ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2019, 09:05:56 AM »

จดหมายเปิดผนึก สภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สคยท.)

17 ตุลาคม 2562

เรียน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ปัญหาราคายางตกต่ำในปัจจุบัน นอกจากเหตุผล ค่าเงินบาทแข็ง เศรษฐกิจโลกย่ำแย่ สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ การหยุดซื้อยางเนื่องจากวันชาติจีนที่ผ่านมา ประเทศเวียดนามลดราคายางเพื่อเป็นคู่แข่งกับไทย และปัจจัยอื่นๆ


ยังมีปัจจัยหลักคือ ที่ผ่านมาในปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลไม่มีมาตรการผลักดันราคายางอย่างจริงจัง โดยเฉพาะนโยบายการเพิ่มการใช้ยางในประเทศ ด้วยการทำถนนยางพารา ทั้งถนนพาราแอสฟัลติกคอนกรีต และถนนพาราซอล์ยซีเมนต์ หรือถนนดินยางพารา ทำให้พ่อค้ากดราคารับซื้อยางได้โดยง่าย


แม้รัฐบาลจะมีมติ ครม.ให้ทำถนนพาราซอล์ยซีเมนต์ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ระยะทาง 75,000 กิโลเมตร ซึ่งจะใช้ยาง(น้ำหนักแห้ง)ถึง 300,000 ตัน แต่ผลปรากฎว่าหน่วยงานของรัฐสามารถทำถนนดินยางพาราได้เพียงนิดเดียว ไม่มากพอที่จะดูดยางออกจากระบบ เพื่อผลักดันให้ราคายางสูงขึ้นได้


ดังนั้นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณางบประมาณรายจ่าย ปี พ.ศ.2563 จึงเรียนไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน กรุณาอภิปรายสนุนข้อเสนอของสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้รัฐบาลบรรจุแผนการดำเนินการและงบประมาณปี 2563 เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำดังนี้
 
ข้อเสนอ
1.รัฐบาลต้องเพิ่มการใช้ยางในประเทศให้ถึง 1 ล้านตันภายในปี 2563 ด้วยการทำถนนยางพารา และการทำอุปกรณ์จราจร โดยกระทรวงคมนาคม และการทำถนนท้องถิ่น โดยกระทรวงมหาดไทย การทำอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กปูพื้นด้วยยางพาราของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการใช้ยางหน่วยงานของรัฐอื่นๆ


2.ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์บังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 อย่างเคร่งครัด เพื่อตรวจสต๊อคและควบคุมปริมาณการส่งออกยางของผู้ประกอบกิจการยาง


3.ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ 300,000 ราย ในพื้นที่ 5 ล้านไร่ โดยใช้การขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืนเป็นเครื่องมือและกลไก เพื่อเปลี่ยนสวนยางเชิงเดี่ยวให้เป็นป่ายางที่มีสมดุลนิเวศและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ


โดยให้เกษตรกรชาวสวนยางกลุ่มนี้ ได้รับสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามกฎหมาย ภายใต้มติ ครม.26 พฤศจิกายน 2561 ด้วยวิธีการลดจำนวนต้นยางลงครึ่งหนึ่ง แล้วปลูกเสริมด้วยต้นไม้ยืนต้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ ปริมาณยาง(supply) ลดลงเกือบ 500,000 ตัน โดยรัฐบาลไม่ต้องใช้งบประมาณแม้แต่บาทเดียว และจะช่วยป้องกันการกีดกันทางการค้าน้ำยางและไม้ยางจากต่างประเทศในอนาคต  ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ยางพาราและไม้ยางถูกกดราคาให้ต่ำลง กรณีไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน


4.ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อสนันสนุนการปลูกแทน ตามมาตรา 49(2) พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย กรณีการปลูกแทนแบบ 5 เพิ่มเติมอีก 10,000 บาทต่อไร่ (ตามกฎหมาย กยท.จ่ายเงินปลูกแทนอยู่แล้ว ไร่ละ 16,000 บาท) ปีละ 400,000 ไร่ เป็นระยะเวลา 7 ปี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวสวนยางเปลี่ยนสวนยางเชิงเดี่ยวเป็นการทำสวนยางแบบผสมผสาน หรือการทำสวนยางยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายสวนยางยั่งยืนในพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์  จำนวน 2.8 ล้านไร่


5.ให้รัฐบาลจัดทำยุทธศาสตร์การแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่าและการส่งออก โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยางของโลก


จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา


สุนทร รักษ์รงค์
เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สคยท.)