My Community

บทวิเคราะห์ราคายาง => ข่าวสารที่มีผลกับราคายางจากต่างประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: Rakayang.Com ที่ กรกฎาคม 02, 2014, 11:34:20 AM

หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
เริ่มหัวข้อโดย: Rakayang.Com ที่ กรกฎาคม 02, 2014, 11:34:20 AM

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  2  กรกฎาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้และหย่อมความกดอากาศต่ำอ่อนกำลังลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์กระจาย โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และภูเก็ต ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง- สมาคมผู้ค้ายานยนต์ญี่ปุ่น (JADA) เปิดเผยยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ของญี่ปุ่นซึ่งไม่รวมรถยนต์ขนาดเล็กเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 265,171 คัน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.7 จากปีก่อน โดยลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากอุปสงค์ที่ซบเซาของรถยนต์นั่งขนาดใหญ่
3. เศรษฐกิจโลก- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนมิถุนายนปรับตัวขึ้นแตะ 50.7 จุด จาก 49.4 จุดในเดือนพฤษภาคม
- ผลสำรวจของ Markit/JMMA ชี้ให้เห็นว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของญี่ปุ่นเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นแตะ 51.5 จุด จาก 49.9 จุดในเดือนพฤษภาคม ส่งสัญญาณว่าภาวะทางธุรกิจในภาคการผลิตของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน และปรับตัวดีขึ้นกว่าข้อมูลเบื้องต้นที่ 51.1 จุด
- ผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) มีดังนี้
  • ภาคการผลิตของสเปนเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นแตะ 54.6 จุด จาก 52.9 จุดในเดือนพฤษภาคม ส่งสัญญาณว่าการขยายตัวของภาคการผลิตสเปนกระเตื้องขึ้นในเดือนที่แล้ว
  • ภาคการผลิตของอิตาลีเดือนมิถุนายนลดลงมาอยู่ที่ 52.6 จุด จาก 53.2 จุดในเดือนพฤษภาคม เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
  • ภาคการผลิตของฝรั่งเศสเดือนมิถุนายนลดลงมาอยู่ที่ 48.2 จุด จาก 49.6 จุดในเดือนพฤษภาคม แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับข้อมูลเบื้องต้นที่ 47.8 จุด
  • ภาคการผลิตของเยอรมันเดือนมิถุนายนลดลงมาอยู่ที่ 52.0 จุด จาก 52.3 จุดในเดือนพฤษภาคม เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน
  • ภาคการผลิตของอังกฤษเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นแตะ 57.5 จุด จาด 57.0 จุดในเดือนพฤษภาคม ส่งสัญญาณการขยายตัวต่อเนื่องตลอด 16 เดือนที่ผ่านมา
  • ภาคการผลิตของยูโรโซนเดือนมิถุนายนลดลงมาอยู่ที่ 51.8 จุด จาก 52.2 จุดในเดือนพฤษภาคม เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และต่ำกว่าการประเมินเบื้องต้นที่ 51.9 จุด
- สถาบันจัดการอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 55.3 จุด จากระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ 55.4 จุด ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 55.9 จุด
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนมิถุนายนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 57.3 จุด จาก 56.4 จุดในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 หรือในรอบกว่า 4 ปี
4. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 32.39 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 101.62 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.20 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดตลาดที่ 105.34 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.03 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขาย และจับตาดูรายงานสต๊อคน้ำมันประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนและสหรัฐฯ ที่ขยายตัวแข็งแกร่ง
6. การเก็งกำไร- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนสิงหาคม อยู่ที่ 204.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 213.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.0 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 205.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว- สำนักงานสถิติยุโรปเปิดเผยว่า เดือนพฤษภาคมอัตราว่างงานในยูโรโซนทรงตัวที่ร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน แต่ลดลงจากร้อยละ 12.0 จุด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- กระทรวงเกษตรจีนออกมาเตือนว่าผลผลิตภาคการเกษตรของจีนอาจได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่สามารถก่อให้เกิดภัยแล้งในบางพื้นที่ และเกิดน้ำท่วมในส่วนอื่น ๆ ของจีน
- สำนักงานแรงงานเยอรมันเปิดเผยจำนวนคนว่างงานเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 9,000 คน อยู่ที่ 2.916 ล้านคน สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลง 10,000 คน
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ- ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวลดลง เพราะเป็นช่วงปรับฐานการผลิตตามตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ที่เปลี่ยนเดือนส่งมอบ ราคาปรับลดลงมาก ขณะที่ผู้ประกอบการซื้อเกินราคามาอย่างต่อเนื่อง จึงต้องปรับราคาให้อยู่ในระดับที่ไม่ขาดทุนมาก
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนบางส่วนยังวิตกกังวลต่อปริมาณสต๊อคยางภายในประเทศและสต๊อคยางจีนที่ยังมีอยู่มาก ขณะที่อุปสงค์ยางในตลาดโลกลดลง ส่งผลให้สต๊อคยางอยู่ในระดับสูง ประกอบกับราคาน้ำมันอ่อนแรงลง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลภาคการผลิตของจีนและสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง เงินเยนอ่อนค่า และผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาดไม่เต็มที่ ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้นได้อีก

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]