ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 120 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

แนบไฟล์:
(Clear Attachment)
(แนบไฟล์เพิ่ม)
Restrictions: 4 per post, maximum total size 192KB, maximum individual size 128KB
Verification:
กรุณาพิมพ์ชื่อนี้ Rakayang เป็น???าษาไทย:

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Rakayang.Com
« เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2020, 12:26:24 PM »


SUPER POLL เผยเกษตรกรส่วนใหญ่พอใจมาตรการดูแลและแก้ปัญหาเกษตรกรในยุค'เฉลิมชัย ศรีอ่อน'
          นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง เสียงของเกษตรกร พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.4 ระบุต้องการเข้าถึงทรัพยากรการผลิต เช่น แหล่งน้ำ ที่ทำกิน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานสะอาด เพื่อการเกษตร รองลงมาคือร้อยละ 71.5 ต้องการเพิ่มราคาประกันพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 69.2 ต้องการแหล่งตลาดรับซื้อผลผลิตการเกษตร ร้อยละ 65.7 ต้องการแก้ปัญหาราคาปุ๋ย และร้อยละ 64.1 ต้องการแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตครบวงจร
          เมื่อถามถึงมาตรการดูแลเกษตรกรที่พึงพอใจในยุคของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.9 พอใจเงินเยียวยาเกษตรกร ประกันราคาสินค้าเกษตร ประกันรายได้ รองลงมาคือร้อยละ 65.0 พอใจการดูแลพัฒนาราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 31.2 พอใจประกันยางพารา ร้อยละ 19.1 พอใจโครงการป้องกันน้ำท่วม และร้อยละ 18.2 พอใจกักเก็บน้ำแก้ภัยแล้ง ตามลำดับ
          อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 ค่อนข้างพอใจถึงพอใจมากที่สุดต่อมาตรการแก้ปัญหาเกษตรกรของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
          ที่น่าสนใจคือ คุณลักษณะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกษตรกรอยากได้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.2 ระบุแก้ปัญหาได้จริง ร้อยละ 64.8 ระบุรวดเร็วฉับไวแก้ปัญหา ร้อยละ 62.9
ระบุมีความพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรทันที ร้อยละ 62.4 ระบุติดดินเข้าถึงได้ง่าย และร้อยละ 57.4 ระบุไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ตามลำดับ
          SUPER POLL สำรวจภาคสนาม เรื่อง เสียงของเกษตรกร กรณีศึกษาตัวอย่างเกษตรกรทั่วประเทศ โดยดำเนินการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การลงพื้นที่และการเก็บข้อมูลในโลกโซเชียลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,040 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 19 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา