ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2017, 09:28:34 AM »

            ในขณะที่หลายหน่วยงานพยากรณ์ปี 2560 ราคาสินค้าเกษตรยังคงไม่ดีขึ้นมากไม่ต่างจากปีที่แล้วเท่าไรนัก เพราะภาวะเศรษฐกิจของโลกยังไม่กระเตื้องเท่าไหร่ แต่จู่ๆยางพารา ปาล์มน้ำมันและ อ้อยกลับมามีราคาพุ่งกระฉูด เหนือความคาดหมาย
ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายระบบเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) อธิบายสาเหตุที่ทำให้พืชเศษฐกิจ 3 ชนิด มีราคาสูงขึ้นว่า เกิดจากผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันลดลงไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากน้ำท่วมภาคใต้ เพราะพื้นที่ปลูกยางและปาล์มน้ำมัน 70-80% ของบ้านเราอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับจีนมีกำลังผลิตรถยนต์และล้อรถเพิ่มขึ้น เลยส่งผลให้ยางแผ่นดิบรมควันชั้น 3 ที่มีราคาแค่เพียง กก.ละ 60 บาท เมื่อสิ้นปี 59 พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ กก.ละ 92.59 บาทต่อ กก. (ราคา ณ 4 ก.พ.60)
ปาล์มน้ำมันก็เช่นกัน เมื่อปลายปีที่แล้วราคาไม่ถึง กก.ละ 5 บาท ได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 6.18 บาทต่อ กก. เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น จึงมีการนำปาล์มน้ำมันไปผสมทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซล B10 กับ B15 เพิ่มมากขึ้น
ส่วนอ้อยโรงงานที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น ดร.ภูมิศักดิ์ บอกว่า เป็นผลมาจากภาวะภัยแล้งในช่วงต้นฤดูกาลเพาะปลูก ไม่ใช่มีเฉพาะในบ้านเราเท่านั้น หลายประเทศทั่วโลกที่เป็นแหล่งปลูกอ้อยเจอภาวะภัยแล้งเหมือนกัน เลยทำให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลลดลง ส่งผลให้ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์กขึ้นไปอยู่ที่ 20.33-21.00 เซนต์ต่อปอนด์ ราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดลอนดอนอยู่ที่ 537.50 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน เป็นราคาค่อนข้างดี แต่ก็ยังไม่สูงมากนัก
กระนั้น ดร.ภูมิศักดิ์ เตือนเกษตรกรว่า อย่าเพิ่งดีใจกับราคาที่พุ่งขึ้นมาในขณะนี้จะเป็นราคาที่ยืนอยู่ได้นาน ให้รอดูราคาหลังจากเดือน มี.ค. อีกที จะมีผลผลิตที่ฟื้นตัวจากน้ำท่วมจะออกมาสู่ตลาดมากขึ้นแค่ไหน และต้องใช้เวลานานเท่าไรผลผลิตที่จะกลับมาเท่าเดิม เพราะสินค้าเกษตรทั้ง 3 ชนิด ผลผลิตส่วนใหญ่ที่ออกมาจะถูกนำไปขายเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานเป็นหลัก ฉะนั้นราคาจึงขึ้นอยู่กับตลาดต่างประเทศเป็นหลัก.   
โดย ไทยรัฐออนไลน์