ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2015, 11:13:27 AM »


วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  26  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้ยังมีฝนเพิ่มมากขึ้นและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตรัง และสตูล ส่วนภาคอื่นมีอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิลดลงได้ 4 - 8 องศาเซลเซียส

2. การใช้ยาง


- บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการจำหน่ายรถยนต์เดือนตุลาคมมีปริมาณทั้งสิ้น 67,910 คัน ลดลงร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับตลาดรถยนต์สะสม 10 เดือน มีปริมาณการจำหน่าย 621,742 คัน ลดลงร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่คาดว่าตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายนมีแนวโน้มเติบโตขึ้น จากการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นที่มุ่งเน้นผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งมาตรการให้ภาคเอกชนเร่งลงทุน

3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนสิงหาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน

- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ปลายเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลดลงสู่ระดับ 91.3 ต่ำกว่า 93.1 ซึ่งเป็นระดับกลางเดือนพฤศจิกายน และอยู่ในระดับต่ำกว่า 93.0 ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

- โกลด์ แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีหน้า โดยคาดว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.0 ในปีหน้า และเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวรวดเร็วมากพอที่จะกระตุ้นให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้โดยเฉลี่ยไตรมาสละครั้ง

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า เดือนตุลาคมการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เท่ากับที่เพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน นอกจากนี้ยังรายงานว่ารายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนตุลาคม ขณะที่อัตราการออมอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนติก เปิดเผยว่า แบบจำลองการคาดการณ์ GDPNow แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 4 หลังมีการเปิดเผยข้อมูลการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวในเดือนตุลาคม และอยู่ในระดับต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.3 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2558

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.73 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 122.64 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.27 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมกราคม 2559
ปิดตลาดที่ 43.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานที่สูงเกินไป

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมกราคม 2559 ปิดที่ 46.17 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.05 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 961,000 บาร์เรล สู่ระดับ 488.2 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 9 ติดต่อกัน ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 154.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 160.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.7 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 123.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ยอดจำหน่ายบ้านเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น บ่งชี้ว่ายอดจำหน่ายบ้านมีแนวโน้มทำสถิติเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550 โดยยอดจำหน่ายบ้านใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน อยู่ที่ 495,000 ยูนิต

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง 12,000 ราย อยู่ที่ 260,000 ราย ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 270,000 ราย ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 38 ติดต่อกัน และยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 42 ปี

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อยมากในระยะนี้ จากภาวะฝนตกและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ปลูกยางทางภาคใต้ของไทย ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายมีความต้องการซื้อเพราะขาดแคลนวัตถุดิบป้อนโรงงาน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับได้รับปัจจัยหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ และอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมนี้ ยังเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา