ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กันยายน 25, 2019, 10:14:38 PM »"ยาง" ระส่ำเวียดนามไล่บี้แย่งตลาดกระจุย!!
24 Sep 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
8 เดือนเวียดนามเบียดยางไทย ส่งออกเผยยางไทยแพงต่างกันถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทเป็นตัวแปรสำคัญ ส่งผลทำให้คู่ค่าหันไปซื้อก่อนจนกว่าของหมด ขณะที่ความต้องการโลกชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ?ถาวร? ฟันธงราคายางในประเทศไม่มีวันขึ้นเพราะพ่อค้าไปขายล่วงหน้า 1 ปี
ดร.ปรีดี ลีลาเศรษฐวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรนด์ รับเบอร์ จำกัด เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์ยางพาราของไทยส่งออกรวม 8 เดือน ปี 2562 จำนวน 2.96 ล้านตันลดลง 3.52 แสนตันหรือคิดเป็น 12% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้านี้ ถามว่าสงครามการค้าโลกระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนมีผลหรือไม่ ก็อาจจะผลมีทางอ้อมต่อนักลงทุน โดยตลาดจะแบ่งเป็น 2 ส่วนก็คือตลาดกระดาษที่ซื้อขายล่วงหน้า จะเล่นกับข่าวในอนาคตเป็นหลัก ส่วนตลาดซื้อขายจริงจะเน้นปัจจุบันเป็นหลัก ต้องยอมรับว่าไทยได้รับผลกระทบกับตลาดกระดาษเอาความวิตกในอนาคตมาเป็นตัวตั้งก็กดดันทำให้การซื้อขายลดลง
?ตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ยังไม่ส่งผลกระทบขนาดนี้เมื่อเทียบกับ 2 เหตุการณ์ในอดีต ดังนั้นที่ไทยมีการส่งออกลดลงอาจจะเพราะความต้องการของโลกเป็นบวกแต่ลดลงขณะที่ซัพพลายโลกติดลบ อาจจะเป็นแต่ละประเทศโค่นยางเพิ่มขึ้น ประกอบคู่ค่าหันไปซื้อคู่แข่ง (เวียดนาม) เพิ่มขึ้นทำให้หันมาซื้อประเทศไทยน้อยลง"
เมื่อมาดูตัวเลขการส่งออก 4 เดือนของโลก (ม.ค.-เม.ย.62) ภาพรวมการส่งออกลดลง 5% โดยที่ไทยส่งออกลดลงสูงสุด 17.7 % ขณะที่เวียดนามส่งออกเพิ่ม 17.3% เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ส่งออกลดลง 3% ขณะที่มาเลเซียส่งออกเพิ่ม 12.1%
ดร.ปรีดี กล่าวถึงปัจจัยสำคัญก็คือยังมีสวนยางที่ยังไม่เปิดกรีดจำนวนมากอยู่ตามทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย ไทยบางส่วน อินเดีย จีน มาเลเซีย ทำไมยังไม่เปิดกรีด หรือไม่โค่นทิ้งก็ไม่เข้าใจ หรือข้อมูลไม่อัพเดทให้เป็นปัจจุบันก็ไม่ทราบ ยังเป็นตัวกดดันที่ทำให้โลกมั่นใจว่ายังไม่ขาดแคลน แล้วราคายางปัจจุบันไม่มีแรงจูงใจให้คนกรีดยางก็อาจจะเป็นได้ เชื่อว่าเมื่อราคายางดีขึ้นจะกลับมากรีดยางแน่นอน
ด้านนายวรเทพ วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการ บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป ผู้ผลิตและส่งออกน้ำยางข้นรายใหญ่ของไทย กล่าวว่า ในส่วนธุรกิจน้ำยางข้นการส่งออกไม่ได้ลดลง อาทิ ยางยืด ยังมีโอกาสโตอยู่ ส่วนถุงมือยางลดลงเล็กน้อย เป็นต้น ส่วนยางที่มีการใช้ลดลง ก็คือ ยางรถยนต์ เพราะไปเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจโลก และมีปัญหาสงครามการค้าจีนกับสหรัฐอเมริกา ขณะที่จีน ปริมาณการใช้ก็ลดลงมาก เพราะฉะนั้นในผลิตภัณฑ์ที่ทำอุตสาหกรรมรถยนต์ส่งไปผลิตน้อยลง
?ประกอบกับราคาวัตถุดิบยางเมื่อเทียบกับราคาเอฟโอบีของไทย ราคาแพงกว่าเวียดนาม 100-200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันและแพงกว่ายางจีน 100 ดอลลาร์สหรัฐ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่ไทยเสียตลาดให้กับเวียดนาม ส่วนกัมพูชา แอฟริกา เริ่มมียางเปิดกรีดแล้วหลายประเทศก็ได้หันมาแข่งกับไทย จึงทำให้โดนแย่งลูกค้าในส่วนนี้ไป แล้วที่ทำให้ไทยราคาสูงลิ่วก็คือค่าเงินบาทแข็งมาก?
นายวรเทพ กล่าวว่า กลุ่มบริษัทที่ส่งออกน้ำยางข้นปริมาณไม่ได้ลดลง เพียงแค่กำไรลดลงเท่านั้นเอง เพราะขาดทุนค่าเงินบาท ส่วนอุตสาหกรรมยางแผ่น และยางแท่งน่าจะเผชิญอุตสาหกรรมการใช้ที่รถลง เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์ความต้องการโลกลดลง?
ขณะที่ ดร.ถาวร เรืองวรุณวัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท ถาวรอุตสาหกรรมยางพารา (1982) จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์ราคายางในประเทศแนวโน้มถึงสิ้นปี 2562 ปี จะส่งผลกระทบต่อชาวสวนยางในประเทศไม่มีวันที่ราคายางจะขึ้น ไม่ใช่เพราะสงครามการค้าโลกอย่างที่กล่าวอ้างพ่อค้ายังขายได้ปกติ แต่ที่ราคาไม่ขึ้นเพราะไปขายล่วงหน้าเป็นปี ดังนั้นราคายางในประเทศจะทรงอย่างนี้ไปตลอดทั้งปี
24 Sep 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
8 เดือนเวียดนามเบียดยางไทย ส่งออกเผยยางไทยแพงต่างกันถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าเงินบาทเป็นตัวแปรสำคัญ ส่งผลทำให้คู่ค่าหันไปซื้อก่อนจนกว่าของหมด ขณะที่ความต้องการโลกชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ?ถาวร? ฟันธงราคายางในประเทศไม่มีวันขึ้นเพราะพ่อค้าไปขายล่วงหน้า 1 ปี
ดร.ปรีดี ลีลาเศรษฐวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกรนด์ รับเบอร์ จำกัด เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์ยางพาราของไทยส่งออกรวม 8 เดือน ปี 2562 จำนวน 2.96 ล้านตันลดลง 3.52 แสนตันหรือคิดเป็น 12% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้านี้ ถามว่าสงครามการค้าโลกระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนมีผลหรือไม่ ก็อาจจะผลมีทางอ้อมต่อนักลงทุน โดยตลาดจะแบ่งเป็น 2 ส่วนก็คือตลาดกระดาษที่ซื้อขายล่วงหน้า จะเล่นกับข่าวในอนาคตเป็นหลัก ส่วนตลาดซื้อขายจริงจะเน้นปัจจุบันเป็นหลัก ต้องยอมรับว่าไทยได้รับผลกระทบกับตลาดกระดาษเอาความวิตกในอนาคตมาเป็นตัวตั้งก็กดดันทำให้การซื้อขายลดลง
?ตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง และวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ยังไม่ส่งผลกระทบขนาดนี้เมื่อเทียบกับ 2 เหตุการณ์ในอดีต ดังนั้นที่ไทยมีการส่งออกลดลงอาจจะเพราะความต้องการของโลกเป็นบวกแต่ลดลงขณะที่ซัพพลายโลกติดลบ อาจจะเป็นแต่ละประเทศโค่นยางเพิ่มขึ้น ประกอบคู่ค่าหันไปซื้อคู่แข่ง (เวียดนาม) เพิ่มขึ้นทำให้หันมาซื้อประเทศไทยน้อยลง"
เมื่อมาดูตัวเลขการส่งออก 4 เดือนของโลก (ม.ค.-เม.ย.62) ภาพรวมการส่งออกลดลง 5% โดยที่ไทยส่งออกลดลงสูงสุด 17.7 % ขณะที่เวียดนามส่งออกเพิ่ม 17.3% เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ส่งออกลดลง 3% ขณะที่มาเลเซียส่งออกเพิ่ม 12.1%
ดร.ปรีดี กล่าวถึงปัจจัยสำคัญก็คือยังมีสวนยางที่ยังไม่เปิดกรีดจำนวนมากอยู่ตามทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย ไทยบางส่วน อินเดีย จีน มาเลเซีย ทำไมยังไม่เปิดกรีด หรือไม่โค่นทิ้งก็ไม่เข้าใจ หรือข้อมูลไม่อัพเดทให้เป็นปัจจุบันก็ไม่ทราบ ยังเป็นตัวกดดันที่ทำให้โลกมั่นใจว่ายังไม่ขาดแคลน แล้วราคายางปัจจุบันไม่มีแรงจูงใจให้คนกรีดยางก็อาจจะเป็นได้ เชื่อว่าเมื่อราคายางดีขึ้นจะกลับมากรีดยางแน่นอน
ด้านนายวรเทพ วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการ บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป ผู้ผลิตและส่งออกน้ำยางข้นรายใหญ่ของไทย กล่าวว่า ในส่วนธุรกิจน้ำยางข้นการส่งออกไม่ได้ลดลง อาทิ ยางยืด ยังมีโอกาสโตอยู่ ส่วนถุงมือยางลดลงเล็กน้อย เป็นต้น ส่วนยางที่มีการใช้ลดลง ก็คือ ยางรถยนต์ เพราะไปเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจโลก และมีปัญหาสงครามการค้าจีนกับสหรัฐอเมริกา ขณะที่จีน ปริมาณการใช้ก็ลดลงมาก เพราะฉะนั้นในผลิตภัณฑ์ที่ทำอุตสาหกรรมรถยนต์ส่งไปผลิตน้อยลง
?ประกอบกับราคาวัตถุดิบยางเมื่อเทียบกับราคาเอฟโอบีของไทย ราคาแพงกว่าเวียดนาม 100-200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันและแพงกว่ายางจีน 100 ดอลลาร์สหรัฐ เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกใจที่ไทยเสียตลาดให้กับเวียดนาม ส่วนกัมพูชา แอฟริกา เริ่มมียางเปิดกรีดแล้วหลายประเทศก็ได้หันมาแข่งกับไทย จึงทำให้โดนแย่งลูกค้าในส่วนนี้ไป แล้วที่ทำให้ไทยราคาสูงลิ่วก็คือค่าเงินบาทแข็งมาก?
นายวรเทพ กล่าวว่า กลุ่มบริษัทที่ส่งออกน้ำยางข้นปริมาณไม่ได้ลดลง เพียงแค่กำไรลดลงเท่านั้นเอง เพราะขาดทุนค่าเงินบาท ส่วนอุตสาหกรรมยางแผ่น และยางแท่งน่าจะเผชิญอุตสาหกรรมการใช้ที่รถลง เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์ความต้องการโลกลดลง?
ขณะที่ ดร.ถาวร เรืองวรุณวัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท ถาวรอุตสาหกรรมยางพารา (1982) จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์ราคายางในประเทศแนวโน้มถึงสิ้นปี 2562 ปี จะส่งผลกระทบต่อชาวสวนยางในประเทศไม่มีวันที่ราคายางจะขึ้น ไม่ใช่เพราะสงครามการค้าโลกอย่างที่กล่าวอ้างพ่อค้ายังขายได้ปกติ แต่ที่ราคาไม่ขึ้นเพราะไปขายล่วงหน้าเป็นปี ดังนั้นราคายางในประเทศจะทรงอย่างนี้ไปตลอดทั้งปี