ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2019, 09:58:09 AM »ราคายางร่วงใกล้นิวโลว์รอบ 2 เดือนโจทย์ท้าทาย"เฉลิมชัย ศรีอ่อน"
05 Jul 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
กยท.กางแผนเตรียมชง รมว.เกษตรคนใหม่ ยันต้องรักษาเสถียรภาพราคายางเพื่อช่วยชาวสวน เผยบิ๊กรายใหญ่กุมตลาด ชี้ราคาขึ้น-ลง ได้ แนวโน้มราคายังรูดดิ่งลง หลังก่อนหน้านี้บีบพ่อค้าซื้อส่งมอบยางแพงขาดทุนบักโกรก ?สุนทร? แก้ทางออกตลาดอียูแบน เสนอโฉนดชุมชน 5 ล้านไร่ อุ้ม 3 แสนราย ไม่ให้ซ้ำรอยประมง

แหล่งข่าวการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ถึงสถานการณ์ยางแผ่นดิบราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา จังหวัดสงขลา ณ วันที่ 5 ก.ค.2562 ยางแผ่นดิบ ราคา 51.57 บาทต่อกิโลกรัม ก่อนหน้านี้เคยขึ้นไปแตะราคาสูงสุด 56.69 บาทต่อกิโลกรัม เช่นเดียวกับยางแผ่นรมควันรมควัน ราคา 53.75 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่เคยราคาสูงสุด 60.05 บาทต่อกิโลกรัม ต่ำสุดในรอบ 2 เดือน สาเหตุมาจากก่อนหน้านี้พ่อค้ารายใหญ่ขาดทุนหนัก เนื่องจากต้องซื้อราคายางในประเทศส่งมอบให้กับลูกค้า

ปัจจุบันได้ส่งมอบเรียบร้อยแล้ว เป็นการดึงราคากำไรขาดทุนของพ่อค้านั่นเอง เมื่อราคาแนวโน้มในลักษณะนี้ จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการที่จะรักษาเสถียรภาพราคายางที่จำเป็นจะต้องนำมาใช้ในหลายรูปแบบเพื่อช่วยเกษตรกรชาวสวนยาง กำลังทำแผนเพื่อเสนอว่าที่รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ที่จะมาดำเนินงานแก้ปัญหาราคายางพารา

สำหรับปัจจัยกดดันค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 30.40 - 30.80 บาท และราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวผันผวน เนื่องจากการผลิตน้่ามันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ที่ประชุมโอเปกจะสนับสนุนการขยายเวลาปรับลดก่าลังการผลิตออกไปอีก 9 เดือน อีกทั้งเศรษฐกิจจีนชะลอตัว จากดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน ซึ่งมาร์กิตจัดท่าร่วมกับไฉซิน อยู่ที่ระดับ 49.4 ในเดือนมิถุนายน ลดลงจากระดับ 50.2 ในเดือนก่อน ซึ่งดัชนี PMI อยู่ระดับต่่ากว่า 50 แสดงว่าเกิดภาวะหดตัว

ขณะที่นายสุนทร รักษ์รงค์ คณะทำงานพัฒนาระบบมาตรฐาน FSC บริบทประเทศไทย เผยว่า เพื่อให้การรับรองมาตรฐาน FSC สอดรับกับกฎหมายและบริบทของประเทศไทยที่มีการจัดการป่าอย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือ มีการปลูกไม้แบบยั่งยืน รัฐบาลควรมีนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (หรือปลูกไม้เศรษฐกิจ) ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี คือ 50 - 60 ล้านไร่ ซึ่งผลผลิตที่เป็นไม้และไม่ใช่ไม้จะคิดแค่ขายในประเทศคงไม่ได้ หากเพื่อการส่งออกจะนำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล นอกเหนือจากเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว การปลูกไม้เศรษฐกิจยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทยอีกด้วย

?ผมเป็น SDG ในภาคส่วนทางสังคม และมาทำหน้าที่ในฐานะเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ไม่ต้องการเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบริบทยางพาราไทยในอนาคต แบบ IUU ของวงการประมง หรือการ Boycott ปาล์มน้ำมันโดยสหภาพยุโรป(EU) ด้วยเหตุผลที่ถูกกล่าวหาว่า การปลูกปาล์มเป็นการทำลายป่าไม้ที่อินโดนีเซีย?

ดังนั้นเสนอยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนพื้นที่ป่าไม้ของพี่น้องชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 5 ล้านไร่ จำนวนกว่า 300,000 ราย โดยใช้กลไกมติ ครม.26 พ.ย.2561 เพื่อให้พี่น้องสามารถทำกินและอาศัยในพื้นที่ดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันจะนำไปสู่การทำมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน FSC ได้และต่างประเทศไม่สามารถใช้เงื่อนไขดังกล่าวมากีดกันทางการค้าในประเด็นที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมายในอนาคตได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเร่งดำเนินการตามมติ ครม.และโดยเฉพาะข้อเสนอของเกษตรกรและภาคประชาสังคมที่ต้องการ " โฉนดชุมชน "
05 Jul 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
กยท.กางแผนเตรียมชง รมว.เกษตรคนใหม่ ยันต้องรักษาเสถียรภาพราคายางเพื่อช่วยชาวสวน เผยบิ๊กรายใหญ่กุมตลาด ชี้ราคาขึ้น-ลง ได้ แนวโน้มราคายังรูดดิ่งลง หลังก่อนหน้านี้บีบพ่อค้าซื้อส่งมอบยางแพงขาดทุนบักโกรก ?สุนทร? แก้ทางออกตลาดอียูแบน เสนอโฉนดชุมชน 5 ล้านไร่ อุ้ม 3 แสนราย ไม่ให้ซ้ำรอยประมง

แหล่งข่าวการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ถึงสถานการณ์ยางแผ่นดิบราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา จังหวัดสงขลา ณ วันที่ 5 ก.ค.2562 ยางแผ่นดิบ ราคา 51.57 บาทต่อกิโลกรัม ก่อนหน้านี้เคยขึ้นไปแตะราคาสูงสุด 56.69 บาทต่อกิโลกรัม เช่นเดียวกับยางแผ่นรมควันรมควัน ราคา 53.75 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่เคยราคาสูงสุด 60.05 บาทต่อกิโลกรัม ต่ำสุดในรอบ 2 เดือน สาเหตุมาจากก่อนหน้านี้พ่อค้ารายใหญ่ขาดทุนหนัก เนื่องจากต้องซื้อราคายางในประเทศส่งมอบให้กับลูกค้า

ปัจจุบันได้ส่งมอบเรียบร้อยแล้ว เป็นการดึงราคากำไรขาดทุนของพ่อค้านั่นเอง เมื่อราคาแนวโน้มในลักษณะนี้ จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการที่จะรักษาเสถียรภาพราคายางที่จำเป็นจะต้องนำมาใช้ในหลายรูปแบบเพื่อช่วยเกษตรกรชาวสวนยาง กำลังทำแผนเพื่อเสนอว่าที่รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ที่จะมาดำเนินงานแก้ปัญหาราคายางพารา

สำหรับปัจจัยกดดันค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ที่ 30.40 - 30.80 บาท และราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวผันผวน เนื่องจากการผลิตน้่ามันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ที่ประชุมโอเปกจะสนับสนุนการขยายเวลาปรับลดก่าลังการผลิตออกไปอีก 9 เดือน อีกทั้งเศรษฐกิจจีนชะลอตัว จากดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน ซึ่งมาร์กิตจัดท่าร่วมกับไฉซิน อยู่ที่ระดับ 49.4 ในเดือนมิถุนายน ลดลงจากระดับ 50.2 ในเดือนก่อน ซึ่งดัชนี PMI อยู่ระดับต่่ากว่า 50 แสดงว่าเกิดภาวะหดตัว

ขณะที่นายสุนทร รักษ์รงค์ คณะทำงานพัฒนาระบบมาตรฐาน FSC บริบทประเทศไทย เผยว่า เพื่อให้การรับรองมาตรฐาน FSC สอดรับกับกฎหมายและบริบทของประเทศไทยที่มีการจัดการป่าอย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือ มีการปลูกไม้แบบยั่งยืน รัฐบาลควรมีนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (หรือปลูกไม้เศรษฐกิจ) ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี คือ 50 - 60 ล้านไร่ ซึ่งผลผลิตที่เป็นไม้และไม่ใช่ไม้จะคิดแค่ขายในประเทศคงไม่ได้ หากเพื่อการส่งออกจะนำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล นอกเหนือจากเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว การปลูกไม้เศรษฐกิจยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศไทยอีกด้วย

?ผมเป็น SDG ในภาคส่วนทางสังคม และมาทำหน้าที่ในฐานะเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ไม่ต้องการเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบริบทยางพาราไทยในอนาคต แบบ IUU ของวงการประมง หรือการ Boycott ปาล์มน้ำมันโดยสหภาพยุโรป(EU) ด้วยเหตุผลที่ถูกกล่าวหาว่า การปลูกปาล์มเป็นการทำลายป่าไม้ที่อินโดนีเซีย?

ดังนั้นเสนอยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อนพื้นที่ป่าไม้ของพี่น้องชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 5 ล้านไร่ จำนวนกว่า 300,000 ราย โดยใช้กลไกมติ ครม.26 พ.ย.2561 เพื่อให้พี่น้องสามารถทำกินและอาศัยในพื้นที่ดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันจะนำไปสู่การทำมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน FSC ได้และต่างประเทศไม่สามารถใช้เงื่อนไขดังกล่าวมากีดกันทางการค้าในประเด็นที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมายในอนาคตได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเร่งดำเนินการตามมติ ครม.และโดยเฉพาะข้อเสนอของเกษตรกรและภาคประชาสังคมที่ต้องการ " โฉนดชุมชน "