วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557
[/t] วิเคราะห์ | 1. สภาพภูมิอากาศ | - มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล และกระบี่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง | 2. การใช้ยาง | - เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สถานการณ์สินค้าเกษตรของยางพารา ซึ่งจะมีผลผลิตออกมากในช่วงไตรมาส 4 (ตุลาคม - ธันวาคม) คาดการณ์ว่ายางพาราจะมีผลผลิต 4.58 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มี 4.38 ล้านตัน เนื่องจากเนื้อที่กรีดยางส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุให้ผลผลิตสูง ประกอบกับมีเนื้อที่ที่เปิดกรีดยางหน้าใหม่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งในไตรมาส 4 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.44 ล้านตัน หรือร้อยละ 31.51 ของผลผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ที่ 1.38 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.28 | 3. สต๊อคยาง | - สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 12 กันยายน 2557 เพิ่มขึ้น 100 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 อยู่ที่ 166,428 ตัน จากระดับ 166,328 ตัน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2557 | 4. เศรษฐกิจโลก | - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สต๊อคสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตและการค้าต่างเพิ่มสต๊อคสินค้าของตนเอง - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากเดือนกรกฎาคม แตะ 4.444 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ แสดงให้เห็นว่าการใช้จ่ายของชาวอเมริกันกระเตื้องขึ้น - กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นการเพิ่มตัวเลขผลผลิตที่สูงขึ้นจากร้อยละ 0.2 ของการประเมินก่อนหน้านี้ - สำนักข่าวรอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ช่วงต้นเดือนกันยายนเพิ่มสูงขึ้นแตะ 84.6 จุด จาก 82.5 จุดเมื่อเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าคาดการณ์ - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า - ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบปีต่อปี ลดลงจากร้อยละ 9.0 ในเดือนกรกฎาคม
- ยอดค้าปลีกเดือนสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่ 2.11 ล้านล้านหยวน
| 5. อัตราแลกเปลี่ยน | - เงินบาทอยู่ที่ 32.27 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 107.22 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.04 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ | 6. ราคาน้ำมัน | - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดตลาดที่ 92.27 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.56 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากการคาดการณ์ว่าปริมาณการใช้น้ำมันจะปรับตัวลดลงทั่วโลก เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงในจีนและยุโรป ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง - องค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันในอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.5 ล้านบาร์เรลในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของสต๊อคน้ำมันในสหรัฐฯ | 7. การเก็งกำไร | - ตลาดล่วงหน้า TOCOM ปิดทำการ เนื่องในวัน Respect for the Aged Day - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 164.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.60 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม | 8. ข่าว | - สหรัฐฯ ได้ขยายขอบเขตการใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย โดยใช้มาตรการคว่ำบาตรครั้งล่าสุดกับธนาคาร OAO Sber Bank ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของรัสเซีย และยังครอบคลุมถึงบริษัทพลังงาน เทคโนโลยี และกลาโหมของรัสเซีย - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงอย่าง ต่อเนื่องในเดือนสิงหาคม โดยรายงานชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในรอบ 8 เดือน (มกราคม - สิงหาคม) ขยายตัวร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี ลดลงร้อยละ 0.5 จากอัตราการขยายตัวในช่วง 7 เดือน (มกราคม - กรกฎาคม) พร้อมเปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือน (มกราคม - สิงหาคม) การลงทุนในทรัพย์สินถาวรขยายตัวร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยระบุว่าอัตราการขยายตัวชะลอลงร้อยละ 0.5 จากอัตราการขยายตัวระหว่างเดือนมกราคม - กรกฎาคม | 9. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ | - ราคายางปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากภาวะฝนตกชุกในหลายพื้นที่ ทำให้ผลผลิตมีน้อยมาก ประกอบกับโรงงานหลายแห่งก็เริ่มขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม ราคายังไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก เพราะยังไม่มีปัจจัยหนุนที่ชัดเจนช่วยกระตุ้นตลาด | แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในกรอบจำกัดทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้า โตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย ทำให้อุปทานยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมีความระมัดระวังในการซื้อขายก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประชุมในสัปดาห์หนี้ และยังได้รับปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของจีน โดยเฉพาะการชะลอตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา |
[/td][/tr][/table]