ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2021, 07:58:52 AM »


จีนเปลี่ยนรูปแบบซื้อขายยาง

สะ-เล-เต
3 ก.พ. 2564 05:01 น.

ติดตามข่าวยางได้>>>

ไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้ายางพาราไปยังจีนมากที่สุด โดยมีเมืองชิงต่าว มณฑลซานตง เป็นเมืองที่นำเข้ายางพารา และผลิตภัณฑ์ยางพารา มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก เพราะที่นี่เป็นศูนย์กลางการผลิตยางรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน

การซื้อขายจะเป็นรูปแบบที่ผู้นำเข้าจีน จะติดต่อกับผู้ส่งออกโดยตรง และสั่งซื้อเพื่อนำเข้าสินค้าเข้าประเทศ แล้วจึงทำการขนส่งและส่งมอบสินค้า ณ ท่าเรือของจีน

แต่ปัจจุบันมีรายงานจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว รูปแบบการค้ากำลังเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

จากเดิมเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลจีนจัดตั้งเขตปลอดภาษี (Free Trade Zone) ณ บริเวณท่าเรือของจีน แล้วให้ผู้นำเข้าจีนได้เลือกซื้อยางพาราจากเขตปลอดภาษีได้เลย โดยจุดจำหน่ายและจุดรับสินค้าเป็นจุดเดียวกัน

เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก ผู้นำเข้าจีนได้เห็นสินค้าทันที ทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อคุณภาพสินค้า ได้รับสินค้ารวดเร็วขึ้น จึงได้รับความนิยมจากผู้นำเข้าจีนมาก

สำหรับการซื้อขายยางพาราในเขตปลอดภาษี มีด้วยกัน 2 รูปแบบ

1.ผู้ส่งออกฝากยางพาราไว้จำหน่าย ณ คลังสินค้า โดยอาจจะดำเนินการโดยผู้ส่งออกโดยตรง หรือตัวแทนบุคคลที่ 3 (Third Party) ที่ทำหน้าที่จัดการแทนผู้ส่งออก

2.ผู้ส่งออกจัดแสดงสินค้ายางพาราขนาดย่อม (Mini Exhibition) ณ คลังสินค้า ร่วมกับผู้ให้บริการคลังสินค้า เพื่อดึงดูดผู้นำเข้ายางพาราในพื้นที่ ให้เข้ามาเลือกซื้อ และสอบถามข้อมูลได้โดยตรง

ทั้ง 2 รูปแบบอยู่ภายใต้เงื่อนไข ต้องเป็นการดำเนินงาน ณ คลังสินค้าในเขตปลอดภาษีบริเวณท่าเรือ และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลา และปริมาณของสินค้าที่ต้องการส่งออก

ฉะนั้นผู้ส่งออกที่ต้องการเจาะตลาดยางพาราจีน ควรศึกษาการซื้อขายยางพารารูปแบบใหม่ แทนการซื้อขายแบบเดิมๆ เพราะจะเป็นโอกาสใหม่ ทำให้การซื้อขายยางพาราขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และทำให้ไทยส่งออกยางพาราเข้าสู่ตลาดจีนได้มากขึ้น อันจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยางทั้งระบบ.

สะ?เล?เต