ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 22, 2015, 02:29:30 PM »เร่งชงข้อมูลผ่าวิกฤติยางถึงรบ.สกย.เล็งรื้อระเบียบหนุนทำสวนผสมผสาน
22เม.ย.58เร่งชงข้อมูลผ่าวิกฤติยางถึงรบ.สกย.เล็งรื้อระเบียบหนุนทำสวนผสมผสาน
นายเชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ในระหว่างการจัดงานวันยางพาราแห่งชาติที่ จ.ตรัง เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา สกย.ได้จัดการเสวนาเรื่อง "ฝ่าวิกฤติยางพารา พัฒนาสู่ความยั่งยืน" ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องกับวงการยางพาราไทย ทั้งนักวิชาการ เอกชน สถานบันเกษตรกร เข้าร่วมกว่า 500 คน ทำให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายที่เป็นประโยชน์ในการนำไปเป็นข้อมูลเพื่อ กำหนดยุทธศาสตร์หรือวางนโยบายพัฒนายางพาราของประเทศ ปี 2558/2559
โดยในส่วนของนักวิชาการ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปริมาณยางที่ใช้ในประเทศยังมีการใช้น้อยเพียงร้อยละ 14 ของปริมาณยางทั้งหมด ที่เหลือส่งออกขายในตลาดต่างประเทศ ทำให้ต่างชาติเป็นผู้กำหนดราคา ดังนั้น หากต้องการให้ราคายางของไทยมีความเสถียรภาพ และมั่นคงมากขึ้น จะต้องมียุทธศาสตร์เพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้เพิ่มขึ้นด้วย ในการกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนายางพาราของรัฐบาล"
สำหรับภาคเอกชน ได้ให้ความเห็น ว่า ราคายางนั้นขึ้น อยู่กับความต้องการของตลาดกับปริมาณ การผลิต หรือ Demand กับ Supply ต้องมีความสมดุลกัน แต่ปัจจุบันปริมาณของยางมีมากกว่าความต้องการในการใช้ยาง ทำให้ราคาตกต่ำ ซึ่งผลผลิตยางของไทยส่วนใหญ่จะส่งไป ขายตลาดประเทศจีนเป็นหลัก ในขณะที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวทำให้ปริมาณความต้องการใช้ยางลดลง การซื้อยางของตลาดจีนจึงลดลงไปด้วย ประกอบกับประเทศจีนเอง ได้ปลูกยางพาราในประเทศบริเวณมณฑลยูนาน และยังได้เข้ามาลงทุนทำสวนยางพาราที่ลาวและกัมพูชา ดังนั้นอนาคตตลาดยางพาราของไทยจะพึ่งตลาดจีนเพียงตลาดเดียวไม่ได้ จะต้องวางยุทธศาสตร์ในการขยายตลาดส่งออกไปยังตลาดประเทศใหม่ๆ โดยเฉพาะตลาดยุโรปด้วย
ส่วนเกษตรกร แสดงความคิดเห็นว่า การทำสวนยางพาราในอนาคต ถ้าจะให้ยั่งยืนจะปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียว หรือปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยวไม่ได้แล้ว ต้องปลูกพืชผสมผสาน หลากหลายชนิดภายในสวนยาง โดยมียางพาราเป็นพืชหลัก ดังนั้นในการกำหนดยุทธศาสตร์ รัฐบาลจะต้องกำหนดมาตรการส่งเสริมการทำสวนยางพาราแบบผสมผสาน ตามแนว พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นายเชาวน์กล่าวต่อว่า หลังจากการเสวนาในครั้งนี้ สกย.จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดมาสรุปเป็นข้อมูลส่งให้รัฐบาล เพื่อจัดทำแผนพัฒนายางพาราของไทยทั้งระบบ แต่สิ่งไหนที่สามารถทำได้เลย สกย.ก็จะดำเนินการแก้ไขระเบียบทันที เช่น การแก้ไขระเบียบให้ทันสถานการณ์ โดยเฉพาะการให้ทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จากที่เคยกำหนดให้ปลูกยางพาราไร่ละ 70-80 ต้น เหลือเพียงไร่ละ 40 ต้น โดยยังได้รับทุนสงเคราะห์อัตราเดิม คือ ไร่ละ 16,000 บาท เพื่อเกื้อต่อการทำสวนยางแบบผสมผสาน บรรยายใต้ภาพ เชาว์ ทรงอาวุธ
แนวหน้า (Th)
22เม.ย.58เร่งชงข้อมูลผ่าวิกฤติยางถึงรบ.สกย.เล็งรื้อระเบียบหนุนทำสวนผสมผสาน
นายเชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ในระหว่างการจัดงานวันยางพาราแห่งชาติที่ จ.ตรัง เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา สกย.ได้จัดการเสวนาเรื่อง "ฝ่าวิกฤติยางพารา พัฒนาสู่ความยั่งยืน" ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องกับวงการยางพาราไทย ทั้งนักวิชาการ เอกชน สถานบันเกษตรกร เข้าร่วมกว่า 500 คน ทำให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายที่เป็นประโยชน์ในการนำไปเป็นข้อมูลเพื่อ กำหนดยุทธศาสตร์หรือวางนโยบายพัฒนายางพาราของประเทศ ปี 2558/2559
โดยในส่วนของนักวิชาการ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปริมาณยางที่ใช้ในประเทศยังมีการใช้น้อยเพียงร้อยละ 14 ของปริมาณยางทั้งหมด ที่เหลือส่งออกขายในตลาดต่างประเทศ ทำให้ต่างชาติเป็นผู้กำหนดราคา ดังนั้น หากต้องการให้ราคายางของไทยมีความเสถียรภาพ และมั่นคงมากขึ้น จะต้องมียุทธศาสตร์เพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศให้เพิ่มขึ้นด้วย ในการกำหนดยุทธศาสตร์พัฒนายางพาราของรัฐบาล"
สำหรับภาคเอกชน ได้ให้ความเห็น ว่า ราคายางนั้นขึ้น อยู่กับความต้องการของตลาดกับปริมาณ การผลิต หรือ Demand กับ Supply ต้องมีความสมดุลกัน แต่ปัจจุบันปริมาณของยางมีมากกว่าความต้องการในการใช้ยาง ทำให้ราคาตกต่ำ ซึ่งผลผลิตยางของไทยส่วนใหญ่จะส่งไป ขายตลาดประเทศจีนเป็นหลัก ในขณะที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวทำให้ปริมาณความต้องการใช้ยางลดลง การซื้อยางของตลาดจีนจึงลดลงไปด้วย ประกอบกับประเทศจีนเอง ได้ปลูกยางพาราในประเทศบริเวณมณฑลยูนาน และยังได้เข้ามาลงทุนทำสวนยางพาราที่ลาวและกัมพูชา ดังนั้นอนาคตตลาดยางพาราของไทยจะพึ่งตลาดจีนเพียงตลาดเดียวไม่ได้ จะต้องวางยุทธศาสตร์ในการขยายตลาดส่งออกไปยังตลาดประเทศใหม่ๆ โดยเฉพาะตลาดยุโรปด้วย
ส่วนเกษตรกร แสดงความคิดเห็นว่า การทำสวนยางพาราในอนาคต ถ้าจะให้ยั่งยืนจะปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียว หรือปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยวไม่ได้แล้ว ต้องปลูกพืชผสมผสาน หลากหลายชนิดภายในสวนยาง โดยมียางพาราเป็นพืชหลัก ดังนั้นในการกำหนดยุทธศาสตร์ รัฐบาลจะต้องกำหนดมาตรการส่งเสริมการทำสวนยางพาราแบบผสมผสาน ตามแนว พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นายเชาวน์กล่าวต่อว่า หลังจากการเสวนาในครั้งนี้ สกย.จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดมาสรุปเป็นข้อมูลส่งให้รัฐบาล เพื่อจัดทำแผนพัฒนายางพาราของไทยทั้งระบบ แต่สิ่งไหนที่สามารถทำได้เลย สกย.ก็จะดำเนินการแก้ไขระเบียบทันที เช่น การแก้ไขระเบียบให้ทันสถานการณ์ โดยเฉพาะการให้ทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จากที่เคยกำหนดให้ปลูกยางพาราไร่ละ 70-80 ต้น เหลือเพียงไร่ละ 40 ต้น โดยยังได้รับทุนสงเคราะห์อัตราเดิม คือ ไร่ละ 16,000 บาท เพื่อเกื้อต่อการทำสวนยางแบบผสมผสาน บรรยายใต้ภาพ เชาว์ ทรงอาวุธ
แนวหน้า (Th)