัย? ลั่น ก้าวสู่นวัตกรรมยางพาราสมบูรณ์แบบ โวเกษตรกรได้เรียนรู้อุตสาหกรรมก้าวแรก เล็งนำสต็อกยางกว่าแสนตันผลิต เผยโมเดลตัวอย่าง เตรียมกระจายวิสาหกิจทั่วประเทศผลิต ป้อน กยท.รับซื้อแจกชาวสวนต่อไป


การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ยังมีสต็อกยางรัฐบาล 2 ในโครงการแทรกแซงยาง ก็คือ โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง วงเงินกู้ ธ.ก.ส. 2.1 หมื่นล้าน และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง (บัพเฟอร์ฟันด์)  วงเงินกู้ 8,892.296 ล้านบาท  ปัจจุบันเหลือยางในสต็อก 1.04 แสนตัน

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์  คณะทำงานการจัดทำงบประมาณและการบริหารเงินกองทุนพัฒนายางพารา ตามมาตรา 49 (3) เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ปีนี้เป็นปีนวัตกรรมยางพารา ผลที่ประชุม (วันที่ 27 มิ.ย.) ที่ผ่านมา ซึ่งมีนายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านบริหาร และนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เป็นประธานในที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบผลิตหมวกยางแจกฟรีกับชาวสวนที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. มีพื้นที่ไม่เกิน 15 ไร่

อีกด้านหนึ่งเป็นการฝึกเกษตรกรให้ทำงานในด้านอุตสาหกรรม เพราะ กยท.จะทำโมเดลตัวอย่างผลิตหมวกยาง แล้วแจกจ่ายให้จ้างวิสาหกิจทั่วประเทศผลิตตามแบบ ควบเรียนรู้งานด้านอุตสาหกรรมยาง และ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ เป็นผลดีกับสถาบันเกษตรและชาวสวน เมื่อผลิตแล้ว กยท. รับซื้อหมด แล้วก็นำไปแจกชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียน โดยการใช้ยางในสต็อก 1.04 แสนตันมาผลิต เพราะเก็บไว้ก็มีแต่เสียค่าเช่าโกดังและค่าประกันภัยในแต่ละปีเยอะมาก ดังนั้นต้องรีบกำจัดทำลายโดยเร็ว

?ที่สำคัญนี่เป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะทำให้ชาวสวนได้เรียนรู้งานในอุตสาหกรรมยางก้าวแรก ที่จะให้เกิดการต่อยอดต่อไปได้ ไม่เช่นนั้นสต็อกยางพารา ก็ยังคาราคาซัง เป็นเหมือนระเบิดเวลา ผ่านครึ่งปีแล้ว กยท. ประกาศว่าจะเป็น "ปีนวัตกรรมยางพารา" ก็ยังไม่ได้เริ่มเลยและนี่ก็เป็นจังหวะพอพอดีที่ชาวสวนจะได้ทุกคนได้เข้าถึงอุตสาหกรรมยางอย่างเต็มรูปแบบและเป็นการเพิ่มใช้ยางในประเทศมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี