ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: เมษายน 29, 2015, 09:58:54 PM »

ปักษ์ใต้ระงม! ปาล์ม-ยาง-กุ้งราคาดิ่งเหวยกแผง เกษตรกรปรี๊ดแตก เจ๊งระนาว
  •     updated: 29 เม.ย 2558 เวลา 19:41:41 น.
    ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
     
     เกษตรกรชาวสาวนปาล์มน้ำมัน กระบี่-เมืองคอนเดือดร้อนหนัก ราคาดิ่งเกือบเท่าตัวเหลือแค่ กก.ละ 2.40 บาท ขณะที่ผู้เลี้ยงกุ้งชุมพรยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากนายกฯ
     นายสมพร ศรีเพชร นายกสมาคมชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เกษตรกรชาวสาวนปาล์มน้ำมันได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากขณะนี้ราคาปาล์มน้ำมันที่ จ.นครศรีธรรมราชตกต่ำอยู่ที่กิโลกรัมละ 2.40 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก เหมือนกับราคายางพาราที่กำลังตกต่ำอย่างหนักอยู่ในขณะนี้เช่นกัน ซึ่งจากการประชุมหลายฝ่ายพบว่า  ผู้ผลิตปาล์มมีต้นทุน 3.38 บาท สินค้าเกษตรทุกอย่างต้องมีกำไรอย่างน้อย 30-50 % ของราคาต้นทุน ชาวสวนปาล์มจึงได้กำหนดราคาปาล์มน้ำมันต้องอยู่ที่ กก.ละ 4.50-5 บาท



    "ปัญหาที่เกิดขึ้นนอกจากการนำเข้าน้ำมันปาล์มที่รัฐบาลนำเข้า 5 หมื่นตันแล้ว ยังมีน้ำมันเถื่อนเข้ามาทาง อ.สะเดา จ.สงขลาอีกจำนวนหลายหมื่นตัน ใช้รถบรรทุก 18 ล้อนำเข้ามาเป็น 100 คัน แต่จับได้เพียง 14 คัน ซึ่งการลักลอบนำน้ำมันเถื่อนเข้ามาแล้วรัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ การทะลักเข้ามาของน้ำมันปาล์มถือว่าเป็นการทำลายอาชีพสวนปาล์มของเกษตรกรอย่างแท้จริง ถือว่ารัฐบาลปล่อยปละละเลย ถ้าบอกว่าไม่รู้เรื่องก็เป็นไปไม่ได้"


    นายสมพร กล่าวอีกว่า ขอเรียนผ่านไปยังรัฐบาลให้ทราบว่าการนำเข้าโดยไม่ฟังประชาชน แต่ไปฟังใครก็ไม่รู้แล้วผลออกมาเป็นบทเรียนอย่างชัดเจนแล้วว่าปัญหาที่ตามมาเป็นอย่างไร ทั้งชาวสวนปาล์มและชาวสวนยางเดือดร้อนมาก ขณะที่จะมีการส่งเสริมให้ปลูกปาล์มเพิ่มอีก 3 ล้านไร่ ถ้าเป็นอย่างนี้ใครจะกล้าทำ เพราะมีแต่ขาดทุน

    สำหรับสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในจังหวัดนครศรีธรรมราชขณะนี้ผู้ประกอบการลานเทปาล์มรายย่อย ได้ทยอยกันปิดกิจการอย่างต่อเนื่อง เพาะรับซื้อผลผลิตมาแล้วไม่มีที่ส่งขาย ทำให้ประสบภาวะขาดทุนจึงต้องปิดตัวลง  สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาปาล์มตกต่ำเพราะการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศ ขณะที่ผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมากจนล้นตลาด หากรัฐบาลไม่เข้ามาดูแล เกษตรกรอาจจะรวมตัวออกมาเคลื่อนไหวกันในอนาคตอันใกล้นี้

    ด้านนายชโยดม สุวรรณวัฒนะ ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ขณะนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 2.70 - 2.90 บาทต่อกิโลกรัม(จากเดิมราคา 5-6 บาทต่อกิโลกรัม ) เป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เชื่อว่าสาเหตุนอกจากนโยบายการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบของกระทรวงเกษตรฯจากต่างประเทศ และยังพบว่าโรงงานรับซื้อปาล์มบางแห่งมีการฮั้วราคารับซื้อกันด้วย

    ขณะนี้หน่วยงานราชการก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ทางสมาชิกจึงมีมติร่วมกันว่าหลังจากนี้อาจจะมีการประท้วงเพื่อเรียกร้องรัฐแก้ปัญหา เพราะหากยังไม่มีการเข้ามาช่วยเหลือเร่งด่วน แนวโน้มราคาปาล์มจะตกต่ำลงไปอีก และที่ผ่านมาราคายางพาราตกต่ำมาตลอด เกษตรกรได้ปาล์มน้ำมันมาช่วยพยุงค่าครองชีพ



    นายอรุณ ไม้ทิพย์ พาณิชย์จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ราคาผลปาล์มตกต่ำ เนื่องจากขณะนี้ผลผลิตออกมามาก และเปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลดลง ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาด ในเบื้องต้นได้รายงานให้ทางกรมการค้าภายใน และกระทรวงพาณิชย์ทราบแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

    ในวันเดียวกันนี้ ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งคุณภาพชุมพร ได้เดินทางเข้าพบนายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เพื่อยืนหนังสือขอให้พิจารณาช่วยเหลือเร่งด่วน เพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมคลัสเตอร์กุ้งไทย ผ่านไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

    สำหรับหนังสือที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรี สรุปได้ว่า หลังจากการเลี้ยงกุ้งไทยประสบปัญหาการเกิดโรคระบาดกุ้งตายด่วน (EMS) ตั้งแต่ปลายปี 2554 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเกษตรกรซึ่งเป็นภาคการผลิต ทำให้ผลผลิตกุ้งลดลงมาก ในปี 2557 ผลิตได้เพียง 250,000 ตัน จากที่เคยผลิตได้ในปี 2554 ถึง 600,000 ตัน ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งทั้งระบบ ตลอดจนสายห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่โรงเพาะฟัก ลูกกุ้ง ผู้ค้าปัจจัยการผลิต ฟาร์มกุ้ง โรงงานแปรรูป เป็นต้น ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเดือดร้อนมากและส่วนใหญ่ 80% เป็นรายย่อย ที่กำลังเผชิญหน้ากับราคากุ้งตกต่ำ และมีแนวโน้มที่จะต่ำลงไปอีก

    จากวิกฤติดังกล่าว ทำให้ไทยสูญเสียความเป็นผู้นำการส่งออกกุ้งให้ประเทศคู่แข่ง ทั้งที่ที่ผ่านมากุ้งไทยได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัยจากผู้บริโภคอย่างมาก ครองที่ 1 ในตลาดสำคัญ ทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น มาโดยตลอด ทำให้ทุกภาคส่วนได้ประชุมหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาช่วยเหลือ ดังนี้ 1.ขอให้มีโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไม ปี 2558 2.เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ส่งออก ทั้งทางตรงและทางอ้อม 3.แก้ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน อีเอ็มเอส และ4.ขอให้กุ้ง และผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่ได้รับการดูแลพิเศษจากภาครัฐ และให้บรรจุเรื่องกุ้งเป็นวาระแห่งชาติ