ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2015, 10:30:56 AM »

สวนยางพารา 22 ล้านไร่ ปลูก-ขายแบบเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว...!
  •  
        updated: 10 ก.พ. 2558 เวลา 14:05:05 น.
    คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ โดย รัตนา จีนกลาง
     
     ราคายางพาราที่ตกต่ำสู่ก้นเหว น้ำยางสด 3 กิโล 100 บาท ยางก้อนถ้วย 5 โล 100 สั่นสะเทือนใหญ่หลวงต่อกำลังซื้อและการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
                         
    วันนี้ทำไมคนไทยต้องสนใจเรื่องยางพารา เพราะพืชตัวอื่นก็มีปัญหาเช่นกัน เรื่องนี้เราต้องยอมรับว่า ยอดขายสินค้าต่าง ๆ ล้วนพึ่งพารายได้ของชาวสวนยางทั้งสิ้น

    ในยุคที่ยางราคาดี 100 กว่าบาท/กิโลกรัม (กก.) เงินสะพัดในต่างจังหวัดมาก ยอดขายบ้าน รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ ไอที ท่องเที่ยวคึกคักมาก แต่เมื่อยางราคาตก ทุกอย่างชะงักงันไปหมด

    เพราะยางพาราทั้งระบบมีผู้เกี่ยวข้องหลายกลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้ผลิตก็มีทั้งเกษตรกร เจ้าของสวนยางรายใหญ่  โรงงานแปรรูปยางขั้นต้น ผู้รับจ้างกรีดยางเลี้ยงชีพ 2.การจำหน่าย ได้แก่ พ่อค้ายางในประเทศและต่างประเทศ และ 3.การบริโภค คือ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา

    หากไล่ดูข้อมูลยางพาราที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสถาบันวิจัยยาง ก็จะพบว่ามีข้อมูลอัพเดตเพียงปี 2556

    นั่นคือ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา จำนวน 22,176,714 ไร่ หรือตัวเลขกลม ๆ ก็คือ 22 ล้านไร่  ผลผลิตรวม 4.17 ล้านตัน ในจำนวนนี้เราส่งออก 3.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 4.7 แสนล้านบาท

    แหล่งปลูกยางมากที่สุด คือ ภาคใต้ 14 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วน 64% ของพื้นที่ปลูกทั้งประเทศ และ 5 จังหวัดแรกที่ปลูกยางเยอะมากคือ สุราษฎร์ธานี 2.6 ล้านไร่ รองลงมาคือ สงขลา 2 ล้านไร่ นครศรีธรรมราช 1.8 ล้านไร่ ตรัง 1.5 ล้านไร่ และยะลา 1 ล้านไร่

    อันดับที่ 2 ภาคอีสาน ปลูกยาง 4.4 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วน 20% โดย 5 อันดับแรกคือ บึงกาฬ ปลูกยางมากสุด 7.3 ล้านไร่ (แต่ข้อมูลล่าสุดผู้ว่าฯคนปัจจุบันระบุว่าบึงกาฬปลูกยางมากถึง 1 ล้านไร่แล้ว) รองลงมาคือ เลย 5.6 แสนไร่ อุบลราชธานี 3.7 แสนไร่ อุดรธานี 3.3 แสนไร่ และสกลนคร 2.9 แสนไร่

    อันดับที่ 3 ภาคกลางและภาคตะวันออก ปลูกยาง 2.6 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วน 12% โดยจันทบุรี ครองแชมป์ 7.2 แสนไร่ ระยอง 6.9 แสนไร่ ตราด 3.1 แสนไร่ ชลบุรี 2.2 แสนไร่ และฉะเชิงเทรา 1.8 แสนไร่

    อันดับที่ 4 ภาคเหนือ ปลูกยางทั้งสิ้น 1.2 ล้านไร่ คิดเป็นสัดส่วน 12% โดยเชียงรายปลูกมากสุด 3.8 แสนไร่ เพชรบูรณ์ 1.2 แสนไร่ พิษณุโลก 1.6 แสนไร่ พะเยา 1.5 แสนไร่ และน่าน 1.3 แสนไร่

    ทีนี้มาเจาะลึกลงไปอีกว่า เมืองนอกเขาสั่งซื้อยางประเภทไหนจากเมืองไทยไปใช้บ้าง ซึ่งก็พบว่า อันดับ 1 คือ ยางแท่ง (STR) 1.4 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 38% อันดับที่ 2 ยางแผ่นรมควัน (RSS) 7.9 แสนตัน  21.6% อันดับที่ 3 ยางผสมสารเคมี (Compound) 7.1 แสนตัน 19% อันดับที่ 4 น้ำยางข้น 6.8 แสนตัน 18.6% และอื่น ๆ อีก 8.3 หมื่นตัน หรือ 2.2%

    แต่วันนี้ถือว่าเป็นยุคตกต่ำสุด ๆ เพราะราคายางดิ่งเหวร่วงไปอยู่ที่ 3 โล 100 ทำให้รายได้ที่เคยหล่อเลี้ยงครอบครัวหายไปเกือบหมด สาหัสสากรรจ์ถ้วนหน้า 

    แม้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะส่ง นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ มานั่งแก้ปัญหายางเป็นหลักแล้ว แต่สารพัดนโยบายที่ออกมาก็ไม่สัมฤทธิผล เพราะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด

    ขณะที่ความร่วมมือจากกระทรวงต่าง ๆ ก็ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติจริง อ้างติดระเบียบโน่นนี่นั่น ไม่ว่าจะเป็นการนำยางพารามาผสมกับยางมะตอยราดถนน ทั้ง ๆ ที่มีงานวิจัยรับรองมานับ 10 ปีแล้วว่าทำได้คุ้มค่าจริง แต่ก็ไม่มีใครรับลูก

    ส่วนกองทุนมูลภัณฑ์กันชน (Buffer Funds) อัดงบประมาณก้อนแรก 6,000 ล้านบาท ไปรับซื้อยางแผ่นรมควัน และดึงราคาให้ขึ้นมายืนในระดับ 60-63 บาท/กก. ก็ก่อปัญหา 

    ชาวสวนยางตัวจริง "เข้าไม่ถึง" โครงการนี้ เพราะองค์การสวนยาง (อสย.) ประมูลรับซื้อเฉพาะยางแผ่นรมควันชั้น 3 เกรดพรีเมี่ยม, ยางแผ่นดิบ และยางแท่งเท่านั้น ส่วนยางที่ตกเกรดชาวสวนก็ต้องโละขายถูก ๆ ให้พ่อค้า

    ในความเป็นจริง ชาวสวนยางส่วนใหญ่กว่า 70% ผลิตได้แต่น้ำยางสด และมีความสามารถผลิตยางแผ่นดิบได้เพียง 20% และผลิตยางแผ่นรมควันได้แค่ 10%

    หัวใจของเรื่องนี้ก็คือ ชาวสวนส่วนใหญ่ขายน้ำยางสด และยางก้อนถ้วยให้พ่อค้าคนกลาง ยังไม่มีการรวมกลุ่มเพื่อแปรรูปเป็นยางแผ่นดิบ หรือยางแผ่นรมควัน เพราะต้องลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งตอนนี้ราคายางก้อนถ้วยเหลือ 5 โล 100 และน้ำยางสด ราคาท้องถิ่นเฉลี่ย 3 โล 100 เท่านั้น

    ฉะนั้นคนที่จะผลิตยางแผ่นรมควันคุณภาพดีได้แล้วนำไปขายให้กองทุน Buffer Funds จึงตกไปอยู่ในมือกลุ่มทุนใหญ่ที่มีโรงงาน มีโรงรมเป็นของตนเอง   

    ทางรอดชาวสวนยางคือต้องรวมกลุ่ม เพื่อแปรรูปยางคุณภาพดี สวนยางกว่า 22 ล้านไร่ที่เฝ้าลงทุนลงแรงมา ก็จะเกิดมูลค่าเพิ่มได้มหาศาล เพราะถ้ายังขายแค่น้ำยาง ยางก้อนถ้วย ก็จะตกอยู่ในวังวนเดิมอีก

    ที่สำคัญเมื่อรัฐบาลมีอำนาจล้นมือแล้ว ก็ขอให้เร่งมือแก้ปัญหาให้ตรงจุดจริง ๆ