วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557
[/t]วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจายและตกหนักบางแห่ง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพังงา ส่งผลต่อการกรีดยางด | 2. การใช้ยาง | - ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทโตโยต้ามอร์เตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมมีปริมาณจำหน่าย 69,681 คัน ลดลงร้อยละ 37.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณจำหน่าย 367,112 คัน ลดลงร้อยละ 42.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเดือนมิถุนายนตลาดรถยนต์มีแนวโน้มทรงตัว แม้ว่าสถิติดัชนีการจำหน่ายตามฤดูกาลชี้ว่าตลาดรถยนต์เดือนมิถุนายนจะมียอดจำหน่ายสูงสุดของไตรมาส 2 | 3. เศรษฐกิจโลก | - สถาบัน Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมิถุนายนลดลงแตะ 109.7 จุด จาก 110.4 จุดในเดือนพฤษภาคม และต่ำกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ 110.2 จุด - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่า เขามีมุมมองที่ค่อนข้างเป็นบวกเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวร้อยละ 2.4 ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้และในปีหน้า - สำนักงานบริหารเงินตราต่างประเทศของจีน (SAFE) เปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคมจีนขาดดุลการค้าบริการระหว่างประเทศที่ 5.09 หมื่นล้านหยวน - คอนเฟอร์เรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวมากเกินคาดในเดือนมิถุนายน เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 85.2 จุด จาก 82.2 จุดในเดือนพฤษภาคม แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 หรือในรอบเกือบ 6 ปีครึ่ง และสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 83.5 จุด | 4. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.48 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 101.90 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.04 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 5. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 106.03 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.14 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายเดือนในช่วงก่อนหน้านี้ | 6. การเก็งกำไร | - ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 207.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 217.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.4 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 215.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 7. ข่าว | - สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และเคส ซิลเลอร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้าน 20 เมื่อในเดือนเมษายนปรับขึ้นร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากร้อยละ 12.4 ในเดือนมีนาคม - หนังสือพิมพ์ด้านธุรกิจของฝรั่งเศสรายงานว่า โครงการรักษาเสถียรภาพของพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส อาจทำให้มีจำนวนผู้ว่างงานมหาศาล และจะส่งผลลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยโครงการดังกล่าวมีแผนจะลดรายจ่าย 5 หมื่นล้านยูโร ก่อนวาระหน้าที่รัฐบาลของทางพรรคในระยะ 5 ปีจะสิ้นสุดลง[/size][/font] [/size]- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านใหม่เดือนพฤษภาคมปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 18.6 แตะ 504,000 ยูนิต นับเป็นสัญญาณถึงการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัย หลังจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศหนาวรุนแรงเมื่อช่วงต้นปีนี้ และเป็นการปรับตัวขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุด นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2535 หรือในรอบ 22 ปี[/size] | [/size]8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | [/size]- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพราะตลาดต่างประเทศค่อนข้างเงียบ นักลงทุนรอดูทิศทางที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการกล่าวว่า จากสภาพผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคายังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้ | [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขาย เพื่อรอดูการประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่แท้จริง ไตรมาส 1 ปี 2557 ของสหรัฐฯ ในวันนี้ ประกอบกับราคาน้ำมันอ่อนตัวลง และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในอิรัก อย่างไรก็ตาม อุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายาได้ในระดับหนึ่ง
[/size]ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา [/size] |
[/td][/tr][/table]