ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 28, 2015, 12:39:32 PM »

ปัญหาชาวสวนยางแต่ละภาคแตกต่างกันอย่างไร...ทำไมถึงใช้ตำรายาผีบอกสูตรเดียวแก้ไม่ได้

โดย ชมชื่น ชูช่อ 27 เม.ย. 2558 05:01

 


 
 ?การแก้ปัญหาให้ชาวสวนยางพาราวิธีเดียว นำไปใช้ทั้งประเทศจะไม่สำเร็จ เพราะแต่ละภาคมีความแตกต่างกัน และการนำวิธีการเดียว มาเหมารวมใช้ทั้งประเทศ จะทำให้ชาวสวนยางได้รับประโยชน์ไม่ทั่วถึง?


คำพูดตอนหนึ่งของ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับเชิญขึ้นพูดบนเวทีเพื่อต้อนรับ นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตร ประธานพิธีเปิดงาน วันพระยารัษฎา บิดายางพาราไทย และวันยางพาราแห่งชาติ ประจำปี 2558 ที่ จ.ตรัง เมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา


ปัญหาชาวสวนยางแต่ละภาคแตกต่างกันอย่างไร...ทำไมถึงใช้ตำรายาผีบอกสูตรเดียวแก้ไม่ได้


ก่อนหน้านั้น 1 สัปดาห์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดเสวนาเรื่อง ?อนาคตยางไทย...จะไปทางไหน แนวทางการแก้ไขจะเป็นอย่างไร?


รศ.ศานิต เก้าเอี้ยน ได้ฉายภาพความเป็นมาของยางพาราได้ชัดเจน... ภาคใต้เริ่มปลูกมา 100 กว่าปีก่อน เกษตรกรแต่ละรายจะมีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 50-100 ไร่ แต่คร้ันเวลาผ่านมาจวบจนปัจจุบัน อาชีพปลูกยางของคนภาคใต้ผ่านมาแล้ว 3-4 ชั่วอายุคน การถ่ายทอดอาชีพจากรุ่นสู่รุ่น จากทวด-ปู่-พ่อ-ลูก-หลาน สวนยางที่เคยมีอยู่ 50-100 ไร่ ถูกแบ่งเป็นมรดกมาเรื่อย จนแต่ละรายมีสวนยางเหลือเฉลี่ยแค่คนละ 5-10 ไร่ เมื่อยางราคาตกเหลือแค่ กก.ละ 40 บาท ถึงอยู่กันไม่ได้ เพราะผลผลิตที่ขายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ


ซ้ำร้ายมรดกอาชีพสวนยางที่ตกทอดกันมา ยุคแรกเจ้าของสวนยางยังกรีดกันเองเป็น แต่มารุ่นหลังจ้างคนอื่นมากรีดแทน เจ้าของสวนยางรุ่นใหม่กรีดยางเองไม่เป็น...รายได้ที่ไม่พอกินอยู่ ยังต้องถูกแบ่งไปให้คนกรีดอีก ชาวสวนยางภาคใต้จึงเดือดร้อนหนักกว่าภาคอื่น


ไม่เหมือนชาวสวนยางภาคตะวันออกและภาคอีสาน ที่เพิ่งจะมีการปลูกยางทีหลัง เฉลี่ยแล้วแต่ละรายมีสวนยาง 25 ไร่ขึ้นไป ถึงยางจะราคาตกเหมือนกัน แต่เมื่อรวมรายได้แล้วยังมากกว่าคนใต้ เนื่องจากมีเนื้อที่มากกว่าและยังกรีดยางเองไม่ต้องไปแบ่งใคร เพราะได้ความรู้และประสบการณ์มาจากการไปรับจ้างกรีดยางให้คนภาคใต้นั่นเอง


นี่คือคำตอบ...ที่ฟ้องให้เห็น คนแก้ปัญหาเรื่องยาง รู้ปัญหาจริงหรือเก่งท่องสคริปต์.
ชมชื่น ชูช่อ