ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2019, 08:31:01 AM »

ยางดิ่ง 3 โล100 บิ๊กวงการหยุดซื้อ พิรุธตุนสต๊อกฟันกำไร

05 Aug 2019  ที่มา ฐานเศรษฐกิจ


 
ชาวสวนตื่นบิ๊กส่งออกยางประกาศหยุดรับซื้อ แห่เทขายทุบราคาดิ่งเหลือ 3 โล 100 วงการชี้ส่อพิรุธล่อให้เกษตรกรโวย เข้าทางรัฐออกนโยบายดันราคา รับทรัพย์ตุนสต๊อกราคาตํ่าไว้ขายราคาสูง จี้ ?ประยุทธ์? เรียกผู้ค้าคุยสกัดข่าวลือทุนจีนไล่ฮุบบริษัทยางไทย ใช้ 2 กฎหมายพาณิชย์-เกษตรฯ ประกาศราคาแนะนำ
จากกรณี 1 ใน 5 บริษัทผู้ค้าและส่งออกยางพารารายใหญ่ของไทยได้หยุดการรับซื้อขายยางทุกชนิด โดยแจ้งว่าบริษัทจะทำการรับซื้อยางได้ตามปกติในวันที่ 5 สิงหาคมเป็นต้นไปนั้น

นายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) เผยกับ ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า บริษัทอ้างว่าเป็นการปิดโรงงานเพื่อซ่อมแซม 2-3 โรงในคราวเดียวกัน มองว่ามีนัยในการทุบราคายางแผ่น?รมควัน แล้วรอให้แกนนำยางออกมาประท้วงรัฐบาลเพื่อเรียกร้องราคา แต่อีกด้านหนึ่งบริษัทอาจซื้อยางราคาตํ่าเก็บไว้เต็มสต๊อกแล้ว หากแกนนำผลีผลามออกมาเรียกร้องราคาก็เข้าทางดังสำนวน ?เตะหมูเข้าปากหมา?

 

?ปัจจุบันการผลิตยางแผ่นดิบของเกษตรกรมีน้อยมาก เรียกได้ว่าแทบไม่มีการผลิตแล้ว หากย้อนไป 10 ปี บริบทเดิมของชาวบ้านจะนำนํ้ายางมาทำยางแผ่นดิบ แต่ปัจจุบันได้เลิกไป เพราะบริษัทค้ายางเอาราคา?นํ้ายางสดมาล่อโดยให้ราคาสูงเท่ากับราคายางแผ่นดิบ แล้วใครจะไปเสียเวลาทำ ส่วนยางแผ่นรมควันก็จะทำในระบบโรงงาน ในส่วนของชาวสวนจะผ่านโรงรมควันของสหกรณ์ที่รวมกลุ่มกันทำให้มีการแข่งกันตั้งโรงงาน?กว่า 7,000 โรงงาน ปัจจุบันก็เลิกกิจการไปจำนวนมาก ที่เหลืออยู่ไม่แน่ใจว่าจะถึง 200 โรงงานหรือไม่?

ด้านนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) กล่าวว่า ขอเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เรียกผู้ค้ายางทั่วประเทศมาประชุมเพื่อขอความร่วมมือสกัดข่าวลือต่างๆ อาทิ นายทุนจีนฮุบซื้อบริษัทยางไทยไปหมดแล้ว เป็นต้น ส่งผลทำให้ต่างประเทศกดราคาให้ตํ่าลง ทั้งที่ควรจะได้ราคาสูงขึ้นจากอินโดนีเซีย เกิดโรคระบาดทำให้กรีดยางไม่ได้
 
 
 
ขณะที่มาเลเซีย ได้ลดพื้นที่ผลิตยาง ทำให้ผลผลิตหายไป 30% ส่วนไทยก็มีมรสุมฝนตกเข้ากรีดยางไม่ได้โดยเฉพาะทางภาคใต้ หากเทียบกับปีที่แล้วยางปริมาณน้อยมาก แต่ทำไมราคายางตกตํ่ามาก ทั้งนี้ควรใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ของกระทรวงพาณิชย์ และพ.ร.บ. ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ของกระทรวงเกษตรฯ ประกาศราคาแนะนำไม่ให้ผู้ค้ากดราคาชาวสวนยางตํ่ากว่าต้นทุน อีกด้านนโยบายอะไรที่พรรคร่วมรัฐบาลหาเสียงไว้ ชาวสวนยางไม่ลืม (ยางไม่ตํ่า 60 บาท/กก.) ขอให้เร่งดำเนินการด้วย
?วันนี้ (1 ส.ค.62) ราคายางแผ่นดิบที่เกษตรกรขายได้ตก 3 กิโล 100 ผลพวงราคายางตกตํ่าต่อเนื่องทำให้ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ เพราะหวั่นเป็นหนี้เอ็นพีแอล ผู้ประกอบการขนาดกลางที่มีผลกระทบกับเกษตรกรโดยตรงกู้ไม่ได้เลย รัฐบาลต้องเร่งหาแนวทางเสริมสภาพคล่องให้สามารถกลับมาซื้อยางจากชาวสวนได้?
แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการยาง เผยว่า การที่หนึ่งในบริษัทผู้ค้ายางรายใหญ่ประกาศหยุดรับยางทุกชนิดเข้าโรงงาน อ้างเหตุผลผู้ตรวจสอบบัญชีบริษัทจะมีการเช็กสต๊อกกลางปี (ปลายเดือนก.ค.-ส.ค.) มองว่าผิดปกติเพราะเวลานี้ไม่ใช่ช่วงกลางปี รวมทั้งได้ขยายเวลารับซื้อเป็น 2 ช่วง ประจวบกับมีข่าวว่ามีนายทุนจีนจะเทกโอเวอร์บริษัทดังกล่าวด้วยส่งผลทำให้ชาวสวนตื่นตระหนกเกรงจะไม่มีที่ขายยาง จึงนำยางออกมาเทขายทำให้ราคาตก
?บริษัทนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยชื่อได้ แต่เป็นเบอร์ 1 ยางไทยในอดีต เป็นบริษัทที่ซื้อยางให้ราคาสูง สมัยก่อนเวลาทั่วโลกพูดถึงยักษ์ใหญ่เบอร์ 1 บริษัทนี้จะได้รับการกล่าวชื่อในลำดับแรก?

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,493 วันที่ 4-7 สิงหาคม 2562