วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
[/t]วิเคราะห์ | [/size]1. สภาพภูมิอากาศ | [/size]- ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยอ่อนกำลังลง ทำให้ ทั่วประเทศมีฝนลดลง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา และภูเก็ต ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง | [/size]2. การใช้ยาง | [/size]- บริษัทเมย์แบงค์ กิมเอ็ง จำกัด วิเคราะห์หุ้นกลุ่มยานยนต์ โดยประเมินว่ายอดผลิตรถยนต์ปี 2557 ลดลงเหลือ 2.3 ล้านคัน ติดลบร้อยละ 6.0 โดยทิศทางอุตสาหกรรมรถยนต์ครึ่งแรกปี 2557 จะหดตัวลง และฟื้นตัวในครึ่งหลังปี 2557 ขณะที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตในเดือนเมษายน 2557 เท่ากับ 126,730 คัน ลดลงจากเดือนมีนาคมร้อยละ 30.0 และลดลงจากปีก่อนร้อยละ 26.0 ทำสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 | [/size]3. สต๊อคยาง | [/size]- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ลดลง 3,827 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2.35 อยู่ที่ 159,270 ตัน จากระดับ 163,067 ตัน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2557- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2557 เพิ่มขึ้น 138 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.70 อยู่ที่ 19,888 ตัน จากระดับ 19,750 ตัน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 | [/size]4. เศรษฐกิจโลก | [/size]- รัฐบาลญี่ปุ่นยกระดับการประเมินภาวะเศรษฐกิจเดือนพฤษภาคม โดยระบุว่าเศรษฐกิจอยู่ในภาวะค่อนข้างสดใส แม้ว่าจะปรับลดมุมมองด้านผลผลิต และการนำเข้าที่ปรับตัวลดลง จากการขึ้นภาษีการบริโภคครั้งแรกในรอบ 17 ปี- สถาบัน Ifo สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเยอรมันเดือนพฤษภาคมลดลงแตะ 110.4 จุด จาก 111.2 จุดในเดือนเมษายน และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ 110.9 จุด- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปี 2557 ขยายตัวร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นตัวเลขเดียวกับที่ประเมินไว้เมื่อเดือนที่ผ่านมา และหากเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน GDP ขยายตัวร้อยละ 3.1 | [/size]5. อัตราแลกเปลี่ยน | [/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.59 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ- เงินเยนอยู่ที่ 101.97 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.20 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | [/size]6. ราคาน้ำมัน | [/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 104.35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.61 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยยอดจำหน่ายบ้านใหม่เดือนเมษายนที่สูงกว่าที่คาดการณ์ของตลาด | [/size]7. การเก็งกำไร | [/size]- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 196.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 206.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.5 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 210.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | [/size]8. ข่าว | [/size]- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เผยยอดจำหน่ายบ้านใหม่เดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 เดือน ที่ 433,000 ยูนิต โดยได้รับปัจจัยหนุนจากยอดจำหน่ายบ้านที่สูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งในแถบมิดเวสต์ เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่ลดลง และสถานการณ์ด้านการจ้างงานที่ดีขึ้น- คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) เปิดเผยว่า จีนจะผ่อนคลายขั้นตอนการอนุมัติสำหรับบริษัทต่างชาติที่วางแผนเข้ามาลงทุนในจีน และจะเสริมความแข็งแกร่งในการปรับทบทวนความมั่นคงแห่งชาติ | [/size]9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ | [/size]- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เพราะผลผลิตมีน้อย ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายที่มีสินค้าอยู่ต้องการขายในราคาที่ไม่ขาดทุน จึงพยายามผลักดันราคาไม่ให้ลดลงกว่านี้ แม้ว่าการปรับตัวขึ้นของราคาจะอยู่ในกรอบจำกัด | [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และการคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีแรงหนุนจากอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย ขณะที่สต๊อคยางจีน ณ ตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 159,270 ตัน (23 พฤษภาคม 2557) จากระดับ 163,067 ตัน (16 พฤษภาคม 2557) อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีแรงกดดันจากประเด็นที่ต้องติดตามคือ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับเวียดนาม อีกทั้งความชัดเจนในการระบายยางในสต๊อคของรัฐบาล คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา [/size]
[/size] |
[/td][/tr][/table]