วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557
[/t]วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนแรงลงทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อยลง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง | 2. การใช้ยาง | - สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นักลงทุนและนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าปริมาณยางธรรมชาติยางสังเคราะห์และยาง Compound ณ ท่าเรือชิงเต่าของจีนปรับลดลงสู่ระดับ 327,900 ตัน ในสัปดาห์นี้ (23-27 มิถุนายน 2557) จากระดับ 362,200 ตัน เมื่อกลางเดือน พฤษภาคม และเทียบกับระดับ 341,000 ตัน ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว | 3.เศรษฐกิจโลก | - กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.4 ในเดือนพฤษภาคม จากปีก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มภาษีบริโภคในเดือน เมษายน - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า บริษัทอุตสาหกรรมรายใหญ่ของจีนมีผลกำไรในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบรายปี - สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศส เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคฝรั่งเศสในเดือน มิถุนายน เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 86.0 จาก 85.0 ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับฐานะทางการเงินในอนาคตและความสามารถในการจับจ่าย - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคเดือนพฤษภาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 - สถาบัน ISO ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนีได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีในปีนี้เป็นร้อยละ 2.0จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.9 ส่วนในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวแข็งแกร่งถึงร้อยละ 2.2 - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ คาดว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงต้นปี 2558 และคาดว่าตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับเป้าหมายระยะยาวของเฟดที่ระดับร้อยละ 2.0 ภายในปีนี้ ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาที่เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ | 4. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.49 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และเงินเยนอยู่ที่ 101.60 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.16 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 5. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน สิงหาคม ปิดตลาดที่ 105.84 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับลดลง 0.66 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าการผลิตน้ำมันในอิรักอาจจะไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ นอกจากนี้สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหรัฐฯ - กระทรวงพลังงานอิรัก เปิดเผยว่า การส่งออกน้ำมันดิบของอิรักอาจจะเพิ่มขึ้นในเดือน กรกฎาคม เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศ โดยอิรักผลิตและส่งออกน้ำมันส่วนใหญ่จากพื้นที่ทางใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวอิรักนิกายชีอะอาศัยอยู่ และยังไม่ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด | 6. การเก็งกำไร | - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือน กรกฎาคม 2557 อยู่ที่ 206.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน พฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 215.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.2 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 211.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 7. ข่าว | - รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานญี่ปุ่นในเดือน พฤษภาคม ปรับตัวลดลงสู่ระดับร้อยละ 3.5 เทียบกับร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในระยะเวลามากกว่า 16 ปี ที่อัตราว่างงานของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2557 ปรับตัวลดลง 2,000 ราย สู่ระดับ 312,000 ราย ซึ่งปรับลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 310,000 ราย | 8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ | - ราคายางปรับตัวลดลงเล็กน้อย เพราะตลาดต่างประเทศก่อนหน้าซบเซา เนื่องจากยังมีความกังวลต่อปริมาณสต๊อคยางโลกที่ยังมีอยู่ในระดับสูง จึงไม่เร่งซื้อ และจะซื้อในราคาต่ำ ทำให้ราคายางเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัดแม้ว่าผู้ประกอบการในประเทศจะพยายามผลักดันให้ราคาสูงขึ้นก็ตาม | แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงกดดันจากเงินเยนแข็งค่าและราคาน้ำมันอ่อนตัวลง ประกอบกับนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาที่เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้นักลงทุนบางส่วนยังมีความกังวลต่อปริมาณสต๊อคยาง โดยภาพรวมยังมีอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามปริมาณอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย ยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางให้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบจำกัด
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
[/td][/tr][/table]