ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: มีนาคม 31, 2015, 03:47:23 PM »

ล้มดีลยางอีกถึงคิวไห่หนานอำนวยปัดไม่รู้



บิ๊กอ.ส.ย.จ่อล้มสัญญา "ไชน่า ไห่หนานฯ" ยางเก่าพ่วงยางใหม่ 4.1 แสนตัน ระบุผิดสัญญารับมอบสินค้าไม่ทัน 31 มี.ค.นี้ เผยล่าสุดยังรับมอบได้แค่ 2 พันตันเศษ จากเงื่อนไขเดือนละ 2 หมื่นตัน ด้าน "อำนวย" โบ้ยยังไม่ได้รับรายงาน เตรียมตรวจสอบข้อเท็จจริง ลั่น หากอ.ส.ย.บริหารสัญญาไม่ได้ จะลงไปจัดการเอง
นางเรไร รัตนสุภา ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และผู้จัดการโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง หรือบัฟเฟอร์ฟันด์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"  ถึงการซื้อขายยางพาราในสต๊อกเก่าของรัฐบาล 2.1 แสนตัน พ่วงยางใหม่อีก 2 แสนตัน รวมประมาณ 4.1 แสนตัน ระหว่างอ.ส.ย.กับบริษัท ไชน่า ไห่หนาน รับเบอร์ อินดัสทรี กรุ๊ป จำกัด รัฐวิสาหกิจจีนว่า ล่าสุดทางอ.ส.ย.ได้เตรียมยกเลิกสัญญากับไชน่า ไห่หนานฯ เนื่องจากรับส่งมอบยางล่าช้ามาก ซึ่งนับจากวันที่มีการเซ็นสัญญาซื้อขายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ล่าสุด ณ วันที่ 25 มีนาคม 2558 บริษัทเพิ่งมีการรับมอบยางไปเพียง 2 พันตันเศษ จากในสัญญาระบุจะมีรับมอบยางเดือนละ 2 หมื่นตัน ขณะที่สัญญาการรับมอบจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคมที่จะถึงนี้ ทางอ.ส.ย. จะถือโอกาสยกเลิกสัญญาดังกล่าว เพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางรัฐบาล
สอดคล้องกับแหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความจริง ซึ่งได้ยินนางเรไรพูดหลายครั้งแล้วว่า สัญญาการส่งมอบของบริษัทดังกล่าวล่าช้ามาก ทางอ.ส.ย.ได้ทำหนังสือหลายครั้งเพื่อเร่งให้รับมอบยาง ขณะที่การจะยกเลิกสัญญาซื้อขาย อาจเพราะมีตัวเลือกใหม่ที่ดีกว่า เห็นได้จากช่วงนี้ทางรัฐบาลเองก็ได้มีการเดินทางไปเจรจาขายยางพารา และข้าวในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง คาดมีหลายประเทศให้ความสนใจ และหากปล่อยให้ยืดเยื้ออาจจะถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน จึงต้องรีบตัดไฟเสียแต่ต้นลม ขณะที่เวลานี้อยู่ในช่วงฤดูปิดกรีด เรื่องดังกล่าวคงไม่ส่งผลกระทบกับราคายางในตลาดมากนัก


ด้านแหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)กล่าวว่า ในการประชุมกนย. ครั้งที่ 1/2558 (19 ก.พ. 58) ทางอ.ส.ย.ได้ทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อ รักษาเสถียรภาพราคายางในสต๊อกต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า มียางแผ่นรมควันอัดก้อนและยางแท่งในโกดัง 44 แห่ง ประกอบด้วยยางแผ่นรมควันอัดก้อน จำนวน 36 โกดัง และยางแท่งจำนวน 8 โกดัง ปริมาณยางรวม 2.07 แสนตัน โดยแบ่งเป็นยางประเมินคือ แผ่นรมควันชั้น 1-5 (อัดก้อน) จำนวน 1.64 แสนตัน และยางแท่ง จำนวน 3.21 หมื่นตัน ส่วนยางที่ไม่ประเมินคือ ยางฟอง จำนวน 6.25 พันตัน และยางคัตติ้ง จำนวน 4.64 พันตัน
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2557 ครม.ได้รับทราบแนวทางในการระบายยางในสต๊อกของอ.ส.ย. หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 อ.ส.ย.ได้ลงนามสัญญาซื้อขายยางพาราในโครงการเก่า (ผลิตปี 2554-2555) จำนวน 2.08 แสนตันกับไชน่า ไห่หนานฯ แบ่งเป็นยางแผ่นรมควันทุกประเภท 1.76 แสนตัน ราคาเอฟโอบี กิโลกรัมละ 63.56 บาท ยางแท่ง STR 20 จำนวน 3.2 หมื่นตัน ราคาเอฟโอบี กิโลกรัมละ 55.50 บาท กำหนดส่งมอบภายใน 10 เดือน (ครบกำหนด 21 ก.ย. 58) ส่วนยางใหม่ (ยางที่ผลิตในปี 2557-2558) ที่ขายพ่วงอีก 2 แสนตัน แยกเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 จำนวน 1.5 แสนตัน ราคาเอฟโอบี 63.56 บาท/กิโลกรัม  และยางแท่ง STR 20 อีกจำนวน 5 หมื่นตัน ราคาเอฟโอบี 55.50 บาท/กิโลกรัม กำหนดส่งมอบภายใน 18 เดือน (ครบกำหนด 21 พ.ค. 59) ทั้งนี้กำหนดส่งมอบให้ใช้ราคาของงวดแรก 2 หมื่นตัน ส่วนงวดถัดไปใช้ราคาเอฟโอบี กรุงเทพฯ (ราคา ณ ท่าเรือต้นทาง) บวก 1 บาท เป็นงวดๆ ต่อเนื่องไปจนกว่าราคาเอฟโอบียางแผ่นรมควันชั้น 3 มีราคาเท่ากับกิโลกรัมละ 70 บาท คู่สัญญาจะได้ตกลงกันใหม่


ต่อเรื่องนี้ นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำกับดูแลยางพาราทั้งระบบ กล่าวว่า เรื่องการซื้อขายยางกับไชน่า ไห่หนานฯ คงต้องว่ากันไปตามเงื่อนไขสัญญา ซึ่งข้อมูลความคืบหน้า ได้ให้อ.ส.ย.ทำรายงานให้รับทราบทุกวัน แต่ล่าสุดก็ยังไม่ได้รับรายงานว่าไชน่า ไห่หนานฯ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาและเตรียมบอกยกเลิก อย่างไรก็ดีในเรื่องนี้อ.ส.ย.เป็นเจ้าของยางและเป็นผู้บริหารสัญญาการซื้อ ขาย หากถึงที่สุดแล้วไม่สามารถบริหารสัญญาให้เป็นไปตามเป้าหมายได้จะต้องตัดสิน ใจ และนำเรื่องเสนอต่อหน่วยเหนือให้รับทราบเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อ ไป (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในบทสัมภาษณ์หน้า 6)
"เพิ่งทราบข่าวเรื่องนี้ และจะได้ลงไปจี้และตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้ยางในสต๊อกราว 2.1 แสนตัน อ.ส.ย.ได้เซ็นสัญญาซื้อขายให้กับบริษัทยี่ฟังเหลียนจากสิงคโปร์ ซึ่งผมได้เข้าไปบอกยกเลิกสัญญาไปแล้ว จากเขาผิดสัญญารับมอบสินค้า อย่างไรก็ตามตามเป้าหมายเดิมที่เราขายยางในสต๊อกเก่า 2.1 แสนตันให้กับไชน่า ไห่หนานฯ เมื่อขายได้เงินแล้วจะส่งเงินคืนคลัง ส่วนยางใหม่อีก 2 แสนตัน จะเอาเงินมาหมุนในโครงการมูลภัณฑ์กันชนฯ"


ด้านแหล่งข่าวธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ทางอ.ส.ย.ได้ส่งคืนเงินกู้ ให้กับธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ จำนวน 45.5 ล้านบาท จากโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ที่กู้ไปเป็นวงเงินจำนวน 2.2 หมื่นล้านบาท หากอ.ส.ย.ขายยางทั้งหมดได้เงินมา 1 หมื่นล้านบาทแล้วจะต้องคืนเงินให้กับธ.ก.ส. อีกทั้งอ.ส.ย.จะต้องดำเนินการขอสำนักงบประมาณชดเชยผลขาดทุน แล้วนำมาคืนให้กับธ.ก.ส.พร้อมกับดอกเบี้ย ส่วนยางในโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯนั้น มีการอนุมัติให้อ.ส.ย.ขยายระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ให้กับธ.ก.ส.ออกไป จากเดิมวันที่ 31 ธันวาคม 2557 เป็นวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 และขยายระยะเวลาโครงการในส่วนการรับซื้อเพิ่มเติมอีก 6 พันล้านบาท รวมเป็น 1.2 หมื่นล้านบาท ทางธ.ก.ส.ได้โอนให้กับอ.ส.ย.ไปเรียบร้อยแล้ว






หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ